ชื่อกระทู้ : - TopicsExpress



          

ชื่อกระทู้ : คัดค้านการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่นที่ในชุมชน ชื่อผู้เขียน : ประชาชนตำบลป่าแดด วันเวลาที่เขียน : 03 พ.ย. 53 จำนวนผู้เยี่ยมชม : 4348 คน IP : 1.47.xxxx.xxxxxx ข้อความ : เรียน นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลป่าแดด เรื่อง ขอให้พิจารณาการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ทรูมูฟในชุมชน หมู่ 7(ติดตั้งใหม่) เนื่องจากว่ามีประกาศขอติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ทรูมูฟ บริเวณบ้านของอดีตผู้ใหญ่บ้าน นายทองอินทร์ ทิศสุรินทร์ หมู่ที่ 7 ตำบลป่าแดด ซึ่งเป็นใจกลางของชุมชนมีบ้านเรือนของประชาชนหนาแน่นประชาชนระแวกใก้ล้เคียงเห็นว่าไม่เหมาะสมจึงอยากให้ นายกเทศมนตรีได้พิจารณา ถึ งผลกระทบต่อชุมชน ก่อนที่จะมีการอนุมัติการติดตั้งเสาดังกล่าว ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้เตรียมการล่ารายชื่อเพื่อประกอบการคัดค้านในการอนุมัติและติดตั้งเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอให้ทางเทศบาลมีประกาศชี้แจงผลกระทบและความต้องการของประชาชนให้ทางบริษัททรูมูฟและเจ้าของที่ดินที่ที่จะให้เช่าติดตั้งเสาดังกล่าวด้วยว่าอย่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว จึงเรียนมาเพื่อทราบ ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มา : Bangkokbiznews เปิดงานวิจัยอันตรายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบุตัวการใหญ่ "เสามือถือ" ข้อมูลประกอบการจัดทำข้อวินิจฉัยกรณี / “ความเป็นไปได้ในผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่” โดย สุเมธวงศ์พานิชเลิศ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) 1. ในสังคมปัจจุบัน คลื่นวิทยุ (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงได้ยากไม่ว่าประเทศใดในโลก ขณะเดียวกัน ผลการศึกษาวิจัยโดยนักวิทยาศาสตร์ในโลกนับจากช่วงทศวรรษ 1980 ในด้านความเสี่ยงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อสุขภาพของมนุษย์ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน โดยพบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ตั้งแต่ 0 Hz ถึง 300 GHz) สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ได้ หากรับคลื่น (exposure) แรงเกินควร และ/หรือเป็นเวลานานเกินไป จึงเป็นที่มาขององค์กรที่เรียกว่า The International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection (หรือ ICNIRP) เพื่อสอดส่องดูแลประเด็นดังกล่าว โดยภารกิจสำคัญส่วนหนึ่ง คือ การกำหนดเกณฑ์ปลอดภัย หรือ ขีดจำกัด (ค่าสูงสุด) การแผ่คลื่นในย่านความถี่ต่างๆ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ตามประกาศ กทช. เรื่อง ”หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์” ตั้งแต่ 4 พฤษภาคม 2550 2. ทั้งนี้ ขีดจำกัดคลื่นความถี่ต่ำๆ (ELF) ที่รับว่าไม่เป็นภัยต่อมนุษย์ ได้แก่ ความแรงสนามแม่เหล็กไม่เกินประมาณ 2 mG (หรือ 0.2 µT) ซึ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไปเป็นแหล่งแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในระดับต่างๆ (ณบริเวณตัวเครื่อง) คือ: - โทรศัพท์ไร้สาย (Cordless Phone) ประมาณ 28 mG - โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) ประมาณ 43 mG - เครื่องรับโทรทัศน์/เครื่องคอมพิวเตอร์ ประมาณ 56 mG - เตาไมโครเวฟ ประมาณ 2,000 mG ฯลฯ (รวบรวมจาก National Council on Radiation Protection, California Department of Health เป็นต้น) ฉะนั้นประชาชนและผู้บริโภคจึงควรรับทราบ และไม่ควรอยู่ใกล้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านจนเกินไปโดยไม่จำเป็น 3. ผลกระทบจากการดูดซึมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เห็นได้ว่าไม่จำกัดแค่คลื่นความถี่สูง (RF) อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคลื่นความถี่ต่ำๆ ELF (อย่างกระแสไฟฟ้า 50 Hz) ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเชิงระบาดวิทยา (Epidemiological) ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยมีทั้งฝ่ายที่พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แม้ในระดับต่ำๆมีผลกระทบจริง และฝ่ายที่สรุปว่าผลการศึกษายังไม่ชัดเจนพอหรือไม่มีเลย 4. อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ต่างเห็นตรงกันว่า หากเด็กได้รับคลื่นแม่เหล็กเกินกว่า 0.4 µT (4 mG) เป็นเวลานานๆมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) ถึง 2 เท่าตัว The International Agency for Research on Cancers (IARC) ได้เห็นพ้องในข้อสรุปว่า “คลื่นแม่เหล็กในย่านความถี่ต่ำ (อาทิ ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าตามบ้าน) อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง (carcinogenic agent) ชนิดหนึ่ง” รวมทั้งในเอกสาร Electrosmog in the environment (SAEFL 2005) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนโดย Swiss Agency for the Environment, Forest and Landscape รัฐบาลประเทศสวิสเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นมลพิษทางสิ่งแวดล้อมชนิดหนึ่ง ความเห็นข้างต้นอยู่ในทิศทางเดียวกันกับข้อสรุปงานวิจัยโดย Childhood Cancer Research Group, University of Oxford ในปี 2005 ความว่า “เด็กกลุ่มที่เกิดจากมารดาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับสายไฟฟ้าแรงสูงภายในระยะห่างไม่เกิน 200 เมตร มีอัตราความเสี่ยงเป็น leukemia สูงขึ้นร้อยละ 70 เทียบกับกลุ่มที่มารดาอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่า 600 เมตรขึ้นไป” (Draper G et al, 2005) 5. Professor Dr. Robert O. Becker แห่ง State University of New York, Upstate Medical Center และ Louisiana State University Medical Center ผู้ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Nobel Prize สาขาแพทย์ศาสตร์ ถึง 2 ครั้งเนื่องจากผลงานวิจัยด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับการแพทย์ ได้สรุปถึงกระทบต่อสุขภาพของคลื่นความถี่ต่ำมาก (ELF) ไว้ว่าถึงแม้คลื่นจะมีความเข้มในระดับต่ำมากๆ แต่หากได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก็สามารถกระทบต่อระบบควบคุม (DC Control System) ในสมองมนุษย์ (Becker, RO, 1990;2004) ทำให้เกิดอาการต่างๆได้ เช่น ปวดหัว หน้ามืด คลื่นเxxxยน สับสน xxxเพลีย ความจำเสื่อม ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ชักกระตุก ฯลฯ 6. ภายหลังจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยคลื่นวิทยุ RF ในย่านความถี่ไมโครเวฟตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980 จนเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมากในเวลาถัดมาทำให้เกิดประเด็นผลกระทบจากคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อสุขภาพมนุษย์จนกลายเป็นที่มาของงานศึกษาวิจัยมากมายตามมา การร้องเรียนปัญหาด้านสุขภาพจากผู้บริโภค และการศึกษาวิจัยส่วนมากจะพุ่งเป้าที่ประเด็นการใช้โทรศัพท์ฯในช่วงแรกๆ แต่ในเวลาต่อมาการร้องเรียนเกือบทั้งสิ้นจะมาจากผู้พักอาศัยอยู่ใกล้กับเสาแผ่สัญญาณ(หรือเสาอากาศ)บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone Antenna, หรือ Mast, หรือ Base Station) ซึ่งผู้อยู่อาศัยใกล้เสาฯไม่อยู่ในวิสัยที่จะควบคุม หรือป้องกันตัวเองได้จึงแตกต่างกับประเด็นการใช้ที่แต่ละผู้ใช้สามารถจะเลือกใช้อย่างไรและเพียงใดได้ 7. ดังนั้น มาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับกรณีบุหรี่ กล่าวคือ มาตรการสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ฯ (ผู้สูบบุหรี่) กลุ่มหนึ่ง และสำหรับผู้อยู่ใกล้เสาอากาศ (ผู้สูบบุหรี่มือสอง) อีกกลุ่มหนึ่ง 8. ผลกระทบต่อสุขภาพจากคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ นอกเหนือจากอาการที่มาจากคลื่นความถี่ต่ำ (ELF) ต่างๆดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังรวมไปถึงอาการที่สำคัญๆ ดังเช่น - Brain tumors (เนื้องอกในสมอง) - Acoustic neuroma (มะเร็งประสาทใกล้บริเวณหู) - Parkinson - Alzheimer - Cancers (มะเร็งต่างๆ) ฯลฯ ตัวอย่างเช่น จากเอกสารที่สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)งานศึกษาวิจัยในต่างประเทศพบว่า 1) ประชากร 530 คนที่อยู่ใกล้เสาสัญญาณโทรศัพท์ฯ ในรัศมี 400 เมตร มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น headaches, sleep disruption, irritability, depression, memory loss, nausea, visual disruption (Santini et al, 2002) 2) ผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดภายใต้และตรงกันข้ามกับบริเวณเสาส่งสัญญาณที่ตั้งบนหลังคาอาคารชุดมีอาการ Headaches, memory changes, dizziness, tremors, depression, blurred vision, sleep disturbance, irritability, lack of concentration ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Santini ข้างต้น (Abel-Rassoul G et al, 2007) 9. นอกจากนี้แล้ว ยังมีงานวิจัยในทำนองเดียวกันอีกจำนวนมากที่สำคัญๆอาทิ 1) Eger และพวก (2004) พบว่ากลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้กับเสาสัญญาณฯ ภายในระยะ 400 เมตร เป็นเวลา 5 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงขึ้น 3 เท่าตัว หรือของ Wolf และ Wolf (2004) ก็เช่นกันได้พบความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัวในกลุ่มผู้อาศัยใกล้เสาสัญญาณฯ ระหว่าง 3 ถึง 7 ปี (Anslow, M 2008) 2) Ecolog Report (2000) ซึ่งบริษัท T-Mobile แห่ง Germany เป็นผู้ให้ทุนสนับสนุนในการรวบรวมวิเคราะห์ผลงานวิจัยในด้านนี้กว่า 220 ชิ้นพบหลักฐาน (evidence) ผลกระทบต่างๆ เช่น ต่อระบบประสาทส่วนกลาง การริเริ่ม (Initiating) และการส่งเสริม (Promoting) การโตของเซลล์มะเร็งต่อการทำหน้าที่ของสมองและที่เกี่ยวกับระบบความจำ ฯลฯ พร้อมกับเรียกร้องให้ ICNIRP ทบทวนเพื่อลดระดับเกณฑ์ความปลอดภัยในการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ต่ำลง 1,000 เท่า (หรือในระดับ 0.1% ของเกณฑ์ที่แนะนำ) 10. เป็นที่สังเกตในวงการนักวิทยาศาสตร์ว่า อาการสุขภาวะต่างๆข้างต้นเกิดขึ้นทั้งๆที่อุปกรณ์เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือระดับการแผ่คลื่นจากเสาส่งสัญญาณฯ ล้วนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ ICNIRP ประกาศแนะนำโดยเป็นเกณฑ์ซึ่งกำหนดบนพื้นฐานที่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อมนุษย์มีอุณหภูมีสูงขึ้นจากการดูดซึมพลังงานคลื่นฯ (กล่าวคือเป็นผลกระทบในเชิงความร้อน-Thermal effects ในทำนองเดียวกันกับที่เตาไมโครเวฟสามารถอุ่นอาหาร) นักวิทยาศาสตร์จึงได้พุ่งประเด็นการวิจัยเสียใหม่ยังผลกระทบที่ไม่ใช่เชิงความร้อน (Non-thermal effects) หากแต่เป็นผลกระทบเชิงชีววิทยาว่ามีอะไรและอย่างไรบ้างจากการรับคลื่นความถี่สูงในระดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ ICNIRP มาก โดยมีชิ้นงานสำคัญๆ เช่น 1) The REFLEX report (2004) ซึ่งเป็นโครงการ 4 ปี มูลค่า 3.2 ล้านยูโรโดยกลุ่มผู้วิจัย 12 กลุ่มใน 7 ประเทศสหภาพยุโรป (EU) ทำการศึกษาประเด็นผลกระทบจากคลื่นฯ แรงต่ำๆในระดับ 0.2-1.3 W/kg ต่อตัวอย่างเซลล์มนุษย์ในหลอดแก้วทดลอง (in-vitro) เทียบกับเกณฑ์ 2 W/kg ของ ICNIRP/WHO ได้พบความเสียหายของโครโมโซม (Chromosome damage หรือ DNA breaks คล้ายกับความเสียหายจากการฉายแสง X-ray ปอด 1,600 ครั้ง)อันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งและโรคอื่นๆตามมา หมายเหตุ : REFLEX ย่อมาจาก “Risk Evaluation of Potential Environmental Hazards from Low Energy Electromagnetic Field (EMF) Exposure using Sensitive in-vitro Methods” ซึ่งใน“รายงานสรุปผลการดำเนินการ” โดยคณะกรรมการร่างมาตราฐานความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต่อสุขภาพผู้ใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ พฤษภาคม 2548 โดย กทช.ได้อ้างอิงถึงอีกทั้งข้อสรุปจาก REFLEX ยังสอดคล้องกับการศึกษาโดยใช้หนูทดลองก่อนหน้านั้น อาทิโดย Lai and Singh (2004), Svedenstal et al (1999) เป็นต้น 2) Andrew Goldsworthy (Goldsworthy A, 2007) ซึ่งเป็น Honorary Lecturer แห่ง Imperial College London ในประเทศอังกฤษ ได้สนับสนุนข้อสรุปเกี่ยวกับ “Non-thermal Effects จากการดูดซึมคลื่นฯ ความแรงต่ำว่าสามารถสร้างความเสียหายต่อ DNA มนุษย์ได้พร้อมกับอธิบายถึงสาเหตุที่มา (Mechanism) ว่าเกิดจากการไหลออกของ Calcium ions จากเซลล์ (Calcium ion Efflux) ภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจนเกิดการรั่วซึมของ digestive enzymes เข้าสู่เซลล์ดังกล่าว แล้วจึงย่อย (digest) เซลล์นั้นๆขึ้นจนเกิดความบกพร่องตามมา ฯลฯ ข.ความตื่นตัวของผู้บริโภคในต่างประเทศ 11. ปัจจุบันงานวิจัยและข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่อาจสรุปได้โดยปราศจากข้อโต้แย้งในความสัมพันธ์ระหว่างการก่อเกิดมะเร็งกับการดูดซึมคลื่นความถี่สูงอย่างเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ (WiFi หรือ WiMAX เป็นต้น) แม้ในระดับการแผ่คลื่นกำลังต่ำๆ แต่เป็นระยะเวลานานทั้งนี้เหตุผลหนึ่งอาจเนื่องจากการเกิดมะเร็งเนื้อร้าย จะโดยเหตุปัจจัยใดก็ตามโดยมากต้องใช้เวลานับ 10-15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น ดังเห็นได้จากประสบการณ์รังสีปรมณูที่นครนากาซากิหรือฮิโรชิมา หรือจากการสูบบุหรี่ หรือ การดูดซึมสาร asbestos เหล่านี้เป็นต้น 12. อย่างไรก็ดีผลงานวิจัยที่แสดงถึงผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้อยู่อาศัยใกล้กับเสาโทรศัพท์ฯ (โดยเฉพาะภายในระยะ 300-400 เมตร) ที่ไม่ใช่โรคมะเร็งก็มีการพบเห็นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งในหลายๆ กรณีที่หลังจากมีการย้ายเสาฯหรือย้ายที่พัก/ทำงานแล้ว ผู้ถูกกระทบมีสุขภาวะดีขึ้นจึงน่าเชื่อได้ว่าผลกระทบต่อสุขภาวะนั้นๆเป็นจริงดังเห็นได้จากตัวอย่างเช่น กรณีหมู่บ้านชุมชนเล็กๆ Wishaw ในประเทศอังกฤษประกอบด้วย 18 ครัวเรือนที่อยู่ใกล้เสาโทรศัพท์ฯ ในระยะ 500 เมตรโดยหลังจากการเปิดบริการได้ราว 7 ปี (ค.ศ 2001) ปรากฎว่าสุขภาวะของผู้ที่อยู่อาศัยรวมถึงปศุสัตว์ (เช่น ม้า) แย่ลงมากโดยมีทั้งอาการ headaches, dizziness, Sleep problems, low immune system จนถึงการเจ็บป่วยเป็นมะเร็ง ได้แก่ breast cancer (รวม 5 ราย) prostate, bladder และ lung cancer (อย่างละ 1 ราย), pre- cancer cervical cells (3 ราย), motor neuron disease รวมทั้ง spine tumour ที่ต้องรับการผ่าตัด (1 ราย) แต่ภายหลังจากที่บริษัท T-Mobile ได้ถอนเสาออกไปในช่วงปลายปี 2003 สุขภาวะในชุมชนเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ปัญหาการหลับนอน ปวดศรีษะและวิงเวียนศรีษะต่างได้ลดหายไป
Posted on: Mon, 02 Sep 2013 03:36:03 +0000

Trending Topics



eEL Amadi, known as Joe El is a
I have to say Im EXTREMELY disappointed that my Leukemia and
Black Friday # Black Tilting Wall Mount Bracket for LG 37LC2D LCD
Funny how the good ones go too soon, but the good Lord knows the

Recently Viewed Topics




© 2015