ความรู้ทางการเงิน - TopicsExpress



          

ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (28/11/56) การตีความผลการวิเคราะห์ (2) จากครังก่อนเมื่อเราใช้สมการบัญชี ผสมผสานกับการวิเคราะห์ GM แล้ว คราวนี้ลองมาดูเรื่องอัตรส่วนในกลุ่ม Make Profit อีกตัวหนึ่งคือ ROA ซึ่งมีใช้กันอยู่สองสูตรคือ ROA = NI/TA or EBIT/TA 1. NI/TA เป็นสูตรเดิม สูตรนี้เหมาะที่จะใช้เมื่อไม่คำนึงถึงโครงสร้างหนี้ต่อทุน 2. EBIT/TA สูตรนี้คำนึงถึงผลกระทบจากการมีโครงสร้างหนี้ต่อทุนที่ต่างกัน 3. ในการวิเคราะห์ หากเราเทียบกับตัวเดิม ปีนี้กับปีก่อน อาจใช้กำไรสุทธิได้ (NI/TA) เนื่องจากระดับโครงสร้างทุน (D/E) จะไม่กระทบมากเพราะแต่ละบริษัทในระยะสั้นจะมีโครงสร้างทุนเปลี่ยนไม่มากในระยะสั้นๆ การดูปีต่อปี เทียบความก้าวหน้าตนเองก็ไม่มีผลต่อการตีความหมายนัก แต่ในโลกการลงทุน เราไม่ได้วิเคราะห์หุ้นตัวเดียว เราต้องเลือกลงทุน และเราไม่ได้พิจารณาเพียงช่วงสั้นๆ แต่เราดูแนวโน้มต่างๆในระดับ 4-5 ปีขึ้นไป ดังนั้นผมจึงแนะนำให้ใช้ ROA = EBITA/TA จะดีที่สุด เพราะเทียบกับหุ้นที่ใช้โครงสร้างทุนที่แตกต่างกันได้ และใช้เทียบในระยะเวลายาวๆได้ 4. บริษัทใดที่มี ROA สูงกว่าย่อมแสดงถึงความสามารถในการทำกำไร (Profitability or Make Profit) ที่ดีกว่า ผู้บริหารมีความสามารถที่ดีกว่า และควรดูแนวโน้มของ ROA ด้วย บางกิจการ กำไรประกาศออกมาดูมาก ดูเติบโต แต่ แนวโน้ม ROA ลดลง หมายความว่าอาจมีการลงทุนสูงเกินตัว การลงทุนอาจทำได้สองทางคือ ลงทุนเองโดยตรง (ใน PPE เอง) หรืออาจลงทุนในบริษัทร่วม (งบการเงินรวม การลงทุน PPE ของบริษัทย่อยจะเหมือนแม่ลงทุนเอง) ถ้าลงทุนเองโดยตรงมากๆ ในระยะยาวบริษัทจะมีภาระต้นทุนคงที่จากค่าเสื่อมราคาสูง หากแนวโน้มอุตสาหกรรมชะลอตัว ราคาสินค้า (ตลาดโลก ลดลง) จะมีผลต่อ GM มาก เพราะการลงการผลิตลงเพียงเล็กน้อย การที่มีต้นทุนคงที่สูง จะทำให้ต้นทุนผลิตสูง ยากต่อการทำกำไรในภาวะเช่นนั้น ผลิตมากก็ทำให้สต๊อกสินค้ามาก ลดการผลิตเพื่อให้มี สต๊อกน้อยต้นทุนก็สูง เสี่ยงต่อการเกิดขาดทุนในการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ภาวะเช่นนี้มักเห็นในอุตสาหกรรมที่ผลิต Mass Production เช่น ปิโตเคมี เหล็ก อลูมิเนียม เป็นต้น อุตสาหกรรมเหล่านี้ มักลงทุนใน PPE สูง จะเห็นได้ว่าในภาวะอุตสาหกรรมชะลอตัว ดีมานด์ลด ราตาตลาดลง กิจการเหล่านี้จะขาดทุนสุง เพราะลดผลิตก็ต้องรับภาระ fixed cost ผลิตต้องพยายามให้มากเพื่อลดต้านทุนคงที่ต่อหน่วย (variable cost ไม่มีปัญหา) ในข่วงชะลอตัวจึงขาดทุนมากและเร็ว ในทำนองกลับกัน ยามอุตสาหกรรมฟื้นก็มีกำไรฟื้นเร็วเช่นกัน ถ้าเข้าใจเช่นนี้การลงทุนจึงควรจับจังหวะวงจรอุตสาหกรรมให้ดี 5. ส่วนแบบที่สองคือการลงทุนทางอ้อมโดยผ่านบริษัทร่วม (ไม่ใช่ย่อย) ในงบการเงินจึงไม่ใช่ใน PPE โดยตรงดังนั้นจึงไม่ได้มีผลใน GM แต่ละเกิดในส่วนแบ่งกำไรมากกว่า ซึ่งจะจัดเป็นรายได้ที่ไม่มาจากการดำเนินงาน (Non-operatin Income) ผลกระทบจะไม่เกิดใน GM แต่กระทบใน NM (Net Margin) 6. บางคนอาจสับสนกับสูตรการวิเคราะห์อัตราส่วนการเงินว่าเมื่อไรใช้ถัวเฉลี่ย เมื่อไรไม่ต้องใช้ถัวเฉลี่ย หลักง่ายๆคือ เมื่อไรที่สูตรใช้ตัวเลขจากกงบเดียวกัน ก็ไม่ต้องถัวเฉลี่ย เช่น Current ratio, D/E Ratio, Gross Margin หรือ Net Margin เป็นต้น แต่ ROA, ROE, Asset Turnover เป็นต้น ค่าใดมาจากงบดุล (งบแสดงฐานะการเงิน๗ ต้องใช้ค่าถัวเฉลี่ย 7. สามารถแตกสูตรโดยใช้หลักการของ Du Pont คือ ROA = NI or EBIT/TA = (NI / Sales) * (Sales) / TA---- > Sales หมายถึงรายได้ทั้งหมด = NM * Asset Turnover หรือ OM* Asset Turnover---- > OM = Operating Margin OM = Operating Margin = EBIT / Sales การนำไปใช้ ถ้า มีหุ้นที่มี ROA งวดงบการเงิน______52_____53____54_____55___Q3/56* WORK ROA(%) 9.9____21.8___34.5___33.4___20.8 RS ROA(%) 6.1___24.5____18.6___18.5___20.3 *ปรับให้เป็นปี วิเคราะห์องค์ประกอบ ROA = OM * AT ใน 3Q56 WORK ROA = 18.9% * 1.1 RS ROA = 16.2 * 1.25 ความหมายที่อ่านวิเคราะห์ WORK มีอัตราการทำกำไรจากการดำเนินงานสูงกว่า RS แต่ RS เองมีประสิทธิภาพการหารายได้จากสินทรัพย์มากกว่า WORK ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องประเมินคือ ในระยะยาวรายได้ของบริษัทใดจะเติบดต หรือ มีประสิทธิภาพ (AT) ที่สูงขึ้น ในความจริงเราต้องดูแนวโน้มหลายๆปี จะประเมินได้ชัดเจนขึ้น (ผู้เขียนคงทิ้งให้ผู้ด่านไปทำการบ้านเพิ่มเอง) แต่ถ้าดูจากลักษณะปัจจุบันจะเห็นว่า RS มีรายได้หลากหลายกว่า เช่นรายได้จากอุตสาหกรรมเพลงด้วย ดังนั้น AT จึงสูงกว่า WORK ที่เน้นทางอุตสาหกรรมทางด้านทีวีที่มีรายได้จากการโฆษณาเป็นหลัก ดังน้นในแง่ของแหล่งรายได้ RS จึงน่าจะมีมากกว่า ดังเห็นได้จาก AT ของ WORK ที่ต่ำกว่า RS แต่การผลิตเพลงก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ดังนั้นโดยเฉลี่ย OM ของ RS จึงต่ำกว่า ในอนาคตหากอุตสาหกรรมเพลง การจัด concert เติบโตได้ดี RS ย่อมมีกำไรที่ดีกว่า แต่ในทางกลับกันหากเพลงของศิลปินไม่ติดตลาด ก็จะถดถอยได้เร็วกว่าเช่นกัน รายได้จากการโฆษณาแม้จะผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ แต่มูลค่ารวมก็มากและเติบโตได้ทุกปี ในภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น WORK จึงดูเติบโตเร็วกว่า เนื่องจากลักษณะแหล่งรายได้ของ RS เองทำให้ ถ้ามองในช่วงสั้นๆ เวลาขึ้นจะขึ้นแรงกว่า เพราะข่าวสารระยะสั้น แต่ถ้าดูจากแนวโน้ม ROA ของ WORK มีแนวโน้มอ่อนตัวลงโดยตลอด สินทรัพย์เพิ่มราวปีละ 2-300 ลบ ในช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ใกล้เคียงกับ RS 8. นอกจากมิติด้าน ROA แล้วหากพิจารณาด้าน ROE และ DE กับอื่นๆ เราจะมองธุรกิจได้ช้ดเจนขึ้น หวังว่าการวิเคราะห์เปรียบเทียบนี้จะให้หลายคนได้มุมมองในการอ่านและวิเคราะห์มากขึ้นนะครับ
Posted on: Thu, 28 Nov 2013 10:49:00 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015