เคยได้ยินแต่คำว่า QE - TopicsExpress



          

เคยได้ยินแต่คำว่า QE แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร และเกี่ยวข้องกับค่าเงินอย่างไร พึ่งหาคำตอบได้เมื่อกี้ครับ มาตรการ QE ความหมายและผลกระทบ มาตรการ QE และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ....................................... QE คืออะไร ในช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้นเราจะได้ยินคำว่า QE3 เกิดขี้นในข่าวทางเศรษฐกิจบ่อยครั้ง ซึ่งเราจะรับรู้ว่าเป็นพิมพ์เงินเพิ่มเข้ามาอัดฉีดเข้ามาในระดับเศรษฐกิจ ในบทความนี้จึงพยายามที่จะทำความเข้าใจในมาตรการนี้ มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน หรือ QE มาจากคำว่า Quantitative Easing (QE) เป็นนโยบายด้านการเงินที่ไม่เป็นแบบแผน ที่ดำเนินการโดยธนาคารกลางในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีที่นโยบายทางการเงินที่เป็นแบบแผนตามปกตินั้นเริ่มไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถเป็นกลไกขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งธนาคารกลางนี้ได้ดำเนินการมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) ด้วยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน (financial assets) จากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินของเอกชนอื่น ๆ ด้วยการสร้างเงินใหม่ ๆ เพื่อที่จะอัดฉีดปริมาณเงินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเข้าสู่ระบบการเงินของประเทศ ซึ่งนโยบายนี้จะมีความโดดเด่นแตกต่างจากการใช้นโยบายซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลที่ดำเนินการตามปกติในการที่จะรักษาอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) นี้ จะเป็นการไปเพิ่มทุนสำรองส่วนเกิน (excess reserves) ของระบบธนาคารและจะเข้าไปยกระดับราคาสินทรัพย์ทางการเงินที่ซื่อมาซึ่งมีผลตอบแทนที่ต่ำ นโยบายในด้านการเงินแบบขยายตัวนี้จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลในระยะสั้นเพื่อที่จะดำรงอัตราดอกเบี้ยในตลาดให้อยู่ในระดับต่ำ โดยการใช้องค์ประกอบที่เป็นส่วนผสมร่วมกันของสิ่งอำนวยความสะดวกในการกู้ยืมและการดำเนินการในตลาดเปิด เมื่ออัตราดอกเบี่ยระยะสั้นของตลาดนั้นอยู่ในระดับที่เข้าใกล้ศูนย์ นโยบายด้านการเงินแบบปกตินั้นไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ในระดับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในระยะสั้นได้ มาตรการการผ่อนคลายนี้จะถูกนำเข้ามาใช้โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในการดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มเติมโดยการเข้าไปซื้อสินทรัพย์ที่มีการครบกำหนดในระยะยาวมากกว่าที่จะเข้าไปซื้อพันธบัตรในระยะสั้นของรัฐบาล ดังนั้นในการดำเนินนโยบายคงดอกเบี้ยระดับต่ำในระยะยาวจะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้น มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) สามารถใช้ในการช่วยเหลือในการควบคุมระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายอย่างที่รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะมีความมุ่งหมายในการปฎิบัติการต่อต้านภาวะเงินฝืด หรืออาจเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอถ้าหากธนาคารต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะปล่อยการกู้ยืมจากเงินสำรองออกไปได้ เป้าหมายของการนำมาตรการนี้มาใช้เป็นการเพิ่มปริมาณเงิน (money supply) มากกว่าที่จะใช้มาตรการในการลดอัตราดอกเบี่ยที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว เพื่อลดปัญหากับดักของสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และสร้างการเติบโตให่กับระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งมาตรการนี้มีความสามารถเพียงแค่ดำเนินการโดยการที่ธนาคารกลางเข้าไปควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงินนั้น ถูกใช้ครั้งแรกโดยธนาคารกลางประเทศญึ่ปุ่นในเดือนมีนาคม 2544 เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืดและรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้คงอยู่ในระดับต่ำ เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเข้าสู่ธนาคารภาคเอกชนในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การปล่อยกู้ของธนาคารเอกชนที่มีต่อผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงได้ดำเนินมาตรการนี้โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเข้าไปดำเนินการซื้อคืนหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่าง ๆ หลังจากปี 2550 ซึ่งเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2550-2555 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และกลุ่มประชาคมยุโรป ได้นำมาตรการนี้มาใช้ซึ่งเป็นมาตรการที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ปลอดความเสี่ยง (risk-free short-term nominal interest rates) โดยในช่วงจุดสูงสุดของวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 นั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกามีการขยายคัวอย่างมากซึ่งปรากฎในงบดุล โดยมีการเพิ่มเติมสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีที่มาอย่างชัดเจน ธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปได้ชันโยบาย long term refinancing operations (LTRO) ระยะเวลา 12-36 เดือน ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน โดยผ่านกระบวนการในการขยายสินทรัพย์ที่ธนาคารสามารถใช้เป็นหลักประกันที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ ซึ่งนำไปสู่การออกพันธบัตรของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (European Central Bank) ซึ่งมีการระบุว่ามาตรการด้าน QE นี้ประสบความล้มเหลวในการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวในประเทศอังกฤษและยังคงสร้างสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจนับแต่ปี 2552-2555 ซึ่งก่อให้เกิดความล่มสลายของระบบการเงินในยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ครอบครองพันธบัตรคงคลังระหว่าง 700-800 พันล้านเหรียญก่อนเกิดภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ ในช่วงปลายปี 2551 ธนาคารกลางได้เริ่มเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 600 พันล้านเหรียญ โดยในเดือนมีนาคม 2552 ระดับหนี้ ตราสารทางการเงิน และพันธบัตรคงคลัง ได้เพิ่มขึ้นถึง 1.75 ล้านล้านเหรียญและทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านล้านเหรียญในเดือนมิถุนายน 2553 ในเพือนพฤศจิกายน 2553 ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน รอบที่ 2 (QE2) โดยการเข้าซื้อพันธบัตรคงคลังมูลค่า 600 พันล้านเหรียญ และในวันที่ 13 กันยายน 2555 ที่ผ่านมาธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน รอบที่ 3 (QE3) โดยวางแผนที่จะเข้าซื้อตราสารทางการเงินที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยหนุนหลัง(Mortgage-backed securities : MBS) มูลค่า 40 พันล้านเหรียญต่อเดือน นอกจากนี้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน Federal Open Market Committee(FOMC) ได้ประกาศที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยได้ที่ระดับใกล้ศูนย์ต่อไปจนถึงปี 2558 มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงินนั้น เราเรียกอย่างเล่น ๆ ว่า การพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเติม (Printing Money) เป็นการดำเนินการจัดพิมพ์ธนบัตรซึ่งถือเป็นเม็ดเงินใหม่ ๆ ในการอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์.ในการเพิ่มเม็ดเงินในการที่จะช่วยกระตุ้นการจ้างงานของผู้ประกอบการในระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งจะทำให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินการปล่อยสินเชื่อในการดำเนินธุรกิจได้มากขึ้น ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การพิมพ์เงินออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เงินทะลักไปสู่การเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาอาหารและราคาน้ำมัน ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวขึ้น กำลังซื้อของประชาชนก็ลดลง สำหรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทยนั้น อาจทำให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนของต่างชาติอย่างมหาศาล ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินของประเทศที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ทำให้มีการเก็งกำไรค่าเงินทีจะส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ การส่งออกอาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น ซึ่งผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนและผู้รับผิดชอบในการจัดการด้านการเงินของประเทศจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่เกิดความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการเติบ
Posted on: Fri, 30 Aug 2013 11:37:33 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015