แกะรอยหุ้น TMB - บริษัท - TopicsExpress



          

แกะรอยหุ้น TMB - บริษัท ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) - จัดตั้งขึ้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2500 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นประธานกรรมการคนแรก และถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทหารทั้งในและนอกราชการ และได้จดทะเบียนเข้าตลท. เมื่อ 23 ธันวาคม 2556 ในหมวดธุรกิจธนาคาร มีกระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด 26.06% และ ING BANK N.V. เป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 2 ที่ 25.16% ++ แนวทางการดำเนินธุรกิจ ++ TMB ดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบแก่ลูกค้า 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดย่อม และลูกค้ารายย่อย โดยมีกลุ่ม ไอเอ็นจี สถาบันการเงินที่มีชื่อเสียงของประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ร่วมกับกระทรวงการคลัง ปัจจุบันมีสาขาอยู่ทั่วภูมิภาคในประเทศไทย และในบางภูมิภาคหลักของโลก เช่น Hong Kong, Laos, Cayman Island มีเป้าหมายสำหรับปี 2556-2560 ดังนี้ 1. สร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน - ROE เป็น 14% in 2557 vs 3.03% in 2555 - สัดส่วนรายได้จากลูกค้ารายย่อย (Retail) เป็น 40% vs 19% in 2555 - สัดส่วนรายได้จากลูกค้า SME เป็น 40% vs 33% in 2555 - สัดส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เป็น 35% vs 19% in 2555 2.ผู้นำตลาด - ส่วนแบ่งตลาดเงินฝาก > 10% โดยเฉพาะกระแสรายวันและออมทรัพย์ 40% - เพิ่มสัดส่วนในการเป็นธนาคารของลูกค้าทุกกลุ่ม 3.สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย - เพิ่มความพึงพอใจและความผูกผันของลูกค้าให้อยู่ในระดับแนวหน้า (Top Tier) - มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้รับการประเมินผลจาก Regulator ในระดับดี (Good Rating) - สร้างความผูกผันของพนักงานและเป็นองค์กรที่พนักงานเลือก (Employer of Choice) ในกลุ่มธุรกิจการเงิน ++ โครงสร้างบริษัท และบริษัทย่อย ++ TMB มีบริษัทย่อย 3 บริษัท และ 1 บริษัทร่วม ดังนี้ 1.บบส. พญาไท - ดำเนินธุรกิจ บริหารสินทรัพย์ (บริษัทย่อย) 2.บลจ. ทหารไทย - ดำเนินธุรกิจ บริหารจัดการกองทุน (บริษัทย่อย) 3.บจ. เดซิกนี ฟอร์ อีทีเอ คอนแทรคท์ - ดำเนินธุรกิจสนับสนุนกิจการของธนาคาร (บริษัทย่อย) 4.บจ. เมโทร เดซิกนี- ดำเนินธุรกิจสนับสนุนกิจการของธนาคาร (บริษัทร่วม) ++ โครงสร้างรายได้ ++ TMB มีรายได้หลักจากกลุ่มสินค้าที่มีดอกเบี้ย 71-76% ที่เหลือเป็นแบบไม่มีดอกเบี้ย 1.รายได้จากสินค้าแบบมีดอกเบี้ยนั้น สินค้าประเภทสินเชื่อโดดเด่นที่สุดโดยกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 2.รายได้จากสินค้าแบบไม่มีดอกเบี้ยนั้น ได้แก่รายการอื่นๆ ที่ไม่ใช่การรับรอง รับอาวัล และการค้ำประกัน TMB มีรายได้ตามประเภทกลุ่มลูกค้า 1.กลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 48%-52% 2.กลุ่มลูกค้าธุรกิจ SME 28%-33% 3.กลุ่มลูกค้าส่วนบุคคล 18%-19% สินเชื่อตามประเภทธุรกิจ 3 อันดับแรก รวมกัน 70% ได้แก่ 1.ค้าส่งและค้าปลีก 27.8% 2.อุตสาหกรรมการผลิต 22% 3.ธุรกิจตัวแทนทางการเงิน 20.2% แผนพัฒนาธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ในช่วงปี 2556-2560 Deposit-Led Strategy ใช้เงินฝากเป็นตัวนำ เช่น TMB ME และมุ่งเน้นความเข้าใจลูกค้า โดยพัฒนาคุณของสินค้าและเน้นความเป็นเลิศ โดยมี LEAN Organization and Lean Six Sigma ในการปรับปรุงประสิทธิภาพ งบแสดงฐานะการเงินจากปี 55 (งบ 56-1) เงินให้สินเชื่อสินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างชำระสุทธิ เติบโตต่อเนื่อง จากปี 53-55 เฉลี่ยที่ 7.7%/ปี ในขณะที่สินทรัพย์รวมเติบโตที่อัตรา 6.5%/ปี ในช่วงเวลาเดียวกัน หนี้สินรวมมีอัตราการเติบโตที่ 6.87%/ปี โดยมีส่วนเงินรับฝาก, รายการระหว่างธนาคารกับตลาดเงิน, และภาระในการส่งคืนหลักทรัพย์เป็นส่วนหลัก งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ อัตราส่วนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นจากปี 54 จาก 81.17% เป็น 86.26% อัตราส่วนหนี้สินที่ก่อให้เกิดดอกเบี้ยต่อหนี้สินรวม เพิ่มขึ้นจากปี 54 จาก 82.93% เป็น 89.20% ส่งผลให้ NIM (Net Internet Margin) ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 2.7% จาก 2.4% ในปี 54 (เสมือน Gross Margin ของธุรกิจอื่นๆ) ล่าสุดงบไตรมาส 3/56 NIM อยู่ที่ 3.1% งบกระแสเงินสด กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานเป็นลบ และกระแสเงินสดจากการลงทุนและจัดหาเงินเป็นบวก ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกค้า ในขณะที่จำเป็นต้องลงทุนเพื่อให้เกิดส่วนต่างจากดอกเบี้ย ความเสี่ยง ความเสี่ยงด้านสินเชื่อ, ความเสี่ยงจากภาวะตลาด เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเศรษฐกิจ เป็นต้น Equity Valuation : Price 2.86 P/E 90.46 P/BV 2.15 DIV 1.15% as of Oct 25, 2013 Sector : Financial Banking +++ ความคิดเห็นส่วนตัว +++ TMB มุ่งมั่นพัฒนาเชิงกลยุทธ์ต่อเนื่อง จากงบไตรมาส 3/56 นั้นถึงแม้กำไรน้อยกว่าที่คาด แต่สังเกตุว่าค่าใช้จ่ายของรายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่รายได้ดอกเบี้ย มีอัตราการเติบโตที่ลดลง ในขณะที่รายได้ดอกเบี้ยเติบโตต่อเนื่อง และรายได้ไม่ใช่ดอกเบี้ยชะลอตัวน้อยกว่าการลดลงของค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านดำเนินงานอื่นๆ มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะที่กระทบต่อกำไรที่น้อยกว่าคาดการณ์ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกและค้าส่ง คาดว่าน่าจะเป็นส่วนการสนับสนุนความมั่นคงทางรายได้ดอกเบี้ยในภาวะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวได้ จากการประเมินโดยใช้ P/B Multiple นั้น P/B ในช่วงปี 2011 ถึงปัจจุบันมีค่า 1.33 - 1.95 ที่ 1 S.D. มองว่าปัจจุบัน P/B สูงกว่าค่าสถิติพอสมควร SAA Consensus ประเมิน EPS ไว้ที่ 0.13 บาท/หุ้น จึงมองว่าราคาเป้าหมายน่าจะอยู่ที่ 1.77 - 2.60 บาท (+- 1 S.D.ตามสถิติ) และ SAA Consensus ให้มุมมองที่ Fair Price ที่ 2.30 - 3.0 บาท การลงทุนมีความเสี่ยงนักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง ข้อมูลจาก งบ2Q56, งบ 56-1 ปี 55, SET, SET Trade, SET Smart และ SAA Consensus (ข้อมูลงบไตรมาส 3/56) กาก้า
Posted on: Sun, 27 Oct 2013 13:10:21 +0000

Recently Viewed Topics




© 2015