ก้าวข้ามศตวรรษที่ 21 - TopicsExpress



          

ก้าวข้ามศตวรรษที่ 21 ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อ ผู้เขียน : Barry Duncan และ Carol Areus ก่อนอื่นเราคงต้องยอมรับความจริงที่ว่า ขณะนี้มีกระแสการถกเถียงเรื่องสื่อใหม่ (new media) กันในสังคม นั่นคือการที่กระบวนทัศน์ของแบบวิธีการสื่อสารได้เปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิทัลซึ่งเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสหลายด้านนั้น ทำให้เราถกเถียงกันด้วยความตื่นตกใจเหมือนที่ Marshall McLuhan ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสื่อชาวแคนาดาเคยพูดชวนให้คิดไว้ว่า “มนุษย์สร้างเครื่องมือขึ้นมาใช้งาน แต่หลังจากนั้นเครื่องมือสร้างมนุษย์" เทคโนโลยีที่มีเทคโนโลยีหลายด้านมาบรรจบกันกำลังทำให้การอ่านและการรู้หนังสือตามคำจำกัดความแบบเดิมที่มีกำเนิดมาจากโลกของการพิมพ์ที่ดำเนินไปเป็นลำดับแบบเส้นตรงนั้นต้องปรับเปลี่ยนมาสู่นิยามใหม่ ปรากฏการณ์นี้ทำให้พวกประเพณีนิยมตกใจเช่นเดียวกับเมื่อแรกที่มีการพิมพ์หนังสือขึ้นในโลก ในปัจจุบันพวกประเพณีนิยมมีความหวาดหวั่นเหมือนกับ Mark Bauerlein (ผู้เขียนหนังสือ The Dumbest Generation) ในข้อที่ว่า "ยุคดิจิทัลทำให้เยาวชนอเมริกันมึนชาและทำให้อนาคตของเราตกอยู่ในอันตราย" เพราะเด็กจะหมกมุ่นอยู่ในโลกที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเพื่อคอยติดตามว่าใครจะทำอะไรในทุกย่างก้าวได้อย่างง่ายดาย แต่แทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาในสังคม Jon Cowans ได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง "โรงเรียนกับสมองที่สามารถอ่านหนังสือ" (Education Forum, ฉบับฤดูใบไม้ร่วงปี 2008) แสดงความวิตกว่าเด็กๆกำลังสูญเสียความสามารถในการอ่านตัวหนังสือในสิ่งพิมพ์ด้วยความเข้าใจ ซึ้งในความหมาย และด้วยสมาธิ เด็กแห่งศตวรรษที่ 21 อาจจะเป็นเหตุแห่งความไม่สบายใจของนักการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 20 แม้กระนั้นผู้มีวิสัยทัศน์อย่างเช่น Mare Prensky (ผู้เขียนหนังสือ Don’t Bother Me Mom, I’m Learning) ก็กล้าพอที่จะขนานนามเด็กแห่งศตวรรษที่ 21 ว่า “ ดิจิทัลชน ” โดยเขาชี้ว่า: ดิจิทัลชน กำลังปรับหรือกำลังโปรแกรมสมองของตนให้เข้ากับความเร็ว ความสามารถโต้ตอบได้ และองค์ประกอบอื่นๆที่มีใน (วีดีโอ) เกมต่างๆ… เด็กที่โตมาหน้าจอคอมพิวเตอร์ -- คิดไม่เหมือนผู้ใหญ่ จิตใจของพวกเขาพัฒนามาให้ทำงานได้หลายมิติและชอบกระโดดโลดเต้น ดูประหนึ่งว่าพวกเขามีโครงสร้างในการรู้คิดในลักษณะของเส้นขนาน ไม่ใช่โครงสร้างที่เป็นลำดับ (Digital Natives, Digital Immigrants) เด็กยุค iPhone, iPod, Blackberry, MSN, Facebook, Twitter และ Youtube เป็นนักอ่านที่อ่านทุกอย่างและเป็นนักสื่อสารที่ไม่เคยหมดเรื่องที่จะสื่อ แต่เป็นไปในลักษณะที่ต่างโดยสิ้นเชิงกับที่เคยเป็นมาในอดีต ถ้าถามว่าเด็กอ่านอะไรและสร้างผลงานอะไร คำตอบก็คือ เว็บไซต์, อีเมล์, การส่งข้อความ, นิยายออนไลน์ที่ผู้อ่านติดงอมแงม, การหากลวิธีโกงวีดีโอเกม, ข่าวออนไลน์การคุยทาง MSN และเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคม ไม่นับถึง Twilight และนวนิยายชุด Harry Potter ซึ่งศาสตราจารย์ Francessca Coppa ตั้งข้อสังเกตว่า “...ไม่ได้เป็นเพียงหนังสือชุดหนึ่งจากปลายปากกาของนักเขียนคนหนึ่งอีกต่อไป แต่เป็นจักรวาลแห่งการสร้างสรรค์ทั้งจักรวาลที่คนเป็นล้านๆนำไปเขียนถึง, อ่าน, ถกเถียง, รายงานเป็นข่าว, วิเคราะห์, วิพากษ์วิจารณ์, เฉลิมฉลอง, เป็นประเด็นสำหรับการตลาด, นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์, แปลเป็นงานภาษาต่างๆ ใช้สอน, เป็นเนื้อหาสำหรับการสร้างทฤษฎี และนำไปแสดงเป็นละครเวที” (Writing Bodies in Space) รายงานที่เผยแพร่เมื่อปี 2005 ของ Pew Internet & American Life เรื่อง “วัยรุ่นผู้สร้างสรรค์ เนื้อหาสาระกับผู้บริโภค” ชี้ว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของวัยรุ่นทั้งหมด (ในอเมริกา) เคยสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับสื่อมาแล้วและประมาณหนึ่งในสามของวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีการแบ่งปันและร่วมกันใช้เนื้อหาที่พวกเขาผลิตขึ้น
Posted on: Wed, 24 Jul 2013 05:25:40 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015