Tomorrow บูชาข้าวพระBE HAPPINESS AND - TopicsExpress



          

Tomorrow บูชาข้าวพระBE HAPPINESS AND HEALTHY. : องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็ด เนื้อหา [ซ่อน] 1 ประวัติการปลูก 2 สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร 3 การปลูกองุ่นในประเทศไทย 4 พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก 5 อ้างอิง ประวัติการปลูก[แก้] จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีการบ่งบอกว่ามีการปลูกองุ่นกันมามากกว่า 5,000 ปี องุ่นสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตหนาว เขตกึ่งร้อนกึ่งหนาว และเขตร้อน สำหรับประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่านำเข้ามาในสมัยใด แต่คาดว่าน่าจะนำเข้ามาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ท่านได้นำพันธุ์ไม้แปลกๆ จากต่างประเทศที่ได้เสด็จประพาสมาปลูกในประเทศไทย และเชื่อว่าในจำนวนพันธุ์ไม้แปลกๆ เหล่านั้นน่าจะมีพันธุ์องุ่นรวมอยู่ด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 7 มีหลักฐานยืนยันว่าเริ่มมีการปลูกองุ่นกันบ้างแต่ผลองุ่นที่ได้มีรสเปรี้ยว การปลูกองุ่นจึงซบเซาไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้เริ่มมีการปลูกองุ่นอย่างจริงจัง โดย หลวงสมานวนกิจ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และปี พ.ศ. 2497 ดร.พิศ ปัญญาลักษณ์ ได้นำพันธุ์องุ่นมาจากทวีปยุโรปซึ่งสามารถปลูกได้ผลเป็นที่น่าพอใจ นับแต่นั้นมาการปลูกองุ่นในประเทศไทยจึงแพร่หลายมากขึ้น อนึ่ง ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา มีข้อความกล่าวถึง "ป้อมสวนองุ่น"[3] จึงเป็นไปได้ว่าน่าจะมีการนำพันธุ์องุ่นมาปลูกแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา สรรพคุณทางยาและคุณค่าทางอาหาร[แก้] องุ่นม่วงหรือเขียว คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 ก. (3.5 ออนซ์) พลังงาน 70 kcal 290 kJ คาร์โบไฮเดรต 18.1 g - น้ำตาล 15.48 g - เส้นใย 0.9 g ไขมัน 0.16 g โปรตีน 0.72 g วิตามินบี1 0.069 mg 5% วิตามินบี2 0.07 mg 5% ไนอะซิน 0.188 mg 1% วิตามินบี5 0.05 mg 1% วิตามินบี6 0.086 mg 7% กรดโฟลิก (B9) 2 μg 1% วิตามินบี12 0 μg 0% วิตามินซี 10.8 mg 18% วิตามินเค 22 μg 21% แคลเซียม 10 mg 1% เหล็ก 0.36 mg 3% แมกนีเซียม 7 mg 2% แมงกานีส 0.071 mg 4% ฟอสฟอรัส 20 mg 3% โพแทสเซียม 191 mg 4% โซเดียม 3.02 mg 0% สังกะสี 0.07 mg 1% ร้อยละของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน สำหรับผู้ใหญ่ที่แนะนำในสหรัฐอเมริกา แหล่งที่มา: USDA Nutrient database องุ่นมีสารอาหารที่สำคัญคือน้ำตาลและสารอาหารจำพวกกรดอินทรีย์ เช่น น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลซูโคส, วิตามินซี, เหล็กและแคลเซียม องุ่นยังสามารถนำไปทำเป็นเหล้าองุ่นซึ่งเป็นเหล้าบำรุงใช้เป็นยา การรับประทานองุ่นเป็นประจำมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง, บำรุงหัวใจ, แก้กระหาย, ขับปัสสาวะและบำรุงกำลัง คนที่ร่างกายผอมแห้ง แก่ก่อนวัยและไม่มีเรี่ยวแรง หากรับประทานองุ่นเป็นประจำจะสามารถช่วยเสริมทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ ส่วนเครือและรากมีฤทธิ์ในการขับลม, ขับปัสสาวะ, รักษาโรคไขข้ออักเสบ, ปวดเอ็นและปวดกระดูก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ระงับประสาท, แก้ปวดและแก้อาเจียนอีกด้วย การปลูกองุ่นในประเทศไทย[แก้] ประเทศไทยนิยมปลูกองุ่นในแถบภาคตะวันตก เช่น อำเภอดำเนินสะดวก, จังหวัดราชบุรี อำเภอสามพรานและอำเภอนครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม อำเภอบ้านแพ้ว, จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งสามารถให้ผลผลิตได้ดี แต่เกษตรกรบางรายได้เปลี่ยนจากองุ่นเป็นพืชอื่น เนื่องจากมีปัญหาโรคแมลงระบาดมาก และแมลงดื้อยาไม่สามารถกำจัดได้ ทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นในแถบนี้ลดลง พื้นที่ปลูกองุ่นได้ขยายไปในแถบภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้างเล็กน้อย แต่มีปัญหาเรื่องโรคแมลงระบาดมากทำให้พื้นที่ปลูกองุ่นไม่ค่อยขยายเท่าที่ควร พันธุ์องุ่นที่นิยมปลูก[แก้] พันธุ์ไวท์มะละกา มี 2 สายพันธุ์ คือ ชนิดผลกลมและผลยาว ลักษณะช่อใหญ่ยาว การติดผลดีผลมีสีเหลืองอมเขียว รสหวานแหลม เปลือกหนาและเหนียว ในผลหนึ่งๆ มี 1-2 เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ปีหนึ่งให้ผลผลิต 2 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง พันธุ์คาร์ดินัล มีลักษณะช่อใหญ่ ผลดก ผลกลมค่อนข้างใหญ่ มีสีแดงหรือม่วงชมภู รสหวาน กรอบ เปลือกบาง จึงทำให้ผลแตกง่ายเมื่อผลแก่ในช่วงฝนตกชุก ในผลหนึ่งๆ มีเมล็ด 1-2เมล็ด ช่วงเวลาหลังจากตัดแต่งกิ่งจนเก็บผลได้ใช้เวลา 3-3 เดือนครึ่ง ในเวลา 2 ปี สามารถให้ผลผลิตได้ถึง 5 ครั้ง ผลผลิตประมาณ 10-15 ตัน/ต้น : Grapes are perennial. It is a creeping shrub. Looks solid and the trunk.
Posted on: Sat, 06 Jul 2013 08:29:02 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015