Burst : - TopicsExpress



          

Burst : ระเบิดแตกลั่น เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด แวบหนึ่ง ในคลื่นรังสีวิทยุ (Solar radio radiation) ทั่วไปจะเกิดขึ้นช่วงเดียวกับ การเกิดลุกจ้า (Solar flare) บนดวงอาทิตย์ หรือบนดาว (Star) แสดงการเปล่งพลังงานของ อีเล็คตรอน (Electrons) ศักยภาพการเกิด จะมีความใหญ่โต (มากกว่า 1025J) ของพลังงานแม่เหล็ก ปรากฎการณ์ระเบิดแตกลั่น (Burst) ตรวจวัดขนาดความถี่คลื่น (Wavelengths) พบว่ามีลักษณะ เฉพาะแต่ละประเภทขึ้น อยู่กับเวลาความถี่ของคลื่น (Time-frequency) Type I Burst (Noise storms) ประเภท อายุยาวนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน เป็นชนิดแหล่งคลื่นวิทยุแผ่รังสี (Radio emission) มีความสว่างจ้า อุณหภูมิ มากกว่า 10 พันล้าน K ขณะเกิดมีเสียงอึกทึกดังไปทั่ว มีขนาดใหญ่โต (Large-scale) ลักษณะเป็นวงขมวด (Loops) ของอีเล็คตรอน กว้างไกลไปบนดวงอาทิตย์ แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์ การลุกจ้า (Solar flares) Type II Burst หรือประเภท Meter-wavelength type สามารถสังเกตได้จากคลื่นความถี่ ระหว่าง 0.1-1000 MHz แสดงกระแสต่ำของความถี่ ช่วง 1 MHz ต่อ วินาที และอาจ ไปถึง 1,000,000 MHz ได้ เป็นเหตุก่อให้เกิด คลื่นไหวสะท้าน (Shock waves) Type III Burst ส่วนใหญ่เกิดร่วมกับ การลุกจ้า (Solar flares) สามารถสังเกตได้ จากคลื่นความถี่ ระหว่าง 0.1-1000 MHz ลักษณะกระแส จะขึ้นสูงอย่างรวดเร็วแล้วลดต่ำลง ในช่วง 100 MHz มีคุณสมบัติเป็นลำ (Beams) ของอีเล็คตรอนเหวี่ยงฟาดไปมา ก่อพลังงาน 10-100 KeV มีความเร็วสูงมาก (ราวครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง) หรือถึง 150,000 ก.ม.ต่อวินาที Type IV Burst ลักษณะเป็นคลื่นแถบกว้าง (Broad-band) ไม่มีการรั่วไหลของรังสี นับชั่วโมง หลังจากถูกกระตุ้น ให้เกิดจาก ปรากฎการณ์ การลุกจ้า (Solar flares) ในแต่ละครั้ง เพราะการถูกบังคับให้รังสีวิ่งเป็นวง ไปในทิศทางเดียวกัน มีคุณสมบัติ การเร่ง อีเล็คตรอน (Synchrotron) และแผ่พลังงานอีเล็คตรอนออกมา แต่ถูกควบคุมอยู่ภายใน กลุ่มหมอกแม่เหล็ก (Magnetic clouds) วิ่งออกสู่อวกาศเป็นแนว ตั้งตรงด้วยความสูง นับแสนกิโลเมตรต่อวินาที Centimeter Burst เกิดแรงกระตุ้นจากเหตุ ไม่รั่วไหลของรังสีที่คลื่นความถี่ระดับ Centimeter wavelength ภายในไม่กี่นาที เป็นบ่อเกิด การแตกลั่นชนิดช่วงคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Burst) มีคุณสมบัติทรงตัว ต่อการเร่งอีเล็คตรอน (Gyrosynchrotron) ด้วยความเร็วสูง (Hight-speed) สร้างอัตราเร่ง พลังงานอีเล็คตรอนระหว่าง 100-1,000 keV. โดยจะอยู่ที่บริเวณยอด เกลียวขมวดของ โคโลน่า (Coronal loops) Millisecond spikes เกิดคลื่นวิทยุจากปรากฎการณ์ การลุกจ้า (Radio flares) สามารถรวมยอดแหลม (Spikes) นับพันได้อย่างแท้จริงใช้เวลา เกิดแต่ละยอดเพียงเสี้ยววินาที มีขนาดความสูงน้อยกว่า 10,000 กม. มีความสว่างไสวของอุณหภูมิ สูง 1 พันล้าน k โดย เกิดการปะติดปะต่อ จากกลไกของรังสี U-Type Burst มีคุณสมบัติจะเพิ่มคลื่นความถี่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นลดลงและเพิ่มขึ้น ของการเคลื่อนไหวอีเล็คตรอนยาว นานใกล้กับ เส้นสนามแม่เหล็ก (Magnetic field lines)
Posted on: Sun, 29 Sep 2013 17:52:48 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015