4 Bloody Events, 4 state crimes in - TopicsExpress



          

4 Bloody Events, 4 state crimes in Thailand: เหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญ ที่เกิดขึ้นกลางกรุงเทพมหานคร มี 4 ครั้งด้วยกัน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เรียกได้ว่าเป็น “อาชญากรรมรัฐ” (state crime) ที่ผู้กุมอำนาจรัฐ ได้กระทำต่อประชาชนของตน เป็น “ความรุนแรง” (violence) ถึงขั้นใช้อาวุธสงคราม ดังนี้ คือ (1) วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516 (Student Uprising 14 October 1973) (2) วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519 (Black October 1976) (3) วันพฤษภาเลือด 2535 (Bloody May 1992 ในที่นี้ขอไม่ใช้คำว่า "พฤษภาทมิฬ" เพราะชาวทมิฬ Tamil ชนชาติเก่าแก่ที่อยู่อินเดียใต้ ผู้เป็นต้นกำเนิดของตัวอักษร และการสร้างปราสาทอิฐหิน ไม่เกี่ยวไม่ข้องกับการนองเลือดในเมืองไทย แต่อย่างใด) (4) วันพฤษภาอำมหิต 2553 (Cruel May 2010) (1) วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516 (Student Uprising 14 October 1973) --นักเรียน/นักศึกษา/ประชาชน ลุกฮือขึ้นประท้วงระบอบ "คณาธิปไตยถนอม-ประภาส" --ผู้คนจำนวนเป็นแสน เข้าร่วมประท้วงกลางถนนราชดำเนิน เรียกร้อง "ประชาธิปไตย" และ "รัฐธรรมนูญ" --คณาธิปไตยทหารกระทำ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) ปราบปราบหนักด้วยอาวุธสงคราม --ประชาชนขัดขืน สถาบันฯ เข้าระงับความรุนแรง คณาธิปไตยล้มครืน --มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 800 --(ผู้มีส่วนร่วม คือ เยาวชนคนหนุ่มสาว ชนชั้นกลางในเมือง กทม. และต่าง จว. กับสื่อมวลชน) (2) วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519 (Black October 1976) --3 ปีต่อมา จอมพลถนอม กิตติขจร บวชเณรจากสิงคโปร์ กลับเข้ามาประจำวัดบวรนิเวศ บางลำพู กทม ซึ่งมีสมเด็จพระญาณสังวร เป็นเจ้าอาวาส --นักศึกษาและประชาชน ชุมนุมประท้วงที่ธรรมศาสตร์ (เรียกร้องให้รัฐบาล นรม. เสนีย์ ปราโมช ขับไล่ถนอมออกจากประเทศ) --กลุ่มการเมืองจัดตั้งฝ่ายขวา นวพล กระทิงแดง และวิทยุเครือข่ายทหาร (อ้างและอิงชาติ-ศาสน์-กษัตริย์) โจมตีและกล่าวหาว่านักศึกษา "หมิ่นพระบรมเดชาฯ" และเป็น "คอมมิวนิสต์" --ผู้กุมอำนาจรัฐ-กลุ่มการเมืองจัดตั้ง-ตำรวจตระเวนชายแดน กระทำ "อาชญากรรมรัฐ" ปราบปราบหนักด้วยอาวุธสงคราม --ทหารกระทำ "รัฐประหาร" แล้วเสนอตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็น นรม. --มีผู้เสียชีวิต 40 (?) ราย, บาดเจ็บ 3,000 (?) คนหนุ่มสาวหนีเข้าป่าไปร่วมกับ พคท. --ตัวแสดง-ผู้มีส่วนร่วม คือ เยาวชนคนหนุ่มสาว ชนชั้นกลางในเมืองที่กลายเป็นปฏิปักษ์ รวมทั้งสื่อมวลชน "กระแสหลัก" ของทั้งรัฐและเอกชน วิทยุ/ทีวี (3) วันพฤษภาเลือด 2535 (Bloody May 1992 ในที่นี้ขอไม่ใช้คำว่า "พฤษภาทมิฬ" เพราะชาวทมิฬ ชนชาติเก่าแก่ที่อยู่อินเดียใต้ ไม่เกี่ยวไม่ข้องกับการนองเลือดในเมืองไทย) --16 ปีต่อมา ประชาชน คนชั้นกลาง ชาวกรุง จำนวนหลายหมื่น ชุมนุมประท้วงเป็นระยะๆ ณ บริเวณถนนราชดำเนิน เรียกร้องให้รัฐบาลของ นรม. พลเอกสุจินดา คราประยูร ลาออก --รัฐบาลประกอบ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) ปราบปราบหนักด้วยอาวุธสงคราม --ประชาชนขัดขืน สถาบันฯ เข้าระงับความรุนแรง คณาธิปไตย/รัฐบาลล้มครืน --มีผู้เสียชีวิต 44 (?) ราย, บาดเจ็บ 600 (?) --ตัวแสดง-ผู้มีส่วนร่วม คือ ชนชั้นกลางในเมือง กับชาวกรุง รวมทั้งสื่อมวลชนเอกชน นสพ. แต่ไม่ค่อยมีเยาวชนคนหนุ่มสาวเข้าร่วมมากนัก หากจะเทียบกับเหตุการณ์ “ตุลา ตุลา” (4) วันพฤษภาอำมหิต 2553 (Cruel May 2010) --18 ปีต่อมา ประชาชนระดับล่าง คนเสื้อแดง ชาวบ้านจากภาคอีสาน/ภาคเหนือ กับคนชั้นกลาง ชาวกรุง จำนวนหลายหมื่น ชุมนุมประท้วงต่อเนื่องบนถนนราชดำเนิน และสี่แยกราชประสงค์ เรียกร้องให้ นรม. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ยุบสภา มีการเลือกตั้งใหม่ --รัฐบาลใช้กำลังทหารประกอบ "อาชญากรรมรัฐ" (state crime) ปราบปราบหนักด้วยอาวุธสงคราม พร้อมข้อกล่าวหา "ก่อการร้าย" และการอ้างและอิงสถาบันฯ --มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 (?) ราย, บาดเจ็บกว่า 2,000 (?) --ตัวแสดง-ผู้มีส่วนร่วม มีทั้งชาวบ้าน จากชนบทอีสาน/เหนือ ร่วมกับชาวกรุง คนชั้นกลาง พร้อมด้วยสื่อมวลชนภาครัฐ และภาคเอกชน ที่บางส่วนแตกแยก ขัดแย้ง ผู้หญิงวัยกลางคน เข้าร่วมจำนวนมาก แต่ก็ไม่ค่อยมีเยาวชนคนหนุ่มสาวมากนัก น่าสังเกตว่า เหตุการณ์ทั้ง 4 นี้ ถ้าเราจะจับคู่เปรียบเทียบ ก็คงมีทั้งความเหมือน และความต่าง คู่แรก คือ “วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516” กับ “วันพฤษภาเลือด 2535 (Bloody May 1992)” และคู่หลัง คือ “วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519” กับ “วันพฤษภาอำมหิต 2553” คู่ทาง ปวศ ทั้งสองนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “การต่อสู้บนเส้นทาง จากระบอบเก่า “คณาธิปไตย” ไปสู่ระบอบใหม่ “ประชาธิปไตย” (Ancient regime versus new regime) ซึ่งยาวนาน และสลับซับซ้อนยิ่ง ถือได้ว่าเป็น “บทเรียน” สำคัญของสังคมไทยของเรา ที่ในปัจจุบัน มีความแตกแยก และขัดแย้งสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ทศวรรษแล้ว cK@HistoryOutsideTextbooks
Posted on: Sat, 28 Sep 2013 08:08:20 +0000

© 2015