ช็อท (shot) หมายถึง - TopicsExpress



          

ช็อท (shot) หมายถึง ลักษณะภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพตั่งแต่เริ่มถ่ายไปจนถึงการหยุดการเดินกล้อง เรียกว่า 1 ช้อท หรือ 1 เทค (take)ซึ่งอาจมีการถ่ายภาพซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้งในช็อทเดียวกัน และ ถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เราสามารถถ่ายใหม่ ได้ซึ่งเราเรียกว่า ถ่ายซ้ำ (retake) ซีน (scene) หมายถึง สถานที่ (place) หรือ ฉาก (set) ที่จัดขึ้น หรือ ดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการแสดง เพื่อการถ่ายทำ หรือ การนำเอาช็อทหลายๆช็อทมารวมกันซึ่งเป็นช็อทที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่ เดียวกัน เวลาเดียวกัน หรือมีความต่อเนื่องทางเนื้อหา ซึ่งในแต่ละซีน อาจมีหลายช็อท หรือช็อทเดียว ได้ (long take) ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ชม ซีเควนซ์ (sequence) หมายถึง ตอน หรือช่วงเหตุการณ์หนึ่ง เป็นการรวบรวมเอาฉากหลายๆฉากที่มีความสัมพันธ์ กันมาต่อเนื่องกันเข้า และเมื่อรวมต่อเข้ากันแล้วจะเกิดผลสมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่ในตัวเอง สามารถจบ เหตุการณ์ในช่วงนั้นๆลงโดยที่ผู้ชมเข้าใจได้ ซึ่งในซีเควนซ์หนึ่งงๆ อาจประกอบด้วยซีนเดียว หรือหลาย ซีนได้ อีกทั้งเวลาถ่ายทำควรมีการจัดหมวดหมู่ซีเควนซ์ ทุกครั้ง ความยาวของแต่ละช็อท อาจจะเป็นแค่ 2 วินาทีไปจนถึง 30 วินาที ไม่มีกฏตายตัวแน่นอน เกี่ยวกับความยาวในแต่ละช็อททั้งนี้ขึ้นอยู๋กับการแสดง(action) และคำบรรยาย ช้อทที่มีรายละเอียด และมีกิจกรรมมากอาจต้องใช้เวลานานกว่าช็อทที่อยู่นิ่งๆ ดังนั้นจึงควรกำหนดเวลาในแต่ละช็อท ให้ยาวนานพอที่จะเสนอแนวความคิดและข้อมูล แต่ไม่ควรยาวนานเกินไปจนดูยืดยาด และน่าเบื่อ มุมกล้อง (camera angle shots) ภาพระดับสายตา (eye level shot) เป็นการตั้งกล้องระดับปกติทั่วไป โดยตั้งกล้องสูงแนวระดับตาผู้แสดง มักจะไม่ระบุไว้ในบทโทรทัศน์ เพราะถือว่าเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว ภาพระดับมุมสูง (high level shot) เป็นการตั้งกล้องมุมสูง เพื่อต้องการให้เห็นความลึกหรือระยะทางไกล ในกรณีนี้ต้องระบุไว้ใน บทโทรทัศน์ว่า กล้องมุมสูง แต่ถ้าต้องการถ่ายมุมที่สูงมากลงมา จะเรียกกันว่า มุม bird’s eyes view ซึ่งในการใช้มุมกล้องลักษณะนี้เพื่อหวังผลทางจิตวิทยา หมายถึง สิ่งที่ถูกถ่ายทำจะถูกลดความสำคัญ เน้นความรู้สึกอ่อนแอ ไม่มีพลัง ถูกครอบงำด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆตัว ภาพระดับมุมต่ำ (low level shot) เป็นการตั้งกล้องมุมต่ำ มักจะใช้เป็นภาพแทนสายตาผู้แสดง หรือ ต้องการให้เห็นภาพในมุม แปลก ในกรณีนี้ต้องระบุในบทโทรทัศน์ว่า กล้องมุมต่ำ ซึ่งในการใช้มุมกล้องลักษณะนี้เพื่อหวังผล ทางจิตวิทยา หมายถึง สิ่งที่ถ่ายทำจะมีพลัง เข้มแข็ง มีอิทธิพลสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ซ็อทพื้นฐาน (basic shots) เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของภาพ ขนาดของภาพที่จะถ่าย 1. ภาพระยะไกลมาก Extreme Long shot (ELS) หมายถึง การถ่ายภาพภาพในระยะที่อยู่ไกลมาก เพื่อให้เห็นถึงบรรยากาศโดยรอบของสถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมไม่มีการเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2. ภาพระยะไกล Long shot (LS) หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล เพื่อแสดงที่ตั้งหรือส่วนประกอบในฉาก หรือแสดงสัดส่วน ของขนาดวัตถุเปรียบเทียบกับส่วนประกอบอื่นๆในฉาก เช่น ภาพเต็มตัว 3. ภาพระยะไกลปานกลาง Medium Long shot (MLS) หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล ที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของวัตถุ 4. ภาพระยะปานกลางMedium shot (MS) หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะปานกลางเพื่อ ตัดฉากหลังและรายละเอียดอื่นๆที่ไม่จำเป็นออกไป อีกทั้งยังเป็นการถ่ายภาพวัตถุให้เห็นภาพที่ใหญ่กว่าเดิม เน้นส่วนละเอียดมากขึ้น เช่นภาพครึ่งตัว 5. ภาพระยะปานกลางใกล้ Medium Close Up shot (MCU) หมายถึง ภาพถ่ายวัตถุในระยะปานกลาง ที่ถ่ายเน้นรายละเอียดของวัตถุให้เข้าใกล้มาอีก 6. ภาพระยะใกล้ Close Up (CU) หมายถึง ภาพถ่ายระยะใกล้วัตถุ เพื่อเน้นวัตถุ หรือบางส่วนของวัตถุขจัดสิ่งอื่นๆที่ไม่ต้องการแสดง ออกไป ขยายให้เห็นรายละเอียดเฉพาะของวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น เช่นภาพครึ่งหน้าอก 7. ภาพระยะใกล้มาก Extreme Close Up (ECU) หมายถึง ภาพถ่ายที่เน้นให้เห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุอย่างชัดเจน เช่นนัยน์ตา เพื่อแสดง อารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาพ ลักษณะของภาพที่ถ่าย เพื่อบอกเนื้อหา หรือเรื่องราวของภาพและลักษณะภาพหรือธรรมชาติของภาพที่ถ่าย 1. ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view) หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะถ่ายจากมุมสูง เช่น จากเครื่องบิน เสมือนภาพแทนสายตานก ในบทโทรทัศน์นอกจากบอกว่า ตั้งกล้องมุมสูงแล้วจะต้องระบุด้วยว่าถ่ายจากเครื่องบิน 2. ภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มาก (Big Close Up Shot) หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะใกล้มีขนาดใหญ่ เช่น ภาพคนเต็มหน้า หรือภาพบางส่วนของใบหน้าที่ต้องการเน้นเฉพาะ เช่น นัยน์ตา ปาก จมูก หรือบางส่วนของวัตถุ 3. ภาพครึ่งอก (Bust Shot) หมายถึง ภาพถ่ายศีรษะกับหัวไหล่ทั้งสองของผู้แสดง 4. ภาพเอียง (Canted Shot) หมายถึง ภาพที่อยู่นอกเส้นดิ่งของภาพ ในบทโทรทัศน์มักจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ภาพเอียง หรือภาพเฉียง ลักษณะใด 5. ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายข้ามไหล่ด้านหลังอีกคนหนึ่งเป็นฉากหน้า และเห็นหน้าอีกคนหนึ่ง ในบทโทรทัศน์ใช้คำว่า X- Shot หรือถ่ายข้ามไหล่ 6. ภาพเต็มตัว (Full Shot) หมายถึง ภาพผู้แสดงคนเดียว หรือหลายคนเต็มตัว โดยมีฉากหลังประกอบ 7. ภาพระดับเข่าของร่างกาย (Knee Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายตั่งแต่ศีรษะลงไปจนถึงหัวเข่า หรือการถ่ายภาพตั่งแต่หัวเข่าลงไปถึงเท้า ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจน 8. ภาพถ่ายจากกระจกเงา (Mirror Shot) หมายถึง ภาพที่ถ่ายผู้แสดงจากภาพในกระจกเงา ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นภาพจากกระจกเงา 9. ภาพหมู่ (Group shot) หมายถึง ภาพในลักษณะรวมกันเป็นหมู่ หรือเป็นกลุ่มคน 10. ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัว (Two Shot / Double Shot ) หมายถึง ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัวในกรอบภาพเดียวดัน หันหน้าเข้าหากัน หลักการกำหนดภาพ 1. ภาพแบบออฟเจคตีฟ (Objective Shot) หมายถึง การถ่ายภาพในลักษณะแทนสายตาของผู้ชม หรือผู้สังเกตการณ์ ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ทางด้านหน้าของนักแสดง 2. ภาพแบบซับเจคตีฟ (Subjective Shot) หมายถึง การถ่ายภาพในลักษณะกล้องจะตั้งอยู่ในตำแหน่งแทนสายตาของผู้แสดง และกำกับมองดูการกระทำ เช่นเดียวกับที่ผู้แสดงมองเห็น ตัวอย่างที่ใช้กันบ่อยๆคือ ตั้งกล้องในมุมสูง ถ่ายภาพข้ามไหล่ผู้แสดงไปยังวัตถุที่กำลังแสดง ศัพท์ทางเทคนิค กับการถ่าย ควบคุมกล้อง PAN เป็นการเคลื่อนกล้องและแท่นวางกล้องโดยวิธีส่ายไปในแนวนอนส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่ คำสั่งที่ใช้ :ใช้ออกคำสั่งว่าPanrightส่ายไปทางขวาหรือPanleftส่ายไปทางซ้ายบางที ผู้ผลิตอาจออกคำสั่งที่เจาะจงลงไปกว่านี้ก็ได้เช่นส่ายไปทางซ้ายเมื่อผู้ดำเนินรายการเดินไปที่โต๊ะก็ได้ การส่ายกล้องชนิดพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ การส่ายอย่างรวดเร็ว (SWISH หรือ WHIP) ช่วงระหว่างภาพที่ส่ายนั้นจะไม่ชัดมองเห็นเหมือนลำแสงบนจอวิธีการนี้เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องของภาพนั่นเอง การส่ายกล้องควรคำนึงถึงจุดหมายปลายทางมิใช่ส่ายกล้องไปโดยมิรู้ว่าจะไปหยุด ณ ที่ใด ทำให้ภาพไม่มีประสิทธิภาพและไม่น่าสนใจ TILT คือ การเคลื่อนไหวกล้อง และแท่นวางกล้องโดยวิธีการก้มหรือเงยกล้อง ส่วนขาตั้งกล้องยังคงที่ คำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า Tilt up เงยกล้องขึ้น หรือ Tilt down ก้มกล้องลง PEDESTAL คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยการเปลี่ยนความสูงของขาตั้งคำสั่งที่ใช้ : ใช้ออกคำสั่งว่า Pedestal up หรือ Ped upเป็นการยกกล้องให้สูงขึ้น Pedestal down หรือ Ped down เป็นการลดกล้องให้ต่ำลง การใช้ Pedestal upก็เหมือนกับการนั่งแล้วลุกขึ้นจะทำให้มุมของภาพที่มองนั้นเปลี่ยนไป DOLLY คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธีเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่ออกไปจาก วัตถุพร้อมขาตั้ง คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Dolly in เป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุและ Dolly outเคลื่อนออกไปจากวัตถุการเคลื่อนที่ช้าหรือเร็วเพียงใดนั้นผู้ควบคุมรายการจะเป็นผู้ออกคำสั่ง TRUCK คือการเคลื่อนไหวกล้องไปข้างซ้ายหรือขวาโดยทั้งขาตั้งและตัวกล้องเคลื่อนที่ไปด้วยกัน คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Truck right สำหรับการเคลื่อนไปทางขวาและ Truck left สำหรับการเคลื่อนไปทางซ้ายการเคลื่อนที่ในลักษณะนี้ก็เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้แสดงและเป็น การช่วยจัดภาพภายในกรอบให้ดีขึ้นนั่นเอง ลักษณะการเคลื่อนที่แบบนี้แตกต่างจากการส่ายกล้องPAN ที่เคลื่อนที่เฉพาะตัวกล้องและแท่นวางเท่านั้น ARC คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยวิธี Dolly และ Truck แต่เป็นการเคลื่อนในลักษณะครึ่งวงกลม คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Arc right สำหรับการเคลื่อนไปทางขวามือ และ Arc left สำหรับการ เคลื่อนไปทางซ้ายมือ CRANE คือ การเคลื่อนไหวกล้องโดยที่กล้องติดอยู่บนคันยกที่มีแขนยาวยื่นออกไป คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Crane up สำหรับการยกคันยกขึ้นและ Crane down สำหรับการยกคันยกลงบางทีใช้คำว่า Boom up และ Boom down แทนก็ได้ ถ้าหากมีการส่ายคันยกไปทางขวาจะใช้คำสั่งว่า Tongue left บางครั้งจำเป็นที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวกล้องในลักษณะต่างๆร่วมกันเพื่อให้ภาพมีประสิทธิภาพเช่น ในขณะที่ (Dolly in) อาจต้องลดกล้องให้ต่ำลง (Ped own) และการที่จะทำให้ภาพอยู่ในกรอบในขณะที่ลดต่ำลงจะต้องมีการส่ายไปทางซ้าย-ขวา (Pan) เล็กน้อยพร้อมกับเงยกล้อง (Tilt up) ด้วยจึงจะได้ภาพที่อยู่ในกรอบที่ต้องการ ดังนั้นผู้ควบคุมกล้องควรมีผู้ช่วยในการเคลื่อนขาตั้งส่วนผู้ควบคุมกล้องจะทำหน้าที่ส่ายก้มหรือเงย และควบคุมเลนส์ได้สะดวกขึ้นการมีผู้ช่วยจำเป็นต้อง มีการทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะเกิดประสิทธิผลของการผลิตรายการ Zoom คือการใช้การควบคุมที่ต้องการเปลี่ยนมุมการรับภาพของเลนส์ที่ต่อเนื่องกัน คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Zoom in หรือ Zoom out ใช้ Zoom in เมื่อต้องการดึงภาพเข้ามาใกล้ ๆ บางทีใช้คำว่า Push in และใช้คำว่า Zoom out เมื่อต้องการปล่อยมุมรับภาพให้กว้างออกไปบางทีใช้ Pull out การใช้ Zoomอย่างรวดเร็วนั้นเรียกว่าSnapZoomเพื่อทำให้น่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งไม่ควรจะใช้ บ่อยนัก Focus คือ การปรับความคมชัดของภาพ คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Focus up Rack lens คือ การเปลี่ยนหรือหมุนเลนส์ที่อยู่บนจาน (Turret) ให้ตรงกับช่องเลนส์ที่ถ่ายภาพเพราะบนTurretจะมีเลนส์หลายตัว แต่ปัจจุบันนี้แบบนี้ไม่นิยมใช้แล้ว คำสั่งที่ใช้ : ใช้คำว่า Rack lens หรือ Flip lens ซึ่งปกติจะบอกจำเพาะเจาะจงลงไป ว่า Rack lens ชนิดใด คำศัพท์ทางภาพยนตร์ที่ควรรู้ Action - คำสั่งของผู้กำกับการแสดง ให้นักแสดงเริ่มแสดงตามคิว หลังจากที่สั่งใกล้ช่างภาพเดินกล้องแล้ว* Angle - มุมกล้อง หมายถึงทิศทางหรือมุมกล้องที่กล้องทำมุมสัมพันธ์กับวัตถุที่ถ่าย Dutch Angle - มุมเอียง การตั้งกล้องมุมนี้เป็นการแสดงภาพแทนความรู้สึกของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง หรือการสร้างบรรยากาศให้มีความรู้สึก เวิ้งว้าง วังเวง พิกล ผิดอาเพศ Eye level Angle - มุมระดับสายตา กล้องจะตั้งอยู่ในระดับสายตาของมนุษย์ ภาพที่ถูกบันทึกจะให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เรียบง่าย กับคนดู และเหมือนกับการดึงคนดูเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ มุมภาพในระดับนี้จะทำให้เราได้เห็น รายละเอียดเพียงด้านเดียวเนื่องจากล้องจะตั้งในระดับเดียวกันกับวัตถุที่ถ่าย High Angle - มุมสูง หรือ มุมก้ม กล้งจะตั้งอยู่สูงกว่าวัตถุ เวลาถ่ายต้องกดหน้ากล้องลงมาเล็กน้อยเพื่อที่จะถ่ายวัตถุที่อยู่ต่ำกว่า ภาพในมุมนี้จะทำให้คนดูเห็นว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นต่ำต้อย ด้อยค่า ไร้ความหมาย ตกต่ำ สิ้นหวัง แพ้พ่าย และถ้าหากเป็นภาพยนตร์ที่ใช้มุมล้องเล่นกับคนดูด้วยแล้ว จะทำให้คนดูรู้สึกว่าตัวเองมีอำนาจ สูงส่ง เป็นผู้ควบคุมสิ่งที่ปรากฎอยู่ในภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะตรงกันข้ามกับ Low Angle Low Angle - มุมต่ำ หรือ มุมเงย กล้องจะตั้งอยู่ต่ำกว่าวัตถุแล้วเงยหน้ากล้องขึ้นมาเพื่อถ่ายวัตถุที่อยู่สูงกว่า ทั้งนี้บางครั้งนิยมถ่ายภาพเพื่อเน้นส่วนสำคัญหรือสร้างจุดสนใจให้กับวัตถุที่ถ่าย เมื่อคนดูเห็นภาพในมุมนี้จะทำให้รู้สึกว่าวัตถุที่ถ่ายนั้นสูงส่ง มีค่า ยิ่งใหญ่ อลังการ โอ่อ่า น่าเกรงขาม ในขนะเดียวกันก็จะทำให้คนดูรูสึกว่าตัวเองนั้นต่ำต้อยกว่าวัตถุนั้นๆ นิยมถ่ายโบราณสถาน สถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ เพื่อทำให้รู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นยิ่งใหญ่ สูงค่า น่าเกรงขาม Subjective - มุมแทนสายตาตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งมุมจะเปลี่ยนไปตามอิริยาบทของตัวละครที่กล้องแทนสายตาอยู่ ไม่ว่าจะเดิน นั่งนอน Boom - อุปกรณ์ที่ไว้สำหรับแขวนไมค์โครโฟน มีลักษณะเป็นแท่งยาวๆสามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่ด้านปลายจะมีไมค์โครโฟนติดอยู่ไว้สำหรับบันทึกเสียงระหว่างการถ่ายทำ Crane - ปั้นจั่นขนาดใหญ่ที่มีได้สำหรับติดตั้งกล้องภาพยนตร์ เพื่อนไว้ถ่ายภาพมุมสูง Dolly - พาหนะที่มีล้อเลื่อนได้ สำหรับตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพในช็อตประเภท dolly shot, track หรือ truck Slate - บอร์ดแสดงข้อมูลการถ่ายทำในแต่ละช็อต ซึ่งจะมีข้อมูลของช็อตนั้นที่กำลังจะถ่ายเช่น ชื่อภาพยนตร์ ฉาก ช็อต เทคที่เท่าไรชื่อผู้กำกับ ช่างภาพ ถ่ายกลางวันหรือกลางคืน ภายนอกหรือภายใน ฟิล์มม้วนที่เท่าไร วันที่ถ่าย เป็นต้น ซึ่งก่อนการถ่ายผู้กำกับต้องสั่งให้ทีมงานนำ Slate เข้ามาโชว์ที่หน้ากล้องเพื่อบันทึกว่าสิ่งที่กำลังจะถ่ายต่อไปนี้คืออะไร เพื่อเป็นประโยชน์ตอนตัดต่อ Pan - คือการหันกล้องระหว่างที่มีการถ่ายทำจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย หากเราต้องการเน้นสิ่งใดให้แพนมาหยุดที่สิ่งนั้นเป็นส่งสุดท้าย เช่น แพนจากภาพเด็กที่กำลังยืนมองตั้งหนังสือการตูนเรื่องโปรดที่สะสมมาตั้งแต่เด็ก ที่มีมากมายมหาศาล แพนไปหาชั้นวางหนังสือที่มีที่ว่างพอสำหรับหนังสือไม่กี่สิบเล่ม เป็นต้น เท่านี้คนดูก็อาจเข้าใจได้ว่าเด็กคนนี้กำลังประสบปัญหาไม่มีที่เก็บหนังสือการ์ตูนของตัวเองแม้จะไม่มีบทพูดใดๆให้คนดูได้ทราบาก่อนเลยก็ตาม ในช็อตนี้ภาพยนตร์กำลังสื่อว่าต้องการเน้นที่ชั้นวางหนังสือ เพราะแพนมาสิ้นสุดที่ชั้นว่าง Tilt - คือการกดกล้องลงหรือเงยขึ้นระหว่างที่ถ่ายทำ (ลักษณะจะคล้าย pan แต่เปลี่ยนจากซ้าย-ขวา เป็นบน-ล่าง) การสื่อความหมายจะคล้ายกับ pan คือต้องการเน้นสิ่งใดก็ให้ Tilt ไปหยุดที่สิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย เช่น กล้องแทนสายตาของฝ่ายชายที่กำลังตะลึงกับครั้งแรกที่เจอสาวสวย จนถึงขนาดต้องกวาดสายตาตั้งแต่ปลายเท้าของฝ่ายหญิง เรื่อยขึ้นมาจนถึงใบหน้า ( กล้องจะ tilt up )จนลืมไปว่าเป็นการเสียมารยาท เป็นต้น ในลักษณะนี้จะเป็นการเน้นที่หน้าของฝ่ายหญิงมากกว่าเรือนร่าง Cue - (อ่านว่า คิว) เป็นสัญญาณบอกนักแสดงให้เริ่มแสดง ส่วนใหญ่จะเป็น cue ที่ 2 เป็นต้นไป เพราะcue แรกเป็นการสั่ง action ของผู้กำกับอยู่แล้ว เช่น เมื่อผู้กำกับสั่ง action นักศึกษาในห้องก็เริ่มเล่นกันคุยกันระหว่างรออาจารย์มาสอน จากนั้นผู้กำกับก็จะให้ cue กับนักแสดงที่รับบทเป็นอาจารย์ เดินเข้ามา เป็นต้น ซึ่งสัญญาณนี้จะเป็นอะไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน Shot - เป็นการบันทึกภาพในแต่ละครั้ง กล่าวคือ เริ่มกดปุ่มบันทึกภาพหนึ่งครั้งและกดปุ่มหยุดบันทึกอีกหนึ่งครั้ง นับเป็น 1 shot Cut - เป็นการสั่งของผู้กำกับเพื่อให้หยุดการบันทึกของช็อตนั้น ซึ่งทีมงานในกองถ่ายอีกคนหนึ่งที่สามารถสั่งได้ นั้นก็คือคนที่ทำหน้าที่ Continuity Cut-Away - ช็อตเหตุการณ์ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินเรื่องหลักอยู่ เช่น เจ้านายกำลังขับรถเลี้ยวเข้าบ้าน ตัดภาพเป็น cut-away ที่ภาพคนรับใช้ ที่กำลังออกมารอต้อนรับ เป็นต้น Cut-In - ภาพระยะใกล้ (insert) ของเหตุการ์ที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น ภาพระดับสายตาคนกำลังพายเรืออยู่ในคลองแถวบ้าน และตัดเป็นภาพ cut-in ไปที่ ไม้พายที่กำลังแหวกน้ำ เป็นต้น Continuity - ตำแหน่งผู้ควบคุมความต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะนิยมให้ผู้หญิงทำหน้าที่นี้ เนื่องจากต้องใช้ความรอบคอบและความช่างสังเกตุสูง หน้าที่คือ ควบคุมความต่อเนื่องระหว่างช็อตแต่ละช็อต เป็นต้นว่า ช็อตแรกถ่ายคนกำลังเปิดประตูจากด้านนอกด้วยมือขวา เมื่อคัทช็อตมาถ่ายด้านใน ตอนเปิดประตูเข้ามาแล้วก็ต้องเป็นมือขวาที่กำลังกำลูกบิดประตูอยู่ Script - บทภาพยนตร์ที่ใช้สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ อาจจะเขียนขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงมาจากวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น ก็ได้ การเขียนบทภาพยนตร์ มีขั้นตอนดังนี้ -Theme -แก่นของเรื่อง Synopsis - แนวความคิดหลัก และโครงสร้างของภาพยนตร์แบบกระชับ Plot - การวางโครงเรื่องหลักๆ Treatment - เป็นการขยายเรื่อง (Plot) ตั้งแต่ต้นจนจบอกมาในลักษณะความเรียง Screenplay - บทภาพยนตร์สำหรับนักแสดงเอาไว้อ่าน ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวสถานที่ วัน เวลา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละฉาก พร้อมบทสนทนา Storybord - ภาพประกอบเหตุการณ์ในแต่ละช็อต เพื่อให้การถ่ายทำได้เห็นภาพเป็นรูปธรรมมากที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้ทีมงานทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน Shooting Script - เป็นบทถ่ายภาพยนตร์สำหรับทีมงาน ซึ่งจะมีข้อมูลทางเทคนิค การวางตำแหน่งกล้อง การเคลื่อนกล้อง ขนาดภาพ มุมภาพ เป็นศัพท์และคำย่อเฉพาะทางด้านภาพยนตร์ทั้งสิ้น จึงเหมาะสำหรับทีมงานของกองถ่ายนั้นๆ หรือผู้ที่ศึกษามาทางภาพยนตร์โดยเฉพาะ Break Down Script - การแตกบทภาพยนตร์ออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการถ่ายทำ เพราะไม่จำเป็นต้องถ่ายเรียงทีละฉากตามที่ระบุไว้ใน Script และนำมาตัดต่อภายหลัง หรือเรียกอีกอย่างว่า การเจาะถ่าย หมายเหตุ *ในการถ่ายทำภาพยนตร์แต่ละช็อตนั้น ก่อนที่ผู้กำกับจะสั่ง Action ผู้กำกับจะเช็คความพร้อมของนักแสดงและทีมงานก่อนเมื่อทุกอย่างพร้อม ผูกำกับจะสั่งให้ผู้ควบคุมเทปเดินเทป และช่างภาพเดินกล้อง จากนั้นจะสั่งให้Slate Man นำSlate มามาร์คที่
Posted on: Mon, 21 Oct 2013 10:26:53 +0000

© 2015