ตอบโจทย์ - TopicsExpress



          

ตอบโจทย์ แผ่นโซลาร์แบบไหนประสิทธิภาพสูงสุด................... +การทำทรานซิสเตอร์จากสารกึ่งตัวนำซิลิคอน ( ทรานซิสเตอร์ แปลว่า ตัวที่นำมาต่อกัน หรือมาจอดกัน) โดยการนำซิลิคอนบริสุทธิ์ 99.9999 % ซึ่งได้จากทรายแก้ว หรือหินเขี้ยวหนุมาน หรือแกลบเผาขาว มาสกัดให้บริสุทธิ์ แล้วปั่นผลึกซิลิคอนในเตาหลอมออกมาเป็นแท่งกลม รูปทรงกระบอก แล้วตัดเป็นแว่นบาง ๆที่ความหนา 250 ไมครอน หรือประมาณเท่ากับ เส้นผม .. พร้อมกับการโดปสาร หรือเรียกว่าเจือสารประเภท ฟอสพอรัส กับโบรอน ตามขั้นตอน ซึ่งความจริงเรื่องนี้มาจากความบังเอิญที่ห้องปฏิบัติการสารกึ่งตัวนำที่สหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์ที่ทำทรานซิสเตอร์ยังไม่ได้ปิดฝากระป๋อง บังเอิญวัดไฟ แล้วพบว่า มีแรงดันไฟ ประมาณ 0.5 โวลท์ เมื่อรอยต่อทรานซิสเตอร์ถูกแสงแดด ...เมื่อ ประมาณ 50 ปิมาแล้ว ก็เลยเป็นที่มาของโซลาร์เซลล์ ตั้งแต่บัดนั้น ซึ่งความจริงการทำโซลาร์เซลล์ก็คือการทำทรานซิสเตอร์แผ่นแบนนั่นเอง +โซลาร์เซลล์แบบแรกที่ทำก็จะเป็นรูปแบบของซิลิคอนผลึกเดี่ยว ที่ได้จากการตัดแท่งซิลิคอนที่ปั่นจากผลึกซิลิคอนบริสุทธิ์รูปทรงกระบอกให้เป็นแผ่นแว่นกลมบาง ติดตาข่ายลวดเงิน หรืออลูมิเนียม ที่ด้านบนรับแสง เพื่อเป็นตาข่ายดักอีเลคตรอนที่เกิดขึ้นออกมาเมื่อหน้าแผ่นด้านที่เคลือบฟอสฟอรัสหลังจากถูกแสงแดดตกกระทบ ซึ่งจะป็นด้านขั้วลบของแผ่น ส่วนด้านล่างจะเป็นส่วนที่เคลือบโบรอน จะทำหน้าที่เป็นขั้วบวกของแผ่น ทั้งหมดจะมีแรงดันไฟฟ้าระหว่างขั้วบวก ลบเท่ากับ 0.5 โวลท์ และเมื่อนำแต่ละแว่นกลมที่คล้ายขนมนังเล็ด มาวางบนแผ่นกระจกเรียบ คล้ายกับการตากนังเล็ดบนแผ่นกระด้งสี่เหลี่ยม แล้วต่อขั้วอนุกรมบวกไปลบระหว่างแผ่นถัดไป ก็จะได้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงมากขึ้นไปจนถึง 18 โวลท์ ดีซี ซึ่งจะเป็นจุดที่ลงตัวพอดีกับการชาร์จแบตเตอรี่ 12 โวลท์ 1 ลูก เนื่องจากแผ่นแว่นกลม กินเนื้อที่บนบอร์ดมาก จึงได้มีการตัดขอบออก แรก ๆ ก็ตัดเล็กน้อยเพราะอาจจะเสียดายของ จึงทำแค่ขลิบออกสี่มุม ทำให้ได้แผ่นโซลาร์ที่เวเฟอร์เป็นรูปวงกลมตัดขอบสี่มุม ระยะหลังคนกล้ามากขึ้น เพราะต้องการประหยัดพื้นที่ จึงยอมตัดขอบให้เหลือเป็นรูปสี่เหลี่ยมพอดี ที่สามารถจัดวางได้พอดีบนแผ่นบอร์ด โดยที่ช่องว่างเหลือน้อยมาก ทำให้เก็บแดดได้ทุกพื้นที่บนบอร์ด ไม่เหลือที่ว่าง เรียกโซลาร์แบบนี้ว่าโมโนคริสตัลไลน์ หรือผลึกเดี่ยว +เศษซิลิคอนที่ตัดขอบออก ไม่รู้จะเอาไปทิ้งไหน ก็เลยนำไปหลอมใหม่ แต่หล่อออกมาเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเลย เพื่อให้ประหยัดพื้นที่ ทำเหมือนแตงโมญี่ปุ่น ที่ทำลูกแตงออกมาเป็นลูกสี่เหลี่ยม เพื่อสามารถนำไปบรรจุใส่กล่องสี่เหลี่ยมพอดี ง่ายต่อการขนส่ง ... พอเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ก็เลื่อยออกมาเป็นแผ่นแบนบางรูปสี่เหลี่ยม เช่นเดียวกันกับแบบแผ่นกลมผลึกเดี่ยวที่ปั่นผลึกซิลิคอนมาครั้งแรก เรียกแบบนี้ว่า โพลี่คริสตัลไลน์ หรือผลึกรวม ลักษณะจะเป็นสีฟ้า มีริ้วรอยผลึกวาว เป็นเศษเสี้ยวมองเห็นได้ชัดเจน แบบนี้จะมีรอยต่อระหว่างเวเฟอร์ ไม่สนิทเป็นเื้นื้อเดียวกัน เมื่อถูกแดดเผานานๆ จะร้าวภายในแบบมองไม่เห็น และประสิทธิภาพจะตกลงไปเรื่อย ๆ ข้อนี้ แนะนำมาจาก คุณอุดมเกียรติ อ่อนท้วม จากบริษัทไทยเอเย่นซี่โซลาร์เซลล์ +เนื่องจากการผลิตเวเฟอร์ทั้งแบบผลึกเดี่ยว โมโนคริสตัลไลน์ และแบบผลึกรวม โพลี่คริสตัลไลน์ ใช้วัตถุดิบมาก ต้นทุนการผลิตสูง เพราะต้องนำมาต่อทีละเวเฟอร์ จึงมีการพัฒนาโซลาร์เซลล์แบบ อะมอร์ฟัส หรือ ฟีล์มบาง ที่ใช้ชิลิคอนจากแก๊ส SiF6 หรือเรียกว่าแก๊สไซเรน ซึ่งเป็นแก๊สที่ใช้ทางการทหาร ในการผลิตโซลาร์เซลล์แบบอะมอร์ฟัส นี้ จะทำงานเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การเคลือบไอเงินบางเพื่อเป็นขั้วไฟฟ้า โปร่งแสง การพ่นเคลือบ ฟอสฟอรัส การพ่นเคลือบซิลิคอน การพ่นเคลือบโบรอน และการพ่นเคลือบเงินเป็นการต่อขั้วไฟฟ้า และในทุกขั้นตอนจะต้องใช้เลเซอร์ที่ควบคุมความลึกในการตัด มาใช้เพื่อการตัดเซลล์ เพื่อให้แต่ละเส้นยาวต่อกันภายในระดับไมโคร เป็นแบบอนุกรม ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีแรงดัน 1.2-1.5 โวลท์ การนำมาต่ออนุกรมเซลล์ 39 เซลล์ จะได้แรงดัน 60 โวลท์ ซึ่งมีคำตอบว่าทำไมต้อง 60 โวลท์ ในประเด็นถัดไป +มีการพัฒนาการทำแผ่นแบบอะมอร์ฟัส ให้เป็น 3 ชั้น เรียกว่า triple junction เพื่อรองรับแสงสามย่านความถี่สี คือ ย่านแดง ย่านเขียว และย่านย้ำเงิน เป็นการเก็บแสงแบบกล้องถ่ายรูปดิจิตอล รวมทั้งมีการนำมาเคลือบบนแผ่นสแตนเลสอ่อน บาง เรียกว่า flexible solar ซึ่งมีตัวอย่างสำหรับสอน ที่นำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกาของ UNISOLAR โดย บริษัท green zone เขาใหญ่ ปากช่อง ซึ่งปัจจุบันบริษัท UNISOLAR หยุดการผลิตไปแล้ว เนื่องจากสู้ราคาสินค้าจีนไม่ได้ แต่จะเห็นมีใช้แผ่น flex ในทางการทหาร หากเคยดูข่าวทหารอเมริกันในอิรัก ก็จะเห็นแผ่นแบบนี้ติดอยู่กับรถฮัมวี่ด้วย + คุณสมบัติที่สำคัญของแผ่นอะมอร์ฟัสแบบนี้คือ เมื่อถูกกระสุนปืนยิงทะลุ รุพรุน แผ่นก็ยังสามารถจ่ายไฟออกได้ เพราะเป็นเซลล์แบบต่อยาว มีขั้วไฟมากจุด ต่างจากแบบผึกที่มีจุดต่อเป็นเส้น ถ้าขาดหนึ่งจุดแล้ววงจรทั้งหมดก้จะขาดด้วย เพราะต่อกันแบบอนุกรม แต่แผ่นนี้ราคาวัตต์ยังสูงที่ 100 บาทต่อวัตต์ จึงยังไม่มีการใช้แพร่หลาย +โซลาร์เซลล์ทั้ง 4 แบบนี้ หากนำแบบที่เต็มพื้นที่ ซึ่งรุ่นตัดขอบเป็นสี่เหลี่ยมทั้งหมดขนาดพื้นที่ 1 ตารางเมตร มาวางบนแท่นทดสอบแสงแดดเทียม ทีความเข้มแสง 1000 วัตต์ฺ ต่อตารางเมตร อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะได้กำลังวัตต์ ไฟฟ้าออกมาดังนี้ 1. แบบโมโนคริสตัลไลน์ ขนาด 1 ตารางเมตร จะมีกำลังวัตต์จ่ายออกมา 150 วัตต์ 2. แบบโพลี่คริสตัลไลน์ ขนาด 1 ตารางเมตร จะมีกำลังวัตต์จ่ายออกมา 140-150 วัตต์ 3. แบบอะมอร์ฟัส ขนาด 1 ตารางเมตร จะมีกำลังวัตต์จ่ายออกมา 70-85 วัตต์ 4. แบบ triple junction ขนาด 1 ตารางเมตร จะมีกำลังวัตต์จ่ายออกมา 180 วัตต์ พอเห็นตัวเลขอย่างนี้แล้ว ก็จะมองว่า แบบโมโนคริสตัลไลน์ น่าจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด เพราะจ่ายกำลังวัตต์ออกได้สูงกว่า ว่าแล้วทุกคนก็แห่กันไปหาโซลาร์แบบโมโนคริสตัลไลน์ อย่าลืมว่า เวลาทดสอบแผ่นโซลาร์ในห้องแล๊บ จะใช้แสงแดดเทียมที่ 1000 วัตต์ ต่อตารางเมตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส แต่ในชีวิตจริงของบ้านเมืองเรา ผน 8 แดด 4 เดือน หรือบางที่ก็ ฝน 4 แดด 8 เดือน แล้่วเวลาที่แดดน้อย แดดร่ม ฝนตก วัดกันหรือไม่ คำตอบนี้ไม่ได้มีจากโรงงาน แต่เป็นคำตอบจากงานวิจัย หรือข้อมูลภาคสนาม สิ่งที่เราต้องการจากโซลาร์เซลล์ ไม่ว่าแบบใดก็ตามคือกำลังวัตต์หรือหน่วยไฟฟ้าที่ออกมาจากแผ่นได้ค่ารวมทั้งเดือน หรือทั้งปีสูงสุด + เปลี่ยนการทดสอบใหม่ หากลองใช้แผ่นโซลาร์ขนาด 100 วัตต์ เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นโมโนคริสตัลไลน์ หรือ โพลี่คริสตัลไลน์ หรือ อะมอร์ฟัส มาทดสอบที่แดดเข้มจริง 1000 วัตต์ต่อตารางเมตร ในสนามทดสอบ ก็จะพบว่า แต่ละแบบก็จะจ่ายกำลังวัตต์เท่ากัน คือ 100 วัตต์ แล้วอย่างนี้จะเลือกอะไรดี ต่างกันตรงไหน.... ต่างกันที่ แผ่นอะมอร์ฟัสจะใช้พื้นที่วางมากกว่า หรือน้ำหนักมากกว่า เพราะทำเป็นกระจกแซนวิชด์ เซล์อยู่กลาง แข็งแต่กระทบแตกง่าย หนัก แต่ปัญหาเรื่องน้ำหนักของแผ่นอะมอร์ฟัส หายไปเมื่อ sharp ทำแผ่น อะมอร์ฟัส 121 วัตต์ แบบกระจกหน้าเดียว แต่ด้านหลังจะใช้แผ่น tedlar plate สีขาวเทคนิคเดียวกันกับแผ่นโซลาร์เซลล์แบบโมโนคริสตัลไลน์ หรือโพลี่คริสตัลไลน์ ก็จะมีน้ำหนักแผ่นที่วัตต์เทียบเท่ากัน ใกล้เคียงกัน การอ่านเนมเพลทด้านหลังแผ่น 1. open circuit voltage 60 volt. หมายถึง การวัดแรงดันแผ่นเปล่าแบบที่ตากแดดเต็ม โดยไม่มีโหลด หรือการใช้งาน จะวัดได้ 60 โวลท์ ดีซี 2. volt at maximum power 38 volts.หมายถึง แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ออกจากแผ่นที่จุดที่ให้กำลังวัตต์สูงสุด 3. short circuit Ampare 1.4 A. หมายถึง กระแสที่จับแอมป์มิเตอร์วัดที่ขั้วบวก ลบ ของแผ่นตรง ๆ แบบวัดชอร์ท 4. Amp. at maximum power 1.1 A. หมายถึงค่ากระแสที่ออกมาเมื่อแผ่นโซลาร์จ่ายกำลังวัตต์สุงสุด .................................................................................................... เราสามารถนำค่าโวลท์ที่ได้กำลังวัตต์สูงสุด ที่ 38 โวลท์ มาคูณกับแอมป์ที่ได้กำลังวัตต์สูงสุด คือได้ 38 X 1.1 = 41.8 วัตต์ +แล้วจะใช้ประโยชน์จากเนมเพลทนี้ได้อย่างไร ติดตามต่อไป ....................................................................................................... +จากที่ได้ทดสอบกับแสงเมื่อแดดน้อย หรือ ฝนตก กับแผ่นซันเท็ค โพลี่ 280 วัตต์ / แผ่นอะมอร์ฟัสบางกอกโซลาร์ 42 วัตต์ 60 โวลท์ / แผ่นชาร์ป อะมอร์ฟัส 121 วัตต์ 58 โวลท์ / แผ่นอะมอร์ฟัส 5.5 วัตต์ 21 โวลท์ จีน / แผ่น โพลี่ 10 วัตต์์ สิงคโปร์ จากสถานที่ใช้จริง ที่ ธรรมศาสตร์ , ท่าโสม อพท ตราด ...................................................................................................... +แผ่นอะมอร์ฟัสจะจ่ายแรงดันค่อนข้างคงที่ทุกย่านความเข้มแสง ไม่ว่าฝนตก แดร่ม แต่แผ่นแบบคริสตัลไลน์แบบผลึกโวลท์จะแปรขึ้นลงตามแสง เช่นตั้งแต่ 10 ถึง 36 โวลท์ สำหรับแผ่นซันเท็ค +กระแสของแผ่นอะมอร์ฟัส ที่แรงดันสูง 21 โวลท์ / 60 โวลท์ และวัตต์เท่ากันกับแผ่นแบบผลึก ที่แรงดัน 18 โวลท์ / 36 โวลท์ จะต่ำกว่ากระแสของแผ่นแบบผลึก แต่ผลคูณของกระแสและแรงดัน ที่เป็นค่ากำลังวัตต์ จะเท่ากัน ทำให้หลงกระแสว่าแบบไหนกระแสสูง แบบไหนกระแสต่ำ ซึ่งแต่ละแบบจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับงานบางอย่าง +การทดสอบการต่อปั๊มน้ำแบบต่อตรง ระหว่าง แผ่น อะมอร์ฟัส 121 วัตต์ 60 โวลท์ กระแส สูงสุด 3 แอมป์ กับแผ่น โพลี่คริสตัลไลน์ 120 วัตต์ 18 โวลท์ กระแส ประมาณ 7 แอมป์ จากเนมเพลท ผลที่ ดร. ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้นักศึกษาทำโครงงานทดสอบ แบบกระแสสูง จะสูบน้ำได้มากกว่าแบบกระแสต่ำ เพราะกระแสเป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กในปั๊มดีซี... แต่ถ้าใช้อะมอร์ฟัส 121 วัตต์จำนวน 2 แผ่น รวม 240 วัตต์ ไปสูบน้ำ แบบต่อตรงปั๊มและต่อแผ่นแบบขนานกัน จะได้แรงดัน 60 โวลท์ เท่าเดิม แต่กระแสจะเป็นกระแสรวม ของแต่ละแผ่น ซึ่งเท่ากัีบ 6 แอมป์ ก็จะสูบน้ำได้ เทียบเท่ากับ แผ่นโพลี่คริสตัลไลน์ซันเท็คขนาด 280 วัตต์ 7 แอมป์ ดูอย่างนี้แล้วงง จะรู้ได้อย่างไร ว่าจะได้มากน้อยต่างกันแค่ไหน คิดง่ายๆ ว่า ปั๊มน้ำดีซี 24 โวลท์ เมื่อมีกระแส แรงดัน และ ภาระโหลดจากน้ำ จะปรับตัวเอง ให้สมดุลย์ ทั้งกระแส แรงดัน ให้วิ่งอยู่ในเ้ส้นโค้งที่เรียกว่า IV หรือเส้นโค้งกระแส แรงดัน แรงดันไฟจะออกมาในรูบของความเร็วรอบปั๊มน้ำ และออกมาในรูปของแรงดันน้ำ เป็นประการสุดท้าย เพราะปั๊มน้ำรอบสูง จะให้น้ำแรงดันน้ำสูง ส่วนกระแสจะมีผลกับปริมาณน้ำที่สูบขึ้นได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องวิ่งตามเส้นที่ IV เพียงแต่ไม่ต้องไปสนใจเท่านั้น +สรุปว่า การนำแผ่นโซลาร์ไปใช้กับปั๊มสูบน้ำ ดีซี แบบต่อตรง ไม่ว่าจะเป็นปั๊มไดโว่ หรือปั๊มโม่ปูน 12 หรือ 24 โวลท์ โวลที่จุดได้กำลังวัตต์สูงสุดของแผ่นจะต้องสูงกว่าโวลท์ปั๊มน้ำไม่เกิน 12 โวลท์ จึงจะลงตัวได้น้ำมากสุด +การนำแผ่นขนาดใหญ่ จำนวนมาก เพื่อการสูบน้ำแบบโมดุลย์อินเวอร์ทเตอร์ หรือการจ่ายเข้า grid tie inverter อุปกรณ์เหล่านี้ต้องการแรงดันป้อนเข้า ระดับ 360 โวลท์ดีซี เพื่อจ่ายออกเทียบเท่าไฟฟ้ากระแสสับ 220 โวลท์ จึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด ปัญหาคือถ้านำแผ่นแบบคริสตััลไลน์ มาต่อกันเพื่อให้ได้แรงดัน opencircuit voltage ขนาดนี้ต้องใช้แผ่นจำนวนมาก เช่น แผ่น 18 โวลท์ จะต้องใช้ ถึง 20 แผ่น ถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด แต่ถ้าเป็นแบบอะมอร์ฟัส 60 โวลท์ใช้ 6 แผ่นต่ออนุกรมก็พอ ปัญหาของแผ่นที่นำมาต่ออนุกรมกันมากคือ ความต้านทานภายในสูงตามไปด้วย เนื่องจากแต่ละ 1 โวลท์ที่ได้ คือ 2 เวเฟอร์ต่ออนุกรมกัน ดังนั้น 360 โวลท์ ต้องเท่ากับ 720 เวเฟอร์ เส้นทางเดินสายภายในแผ่รวมแล้วจะยาวไกลมากนับ 100 เมตร +สิ่งที่ทุกคนต้องการอยากรู้ว่า ระหว่างแผ่นแบบอะมอร์ฟัส กับแผ่นแบบ คริสตัลลไน์ เมื่อนำไปใ้ช้ในระบบใหญ่จริง บนฐานของกำลังวัตต์เท่ากัน พื้นที่เดียวกัน อย่างไหนจะได้หน่วยไฟฟ้า หรือ กิโลวัตต์ - ชั่วโมง มากกว่า สำหรับการติดบน grid แบบที่มีการปรับค่า MPPT หรือ maximum power point tracking *** +คำตอบ แบบอะมอร์ฟัส เก็บแสงทุกเม็ด ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น แค่มีแสงฟ้า ฟ้า หรือหลังพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ฟ้ายังสว่างอยู่ จะได้หน่วยไฟมากกว่า +อีกตัวที่มีผลกับการใช้งานแผ่นโซลาร์์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า คือความร้อนสะสมที่แผ่น แดดจัด แผ่นร้อน กระแสไฟไม่ออก จะต้องลดอุณหภูมิของแผ่นลงให้ต่ำโดยการใช้น้ำพ่นหมอก หรือฟีล์มน้ำราดผิวแผ่น รวมทั้งจะต้อมีเทคนิคการติดตั้งแผ่นไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม ให้มีช่องว่างระบายอากาศ ระบายความร้อนตามธรรมชาติ มากกว่าเท่าไร ขอเชิญไปร่วมพิสูจน์ด้วยตนเอง ในงานเปิดโลกพลังงานทดแทนECOจวนผู้ว่าราชการจังหวัดตราดวันที่ 27 สิงหาคมนี้ จะมี trip ชมจุดเรียนรู้ของจริง7 จุด ตามที่ประกาศไปแล้ว จัดโดย อพท. +แสงแดดในบางพื้นที่ เช่นลพบุรี ชัยบาดาล มี ความเข้มของพลังงานแดดจัด ไม่มีเมฆบัง สูงถึง 1300 วัตต์ ต่อตารางเมตร ... ซึ่งสูงกว่าค่ามาตราฐานที่ใช้ทดสอบแผ่นโซลาร์จากโรงงานที่ใช้แสงแดดเทียมที่ความเข้ม 1000 วัตต์ต่อตารางเมตร.... สูงแล้วเกิดผลอย่างไร ก็จะได้กำลังวัตต์จากแผ่นเพิ่มขึ้น .. แล้วเพิ่มขึ้นเท่าไร .. เพิ่มเป็นแบบเส้นตรง.. เท่ากับว่าหากใช้แผ่นแบบไหนก็ได้ที่ spec ไม่ลวง.. ขนาด 100 วัตต์ ตั้งรับแสงแดด 1300 วัตต์ต่อตารางเมตร ที่ชัยบาดาล ลพบุรี.. จะได้กำลังวัตต์จ่ายออกมาจากแผ่น 130 วัตต์ ... เหตุนี้จึงมีกลุ่มทุนทำ โซลาร์ฟาร์ม ไปสำรวจหาค่าความเข้มแสงในแต่ละพื้นที่เป็นข้อมูลไว้ เมื่อจะมีการตั้งโรงโซลาร์ฟาร์มก็จะเลือกพื้นที่ที่มีความเข้มแสงเฉลี่ยทั้งปีสูงไว้ก่อน .... +เมื่อ 5 ปีที่แล้ว โซลาร์แผ่นราคาวัตต์ละ 200 บาท ในประเทศ แต่สามารถนำเข้ามาในราคา 80 บาทต่อวัตต์ สำหรับแผ่น 20 วัตต์โมโนคริสตัลไลน์ ... แล้วจะทำอย่างไรให้ได้วัตต์เพิ่ม .. ก็เริ่มต้นจากทำกรวยรับแสงสแตนเลส ทำมุม 60 องศากับระนาบแผ่น ทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้แสงสะท้อนช่วยเพิ่มความเข้มแสงที่ด้านหน้าแผ่น ทำให้ได้วัตต์เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือเรียกว่า 3x และสุดท้ายก็มีทำกระจกสะท้อนให้แสงเข้มขึ้น 12 เท่าก็จะได้พลังงาน ออกจากแผ่น 20 วัตต์เป็น 240 วัตต์ได้ ....แต่ขข้อจำกัดของการเพิ่มความเข้มแสงคือ.. การเกิดความร้อนที่สามารถปิ้งไก่ ปลา ให้สุกได้ การแก้ไขทำได้โดยใช้น้ำราดเป็นฟีล์มหน้าผิวแผ่น เพื่อลดอุณหภูมิ... สงสัยว่า แผ่นที่ออกแบบไว้ 20 วัตต์ พอเพิ่มความเข้มแสงให้ไฟออก 240 วัตต์แล้ว อุปกรณ์ทนกระแสได้ไหม เพราะเวลาที่แสงเข้มขึ้น ตัวที่เพิ่มคือค่ากระแส แต่แรงดันไฟขึ้นน้อยกว่า ... +เรื่องนี้มีต่างประเทศก็ทำกัน คือทำเป็น ฟรีเนลเลนซ์ หรือแผ่นขยายหน้าจอโทรทัศน์เมื่อ 25 ปีที่แล้ว หรือแผ่นที่อยู่ที่เครื่องฉายภาพ over head project โฟกัสแสงให้เข้มเป็นจุดเล็ก ๆ แล้วส่องตรงไปที่ซิปโซลาร์ หรือเวเฟอร์เดี่ยว ก็จะได้กำลังวัตต์สูงตามความเข้มแสง +เรื่องที่ถามกันว่า แผ่นแบบไหนที่อายุการใช้งานยาวนาน ตอบว่า ไม่รู้ เพราะแผ่นรุ่นเก่า 50 ปีที่มีอยู่สำหรับสอน ยังมีไฟออก แต่แผ่นที่ไฟไม่ออก เช่นอะมอร์ฟัสรุ่นแรก เกิดจากขั้วภายในถูกสนิมกัดกร่อน สามารถแก้ไขได้ และเทคนิคปัจจุบันการผลิตก็ได้แก้ไขจุดปัญหาเก่าไปแล้ว... ดร. วัฒนพงศ์ รักวิเชียร พูดว่า ซิลิคอนไม่ได้หายไปไหน ดังนั้นแผ่นโซลาร์จะไม่มีวันหมดอายุ นอกจากเสื่อมสภาพตามกาล +สรุปว่า แผ่นแบบไหน ประสิทธิภาพสูงกว่ากัน อยู่ที่การใช้งาน และเทคนิคในการปรับ
Posted on: Tue, 23 Jul 2013 08:29:33 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015