ผู้นำพลังงานทดแทน (3) - TopicsExpress



          

ผู้นำพลังงานทดแทน (3) ----------------------------- โดย พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน สัปดาห์นี้เป็นการสรุปและเป็นตอนจบของการนำเสนอเอกสารวิจัย ยุทธศาสคร์ความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานทดแทนรองรับการเข้าสู่ AEC โดยเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นแกนนำในการประสานและพัฒนาพลังงานทดแทนของภูมิภาค อาเซียน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานและความผาสุกของประชากรอาเซียน มุ่งสู่การเป็น ผู้นำด้านพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน (ASEAN Green Energy) ซึ่งต้องขอเสนอในเชิงวิชาการ โดยประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ หลังจากที่ได้ทราบแนวโน้มการใช้พลังงานและพลังงานทดแทน รวมถึง ศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคในแต่ละประเทศแล้ว ประเทศใน AEC จะสามารถวางแผนยุทธศาสตร์ ความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานทดแทนของอาเซียน พร้อมกันนี้ไทยก็จะสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ในการเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ประเทศใน AEC ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ในการพัฒนาพลังงานทดแทน สามารถพัฒนาพลังงานทดแทนที่มีต้นทุนที่แข่งขันได้ สร้างโครงข่ายสนันสนุนพลังงานทดแทน ลดความขัดแย้ง สร้างประโยชน์และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน พร้อมทั้งดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยจะมี 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์เพิ่มการใช้พลังงานทดแทนของอาเซียน โดยลดการอุดหนุนพลังงานพื้นฐานเปลี่ยนมาอุดหนุนพลังงานทดแทน และปรับโครงสร้างพลังงานให้มีมาตรฐานเดียวกัน เร่งผลักดันมาตรฐานและนโยบายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั่วทั้งภูมิภาค ส่งเสริมการลงทุนให้มีการเร่งลงทุนในพลังงานทดแทนในมาตรฐานเดียวกันทั้งภูมิภาค 2) ลดต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทนเพื่อขจัดการอุดหนุนราคาในระยะยาว เช่นในเชื้อเพลิงชีวภาพ จะต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี คัดเลือสายพันธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้มีผลผลิตสูงสุด วางแผนจัดสรรการพื้นที่การปลูกพืชพลังงานทั้งภูมิภาค พร้อมทั้งตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพของภูมิภาค 3) ยุทธศาสตร์การสร้างศูนย์กลางและมาตรฐานพลังงานทดแทนอาเซียน โดยผลักดันก่อตั้งในประเทศไทย ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางให้เหมาะกับภูมิภาค และเป็นตลาดศูนย์กลางการค้าพลังงานทดแทน 4) ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาและลงทุนในพลังงานทดแทนให้เติบโตอย่างยั่งยืน เช่น จัดตั้งกองทุนพลังงานทดแทน จัดตั้งองค์กรกลางเพื่อพัฒนา กำหนดนโยบาย ไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง และควบคุมการลงทุน พัฒนาเศรษฐกิจกับชนบท พร้อมทั้งการดูแลสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ ประโยชน์จากการพัฒนาตามยุทธศาสคร์ความร่วมมือในการพัฒนาพลังงานทดแทนในภูมิภาคอาเซียน 1) ไทยจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาพลังงานทดแทนในระดับภูมิภาค 2) ความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคและของประเทศไทย 3) เพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ 4) ลดปัญหามลพิษและวิกฤตโลกร้อน 5) แก้ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทั้งนี้ยังอาจจะมีปัจจัยความเสี่ยงบางประการ เช่น การไม่สามารถยกเลิกการอุดหนุนพลังงานพื้นฐานได้ การไม่สามารถกำหนดมาตรฐานกลางพลังงานทดแทนได้ การปรับมาตรฐานรถยนตร์เพื่อรองรับเชื้อเพลิงชีวภาพ ปัญหาลิขสิทธิ์ในพันธุ์พืช การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูก การขาดงบประมาณ การไม่สามารถขยายการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านได้ การหาเงินจัดตั้งกองทุนการลงทุนพลังงานทดแทน และการจัดตั้งองค์กรกลางในการพัฒนา เป็นต้น ซึ่งทุกประเทศในอาเซียนจะต้องหารือหาทางออกร่วมกัน ปัจจัยความสำเร็จของยุทธศาสตร์ 1) อาเซียน ควรปรับแนวคิดการสนับสนุนพลังงานทดแทนมาเป็นแบบองค์รวมโดยมองว่าประเทศสมาชิกเป็นภูมิภาคเดียวกัน กำหนดเป็น ASEAN Sustainable Renewable Development Agreement 2) มีมาตรการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องพลังงานและเทคโนโลยี ประโยชน์ของพลังงานทดแทนต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมต่อประชาชน (Role of Education & Media) 3) มีงบประมาณเพื่อใช้ในการวิจัยพลังงานทดแทนและส่งเสริมการลงทุนภายใต้กรอบแผนการดำเนินงาน (Green Energy Fund) 4) ลดข้อกีดกันระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานทดแทนได้ง่ายขึ้น (Easy to excess) 5) นำต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้ารวมในต้นทุนพลังงานฟอสซิล (Environmental Tariff) 6) ประเทศไทย ต้องมีความมุ่งมั่นในการเสนอแผนงานการพัฒนาและส่งเสริมพลังงานทดแทน พร้อมเป็นแกนนาการประสานความร่วมมือการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยใช้จุดแข็งด้านประสบการณ์การส่งเสริมพลังงานทดแทนและศักยภาพของประเทศไทยต่อการใช้เป็น ศูนย์กลางการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ หากสามารถดำเนินยุทธศาสตร์พลังงานทดแทนของ AEC นี้ได้สำเร็จจะเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์อย่างมากแก่ทุกประเทศใน AEC โดยเฉพาะประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศไทย ที่รัฐบาลกำลังจะกำหนดโซนนิ่ง เพื่อให้ลดพื้นที่การปลูกข้าว โดยเปลี่ยนเป็นการปลูกพืชพลังงานเช่น อ้อยและมันสำปะหลัง ทั้งนี้อยากให้ข้อคิดกับรัฐบาลไห้คำนึงถึงกลไกของตลาดว่า จะทำอย่างไรให้เกษตรหันมาปลูกอ้อยและมันสำปะหลังแทนที่จะปลูกข้าว โดยแรงจูงใจน่าจะเป็นผลตอบแทนหรือรายได้ที่ต้องเท่าเทียมกันหรือมากกว่า หากเกษตรกรไม่สามารถมั่นใจได้ว่าการปลูกพืชพลังงานแล้วไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่เท่าเทียมกันหรือมากกว่าการปลูกข้าวที่มีระบบจำนำรองรับอยู่ได้ โอกาสของความสำเร็จในการทำโซนนิ่งก็จะมีน้อย การที่ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของพลังงานทดแทนในภูมิภาคน่าจะดีกว่า และน่าภาคภูมใจกว่า การเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกแต่ชาวนายังยากจนอยู่มากมายนัก
Posted on: Tue, 09 Jul 2013 06:50:40 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015