บทที่ - TopicsExpress



          

บทที่ 3 ประเภทของงานวิจัย ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง คณะผู้วิจัยทำการสุ่มแบบเจาะจงวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยภาครัฐ อาทิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฯลฯ โดยใช้คำสำคัญเศรษฐกิจพอเพยงในการสืบค้นในขั้นต้นและใช้คำสำคัญเศรษฐกิจชุมชนในการสืบค้นงานวิจัยในลำดับต่อมา นอกจากนั้นคณะผู้วิจัยยังได้ศึกษางานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ ในบทที่ 3 นี้ คณะผู้วิจัยต้องการตอบคำถามเรื่องประเภทของงานวิจัยโดยวิเคราะห์จากวัตถุประสงค์ในการศึกษา คำถามการวิจัย และวิธีวิทยาการวิจัยอย่างสัมพันธ์กัน เนื่องจากเชื่อว่าการแยกประเภทงานวิจัยจะช่วยให้ประชาคมวิจัยมองเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของงานวิจัยประเภทต่างๆ กับผลการสังเคราะห์ข้อค้นพบ (Amalysis of Results) ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในบทที่ 4 คณะผู้วิจัยแยกประเภทงานวิจัยด้วยการตอบคำถามว่า งานวิจัยที่ได้เลือกมาเพื่อการศึกษาวัตถุประสงค์อะไร มีคำถามการวิจัยอะไรและใช้วิธีวิทยาประเภทใดและขอนำเสนอข้อค้นพบในบทนี้ โดยแบ่งผลการสังเคราะห์งานวิจัยออกเป็นห้าขั้นดังนี้ ผลการสังเคราะห์งานวิจัยขั้นที่ 1 : การแยกประเภทงานวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัย ประเภทที่ 1 การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจชุมชนในฐานะปรัชญาและแนวคิดการพัฒนาสังคม ประเภทที่ 2 การศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของชุมชน ประเภทที่ 3 การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการสำรวจความคิดเห็นหรือทัศนะของบุคคลหรือคณะบุคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อโครงการและกิจกรรมการพฒนา ที่ยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทที่ 4 การศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 4.1 การประยุกต์ในระดับองค์กร 4.2 การศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะแยวคิดและการประยุกต์ใช้ ประเภทที่ 5 การศึกษาเรื่อง "ความพอเพียง" ทางสังคม สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี ประเภทที่ 1 การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจชุมชนในฐานะปรัญาแนวคิดการพัฒนาสังคม งานวิจัยประเภทนี้มุ่งศึกษาความเป็นมาหรือพัฒนาการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวคิดในการพัฒนาสังคม ในการวิจัยเรื่อง "การศึกษาวิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง" พระมหาประทีป พรมสิทธิ (2545)นำกรอบแนวคิดของปรัชญาสำนักต่างๆ (ภาคผนวกที่ 1 ) อาทิ ประสบการณ์นิยมปฏิบัตินิยม และธรรมชาตินิยม มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ตีความพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียง และเชื่อมโยงการวิเคราะห์กับจริยศาสตร์แนวพุทธ ถึงแม้ว่าการกำหนดกรอบปรัชญาสามสำนักไว้แต่เบื้องต้นเพื่ออธิบาย-วิเคราะห์แนวคิดเศรษฐกจพอพียงจะทำให้การศึกษามีลักษณะ "Deductive" ไม่เอื้อต่อการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เท่าใดนัก งานชิ้นนี้นับว่ามีเอกลักษณ์และคุณลักษณะพิเศษ เนื่องจากสะท้อนถึงความพยายามของผู้ศึกษาในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับฐานคิดเชิงปรชญา (Philosophi-cal Assumptions) ของปรัชญาตะวันตก งานวิจัยชิ้นนี้จัดได้ว่าเป็นการวิจัยที่ศึกษาวิเคราะห์และตีความแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะที่เป็นประชญาโดยแท้ ประเภทที่ 2 การศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของชุมชน การวิจัยในชุดโครงการเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านไทยทั้ง 16 เล่ม มีวัตถุประสงค์ที่เป็นไปในทัศทางเดียวกัน กล่าวคือ ต้องการศึกษาระบบเศรษฐกิจชุมชนทั้งในมิติประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ พลวัตเศรษฐกิจชุมชนในกระแสการเปลี่ยนแปลงตลอดจนการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจความอยู่รอดของชุมชนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคม ด้วยฐานคติทางทฤษฎีที่ว่าเศรษฐกิจที่มีมาแต่เดิมในชุมชนหมู่บ้านไทยนั้นเป็น "เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง" พัฒนาการและอุดมการณ์การผลิตและวิถีการผลิต ตลอดจนการจัดการผลผลิตภายในชุมชน ซึ่งคณะผู้วิจัยในชุดโครงการนี้เชื่อว่าความเป็น เอกลักษณ์เหล่านี้เองทำให้ชุมชนมีพลังในการต้านกระแสทุนนิยม ซึ่งเริ่มมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ ชุมชนหมู่บ้านไทยในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาได้ในระดับหนึ่ง ตัวอย่างของวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเรื่อง "เส้นทางเศรษฐกิจชุมชนในกระแสทุนนิยม" (พรเพ็ญ ทับเปลี่ยน, 2546) คือ การสร้างทฤษฎีจากฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนโดยศึกษาองค์กรทางเศรษฐกิจที่สามารถทำหน้าที่บูรณาการระบบเศรษฐกิจชุมชนทั้งในด้านการผลิต การแลกเปลี่ยนการจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตและการบริโภค เป็นต้น ข้อเด่นของงานวิจัยหลายเรื่องในชุดโครงการเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านไทยในเชิงวัตถุประสงค์คือการที่ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับระบบการผลิตในชุมชน กล่าวอีกในนัยหนึ่งคือ การให้ความสนใจต่อพลวัตการปฏิสัมพันธ์ของชุมชนในฐานะที่มีพลังในตัวเอง มีระบบคิด ในฐานะหน่วยการกระทำในภูมินิเวศน์การเมืองของสังคมไทย (Agency / Social Actors) ความเป็นกลุ่มก้อน (Collectivety) ซึ่งเป็นคุณลักษณะสำคัญของชุมชนกับโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจการเมืองไทยซึ่งในบางช่วงบางสมัยอาจทำให้ชุมชนหมู่บ้านไทยตกเป็น "เหยื่อ" ของกระบวนการพัฒนาแบบบนลงล่างหรือแบบที่ส่วนกลาง (รัฐและทุน) อยู่ในฐานะได้เปรียบและชุมชนอยู่ในฐานะเสียเปรียบ สู่ความรู้ความเข้าใจและสร้างความรู้จากชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติการต่อสู้ดิ้นรนของชุมชนหมู่บ้านไทยเพื่อการดำรงอยู่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงอย่างลักซึ้งระหว่างอุดมการณ์และเป้าหมายในการผลิต วิถีชีวิตวัฒนธรรมและคุณค่ากับการจัดการผลิตผลด้วยการรวมตัวต่อสู้กับระบบทุนและอำนาจรัฐเพื่อชุมชนดำรงอยู่ได้ (Productive-Reproductive Goals) วิทยานิพนธ์เรื่อง "พลวัตชุมชนบ้านเปร็ดในภายใต้แนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่งที่มุ่งศึกษาประวัติความเป็นาของแนวคิดและพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของชุมชน โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบทางทฤษฎีและศึกษาลักษณะตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ข้อค้นพบงานวิจัยชี้ให้เห็ฯถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างคุณลักษณะของเศรษฐกิจดั้งเดิมของชุมชนก่อนที่ชุมชนจะได้รับอิทธิพลจากกระแสการพัฒนาแบบสมัยใหม่และเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนงานวิจัยเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย" ของ อรสุดา เจริญรัถ เป็นงานวิจัยที่มุ่งทำความเข้าในปรากฎการณ์การดำรงอยู่และการปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียงโดยศึกษาระบบเศรษฐกิจของหมู่บ้านอย่างเป็นระบบ ทั้งก่อน พ.ศ. 2518 ที่ระบบเศรษฐกิจชุมชนสามารถเลี้ยงตัวได้และหลังพ.ศ.2518 ที่ระบบทุนนิยมเข้าไปกระทบว่าปรับตัวอย่างไร ข้อค้นพบงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าอำนาจในการควบคุมดูแลจัดสรรทรัพยากรถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่และปรับตัวของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยเรื่องนี้ได้ระบุเงื่อนไขการดำรงอยู่และประบตัวของเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยเรื่งนี้ได้ระบะการแทรกแซงของอิทธิพลภายนอกและระบบการค้าแบบเงินตรา ประเภทที่ 3 การศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจชุมชนด้วยการสำรวจความคิดเห็นหรือทัศนะของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อโครงการและกิจกรรมการพฒนาที่ยึดหลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง งานวิจัยประเภทนี้มิได้สนใจศึกษาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงโดยตรง แต่เป็นการศึกษาประเโนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคมโดยการศึกษาทัศนะความคาดหวังหร์อความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายและขั้นตอนการวิจัยเพื่อประเมินผลการดำเนินของโครงการพัฒนาชนบทเป็นต้น งานวิจัยประเภทนี้จังนิยม "ตรึง" ความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไว้ดังที่ตนเข้าใจรับรู้ รับทราบและมุ่งศึกษาข้อมูลที่เป็นข้นเท็จจริงและความคิดเห็นซึ่งเมื่อได้คำตอบแล้วก็มิได้นำมาวิเคราะห็อภิปรายเพื่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแต่ประการใด การศึกษาของวินัย สุปินะ (2544) พัฒนาภรณ์ฉัตรวิโรจน์ (2545) พ.อ.อ.สมเศียร จันทร์หล้า (2544) และประธินพร แพทย์รังษี (2544) (ภาคผลนวกที่ 1 ) เป็นตัวอย่างของงานวิจัยประเภทนี้ นองจากนั้นการศึกษาของทรงชัย ติยานนท์ (2545) เรื่อง "การศึกษาทัศนะของเกษตร ในการสร้างความมั่นคงของรายได้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง"และศศิพร ประณีตลุตร (2544) เรื่อง "ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตของเกษตรกรในรูปแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่" เป็นอีกตัวอยางหนึ่งของการวิจัยเชิงสำรวจและใช้มโนทัศน์เศรษฐกิจพอเพียงแบบหยุดนิ่ง (Static) การค้นหาความรู้แบบนี้ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณมากในสังคมไทย แต่บทบาทในการสร้างเสริมองค์ความรู้ใหม่ในเรื่องเศราฐกิจพอเพียง มีค่อนข้างน้อยหรื่อแทบไม่มีเลย ประเภทที่ 4 การศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยประเภทนี้ผู้ศึกษาสนใจศึกษาเศรษบกิจพอเพียงในระดับการประยุกต์ใช้จริง ในบริบทของการปฏิบัติงานในองค์กรที่ตนรับผิดชอบ อาทิ สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ หรือการประยุกต์แนวคิดเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมขอดกลางและขนาดย่อม มีการประยุกต์ "หลักการ" ซึ่งนักวิจัยตีความว่าเป็นหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อ "แก้ปัญหา" ที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตาม "โครงงาน" ที่ผู้วิจัยมอบหมายให้ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยปฎิบัติ จากนั้นมีการศึกษาความคิดเห็นของผู้ร่วมการวิจัยและชุมชนตอ่โครงงานดังกล่าวภายใต้การศึกษาประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ 4.1 การประยุกต์ในระดับองค์กร เช่น สถานศึกษาและองค์กรทางสังคมโดยผู้วิจัยใช็เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบความคิดในระดับปฎิบัตฺการ แต่ไม่ได้ศึกษาเชิงลึกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาเป็นแบบกรอบทางทฤษฎีในการวิจัยแต่อย่างใด การศึกษาของชัยรินทร์ ชัยวิสิทธิ์ ในหัวข้อ "การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมค่านิยมตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้นักเรียนและชุมชนโดยโครงงานอาชีพ" (2542) ผู้วิจัยใช้การสอนในวิชา ช 041 เป็นพื้นที่ทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม โดยมุ่งศึกษาติดตามผลการเรียนการสอนด้วยวิธีการเขียนโครงงานที่เหมาะสมกับท้องถิ่น นอกจากนั้นยังติดตามผลการเรียนการสอนด้วยวิธีการและแก้ปัญหาด้วยการให้ความรู้ในหลักการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นจึงสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนและชุมชนในการดำเนินโครงงานอาชีพ การวิจัยโดยสุรางค์รัตน์ โรจน์พาณิช (2545) เรื่อง "การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับสถานสงเคราะห์" เริ่มที่การประยุกต์ใช้หลักการการพึ่งตนเองด้านอาหารและการสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตผลการเกษตรที่เป็นส่วนเกิน จากนั้นจึงศึกษาทัศนะและความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยอีกเรื่องหนึงที่ศึกษาการประยุกต์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำแนวคิดไปทดลองดำเนินการจริงนั้น คือ การศึกษาของสมศักดิ์ ลาดี (2543) เรื่อง "การศึกษาดำเนินการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี" เป็นการประยุต์ใช้ทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยนำมาทดลองปฏิบัติในโรงเรียนขนาดกลางที่มีพื้นที่ระหว่าง 21-30 ไร่ มีพื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยโรงเรียนและชุมชนร่วมกันเตรียมพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เพาะพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปลูกข้าว ปลูกพืชยืนต้น ปลูกพืชไร พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพรที่โรงเรียน และนำผลผลิตที่ได้จากโครงการทฤษฎีใหม่มาจัดจำหน่ายผลผลิต การจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการเรียนรู้โดยได้ฝึกปฎิบัติจริง ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ มีบทบาทและเกิดการเรียนรู้ที่ดีในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ คำถามในการวิจัยมีความสอดคล้องกับชื่อโครงการ ข้อควารสังเกต คือ กรอบแนวคิดการดำเนินการวิจัยมีความสอดคล้องกับชื่อโครงการ ข้อควรและจะมีกินตลอดชีวิตดังกรอบความคิดที่ปรากฎในงานวิจัยดังนี้
Posted on: Sun, 29 Sep 2013 17:39:11 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015