1ต.ค. “รสนา” - TopicsExpress



          

1ต.ค. “รสนา” แฉเล่ห์เขมือบพลังงานไทย กำลังโรดแมปเข้าสู่โหมดถ่ายโอนเป็นของเอกชน 100% “รสนา” ส่งสัญญาณอันตราย โรดแมปผูกขาดทรัพยากรปิโตรเลียมกำลังเบ็ดเสร็จ ชี้ทุกอย่างเชื่อมโยง ปตท. แยกท่อก๊าซตั้งบริษัทใหม่ให้เป็นของเอกชน 100% และกำลังเร่งเร้าให้เปิดสัมปทานรอบใหม่ ขณะที่บิ๊ก ก.พลัง เล็งสมนาคุณแก้กฎหมายต่ออายุบ่อน้ำมัน 2 แหล่งใหญ่ให้กอบโกยต่อ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล หัวข้อ “โรดแมปการปฏิรูปพลังงานของกลุ่มทุนคือการถ่ายโอนโครงข่ายท่อส่งก๊าซและทรัพยากรปิโตรเลียมให้เป็นของเอกชน 100%” ตามข้อความดังนี้.. “การมีน้ำมันในประเทศมากหรือน้อยไม่เกี่ยวกับ “ระบบ” ที่รัฐจะนำมาใช้ในการให้สิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมแก่เอกชน ว่าควรเป็น “ระบบสัมปทาน” หรือ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” แต่เวลานี้การพูดว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมมาก เกือบจะกลายเป็น “อาชญากรรม” ร้ายแรง ชนิดที่เอามาดิสเครดิตว่าใครพูดคือพวกไสยศาสตร์ จนไม่สมควรรับฟังประเด็นอื่นๆ ทั้งหมด สิ่งที่ภาครัฐให้ข่าวว่าประเทศไทยมีปิโตรเลียมน้อยมาก จุดมุ่งหมายของคนพูดคือ เพื่อสื่อสารไปสู่ประเด็นว่า “ระบบสัมปทาน” เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุดเท่านั้นเอง หรือกล่าวอ้างไปในทำนองว่า การที่เรามีน้อย จึงไม่ควรใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” และทำให้สาธารณชนเข้าใจว่าการใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” รัฐต้องลงทุน ทำให้มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นการจงใจให้ข้อมูลเท็จโดยสิ้นเชิง ขอให้ดูเอกสารที่กระทรวงพลังงานใช้ประกอบการประชุมครั้งที่ 4 เรื่อง เปิดสัมปทานรอบ 21 ใน 3 ช่องที่วงไว้ 2 ข้อแรกคือ 1) ความเสี่ยงในการสำรวจ 2) การลงทุน กระทรวงพลังงานระบุว่าเป็นภาระของบริษัทน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลผลิต ส่วนข้อ 3) ระบุไว้ชัดเจนว่ากรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ในระบบสัมปทานเป็นของผู้รับสัมปทาน ส่วนในระบบแบ่งปันผลผลิต ปิโตรเลียมเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ นี่เป็นข้อมูลของกระทรวงพลังงานเอง แต่เวลาพูดด้วยวาจาจะพูดอีกอย่าง การรีบร้อนจะเปิดสัมปทานรอบ 21 โดยไม่รอสภาปฏิรูปนั้น ทราบมาว่าจะผนวกเอาสัมปทานเก่าคือแหล่งบงกช กับแหล่งอาทิตย์ ที่จะหมดสัมปทานในปี 2565-2566 เอาไว้ในการเปิดสัมปทานรอบ 21 ด้วย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว สัมปทาน 2 แหล่งนั้นเมื่อหมดอายุลง ตามกฎหมายจะต่อสัมปทานอีกไม่ได้ ต้องตกเป็นของรัฐ แม้แต่นักวิชาการในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็ยังเสนอว่า รัฐควรใช้ระบบจ้างผลิต เพราะประโยชน์จะตกเป็นของรัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากเป็นแหล่งที่ไม่มีความเสี่ยงแล้ว แต่ในระดับผู้บริหารของ ก.พลังงาน กลับคิดจะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สัมปทาน 2 แหล่งนี้แก่เอกชนเจ้าเดิมต่อไปอีก ซึ่งเป็นการไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเลย (อ่านต่อ..manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000112653)
Posted on: Wed, 01 Oct 2014 03:21:15 +0000

Trending Topics




© 2015