ในที่นี้ - TopicsExpress



          

ในที่นี้ จะขอเสนอแผนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โดยอิงรูปแบบของโครงการ (การฝึกปฏิบัติวิชาชีพและการฝึกด้านการพัฒนา) เป็นหลักก่อน ดังนี้ Plan for conduction of this project is designed according to objectives as described below วัตถุประสงค์ที่ 1 ศึกษาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจติดตามทางไกล และศึกษารูปแบบโครงการบริหารจัดการเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการดูแลผู้ป่วยในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความสูญเสียต่างๆที่เกิดขึ้นจากการดูแลผู้ป่วยอย่างไม่มีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดของการศึกษาดังนี้ Objective 1 To study the well-developed HFDMP including HF clinic, Home health care and Telemonitoring in aspect of program management, step?, apply the knowledge and experience from the study to improve the quality of HF care in Thailand 1. โครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลว โดยจะศึกษาในรูปแบบของการดูแลรักษาที่มีการศึกษาและนำมาใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศได้แก่ คลินิกหัวใจล้มเหลว การดูแลรักษาที่บ้าน และการตรวจติดตามทางไกล โดยจะเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินการแต่ละโครงการ ขั้นตอนในการดูแลรักษา กระบวนการปรับปรุงและพัฒนาโครงการ และฝึกการปฏิบัติจริงในฐานะผู้ให้บริการกับผู้ป่วยหากมีโอกาส เพื่อเป็นองค์ความรู้ในการนำมาปรับปรุงพัฒนาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. รูปแบบการดำเนินโครงการบริหารจัดการอย่างครบวงจร นอกเหนือจากการมีรูปแบบโครงการที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมแล้วยังต้องมีรูปแบบการดำเนินโครงการเพื่อทำให้ผู้ป่วยแต่ละรายได้รับรูปแบบการดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยเมื่อดำเนินโครงการอยู่ในประเทศ จะเน้นศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดสรรผู้ป่วยให้เข้ากับรูปแบบการดูแลรักษาที่เหมาะสม และการประสานงานระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งจะได้เรียนรู้ในระหว่างที่ศึกษาในแต่ละรูปแบบของโครงการ การศึกษาในระบบต่างๆ ที่กล่าวในข้างต้น มีความสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ในข้อแรก และมีความจำเป็นต้องไปศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีการดำเนินโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างครบวงจร และสาเหตุที่มีความจำเป็นต้องไปศึกษาระบบในสถานที่จริงเนื่องจากระบบโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก การไปศึกษาในสถานที่จริงจะช่วยให้เห็นและเข้าใจรายละเอียดของโครงการได้ดีกว่า และยังช่วยให้เห็นข้อดี ข้อเสีย ที่จะสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขได้เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย วัตถุประสงค์ที่ 2 ศึกษากระบวนการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวทุกระยะตั้งแต่การป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลวในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันและเรื้อรังที่มีอาการกำเริบต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การวินิจฉัยโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง การตรวจด้วยสายสวนหัวใจ การให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้าย โดยสถานที่ที่จะใช้ศึกษากระบวนการดังกล่าวต้องเป็นศูนย์โรคหัวใจ หรือศูนย์หัวใจล้มเหลวขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมทั้งในแง่ของบุคลากรที่เชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่ใช้ทั้งในการวินิจฉัยและรักษา เพื่อจะได้ศึกษากระบวนการดูแลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วย วัตถุประสงค์ที่ 3 ศึกษาถึงการทำงานของอายุรแพทย์โรคหัวใจร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องในการร่วมดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายหัวใจ หรือติดตั้งเครื่องช่วยหัวใจบีบตัวโดยศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก หรือการดูแลและประเมินการฟื้นฟูหัวใจ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ และนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการพัฒนารูปแบบโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ที่ 4 เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการทำงานวิจัยเช่น Journal club ในสถาบันที่เลือกไปดำเนินโครงการ และมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลวถ้ามีโอกาส แผนการดำเนินงานตามตารางเวลา Project Timeline 1. การเตรียมตัวก่อนไปต่างประเทศ 1.1) ติดต่ออาจารย์แพทย์หญิงศริญญา ภูวนันท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว อายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ และระบบดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวทั้งในประเทศและต่างประเทศ 1.2) เพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทย โดยการศึกษาระบบการดูแลรักษาในคลินิกหัวใจล้มเหลว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และศึกษาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในสถาบันอื่นๆ เมื่อมีโอกาสได้ไปศึกษาในวิชาเลือก และรายวิชาเวชปฏิบัติ 1.3) เพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยการศึกษาจากเอกสารวิชาการต่างๆ และเรียนรู้จากการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งจากในคลินิกทั่วไป และในคลินิกโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้ในการดำเนินโครงการ 1.4) เตรียมตัวติดต่อกับสถาบันในต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และมีโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลว 1.Pre-scholarship preparation 1.1) Contact Dr.Sarinya Puwanant, Specialist in Echocardiography, Heart failure and Heart transplantation, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University for information about HF care system in Thailand and USA. 1.2) Acquire the knowledge about HFDMP in Thailand by visiting HF clinic,KCMH and other hospitals in Elective program 1.3) Acquire the comprehensive knowledge about care for HF patient from the literature and direct experience from HF patient 2. แผนการดำเนินงานขณะอยู่ที่ต่างประเทศ ในที่นี้จะแบ่งเวลาเป็น 3 ช่วงดังนี้ 2. Scholarship period เดือนที่ 1-3 ศึกษาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเน้นศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการการดูแลรักษา การดูแลผู้ป่วยโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในการให้ความรู้และสอนการดูแลตัวเองให้กับผู้ป่วย รวมถึงการประสานงานกับการดูแลรักษาวิธีอื่นๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าใจระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในต่างประเทศ 1st -3rd month to study the system of HF clinic in HFDMP including Role of Specialist physician in managing the entire service, multidisciplinary approach in patient education and interaction between HF clinic and other modalities in HFDMP เดือนที่ 4-7 ศึกษาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในการตรวจติดตามทางไกลทั้งในการโทรศัพท์ติดตามโดยพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ หรือการใช้ระบบตรวจติดตามอัตโนมัติ โดยศึกษาเกี่ยวกับการแนวทางการจัดตั้งโครงการ รูปแบบการดำเนินงานในการคัดเลือกและการดูแลผู้ป่วย การประสานงานกับการดูแลโดยวิธีอื่นๆ และการประเมินประสิทธิภาพในการดำเนินการรวมถึงแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา การดำเนินงานในช่วงนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นรูปแบบที่ยังไม่มีการศึกษาและปฏิบัติในประเทศไทย 4th -7th month to study telemonitoring system for HF patient in the aspect of system establishment, patient selection and processing, interaction with other modalities, assessment and quality control เดือนที่ 8-9 ศึกษาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในการดูแลรักษาที่บ้าน โดยศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินงานในการคัดเลือกและการดูแลผู้ป่วย การประสานงานกับการดูแลโดยวิธีอื่นๆ เพื่อให้มีความเข้าใจในรูปแบบหลักของโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวมากยิ่งขึ้น 8th -9th month to study Home health care model for HF patient by emphasizing on patient selection and processing, interaction with other modalities, assessment and quality control เดือนที่ 10-12 ศึกษาเพิ่มเติมในประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอันได้แก่ การดูแลรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวแบบผู้ป่วยใน การดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายที่จะต้องให้การรักษาร่วมกับศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก และการดูแลทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ รวมถึงการเขียนรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างครบวงจร 10th -12th month to acquire more knowledge related to HF care including in-patient management, End-stage HF and to summarize the project outcome นอกจากนี้ตลอดช่วงเวลาที่ดำเนินโครงการอยู่ที่ต่างประเทศ จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยรวมถึงเข้าร่วมในกระบวนการทำวิจัยหากมีโอกาส (วัตถุประสงค์ที่ 4) Participation in other academic activities and research projects are …. ผลที่คาดว่าจะได้รับ และแผนการดำเนินงานในอนาคต แผนการดำเนินงานหลังการรับทุน Post Scholarship plan 1. แผนการระยะสั้น (1- 6 years after scholarship) Short-term plan (1- 6 years after scholarship) 1.1) นำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวที่ได้ไปศึกษา มาเผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจเมื่อมีโอกาส และนำมาปรับใช้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปทำงานขณะใช้ทุน เช่น โรงพยาบาลศูนย์ หรือ โรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว 1.1) to contribute knowledge and experience in HFDMP and HF care to thai society when applicable 1.2) ศึกษาต่อในสาขาอายุรศาสตร์และสาขาต่อยอดอายุรศาสตร์โรคหัวใจ เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจล้มเหลว และฝึกการปฏิบัติในฐานะผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 1.2) to study in the residency program in internal medicine and fellowship program in Cardiology 1.3) วางแผนในการดำเนินโครงการตรวจติดตามทางไกลในประเทศไทยโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการไปดำเนินโครงการในต่างประเทศ รวมถึงการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการตรวจติดตามทางไกลเพื่อวิเคราะห์ว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยหรือไม่ 1.3) to initiate the pilot project for HF telemonitoring for assessment of cost-effectiveness for Thai health care system 2. แผนการระยะยาว (ตั้งแต่ 7 ปีหลังได้รับทุน) Long-term plan (7 years after scholarship) 2.1) to study in the fellowship program in Heart failure and Heart transplantation 2.2) ผลักดันให้เกิดการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว โดยประยุกต์รูปแบบการตรวจติดตามทางไกลและรูปแบบการดำเนินโครงการบริหารจัดการที่ได้จากการไปดำเนินโครงการให้เข้ากับรูปแบบโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยให้มีความครบวงจรยิ่งขึ้น 2.2) to encourage the development of HF care system in Thailand 2.3) ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ความรู้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในทุกด้าน ทั้งด้านองค์ความรู้ทางการแพทย์ และการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ 2.3) to research on HFDMP in Thailand context and novel HF care 2.4) ส่งเสริมการประสานงานที่ดีระหว่างผู้ที่มีความสนใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทย ร่วมกับการสร้างความร่วมมือที่ดีกับสถาบันในต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ 2.4) to foster the strong relationship between Thailand and international society in HFDMP and HF care ผลที่คาดว่าจะได้รับ Scholarship outcomes ผลที่คาดว่าจะได้รับต่อตัวเอง Benefits toward oneself 1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศที่พัฒนาแล้ว และพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวทุกระยะ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวและการวางแผนโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวในอนาคต I will acquire the knowledge and experience from the well-known institute in HFDMP which will be strong foundation for future studies, research and health care development. The scholarship will support my future training and research. 2. พัฒนาทักษะและเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ และเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว 2. 3. ช่วยสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศสำหรับการศึกษาและวิจัยต่อไปในอนาคต ผลที่คาดว่าจะได้รับต่อการสาธารณสุขของประเทศไทย Benefits toward Thailand’s health care system 1. ความรู้ที่ได้จากการศึกษาในต่างประเทศจะถูกนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับระบบสาธารณสุขของประเทศไทย โดยเริ่มจากมีการนำเอาการตรวจติดตามทางไกลสำหรับผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมาประยุกต์ใช้จริงในประเทศไทย รวมถึงมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความเหมาะสม ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาให้เกิดโครงการบริหารจัดการภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างครบวงจรในประเทศไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1. The knowledge and experience acquired from the scholarship will be used to improved Thailand’s health care system especially the HFDMP by introducing the HF telemonitoring into general practice and developing the comprehensive HFDMP system to enhance HF patient’s quality of life. 2. ช่วยสร้างความตระหนักในความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวในประเทศไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ที่มากขึ้น รวมไปถึงการพัฒนารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพในประเทศไทยต่อไป 2. The scholarship outcome will raise awareness about HF care system in Thailand that will trigger further research and new modalities of HF care in Thailand
Posted on: Tue, 16 Jul 2013 11:45:36 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015