แนวคิดสำคัญ (principle) - TopicsExpress



          

แนวคิดสำคัญ (principle) ของวาทกรรมนี้น่าสนใจนะ แต่ก็ยังเห็นความหละหลวมบางประการ 1.ทำไมต้องอ้าง "พระบรมราโชวาทของรัชกาลที่5"? การอ้างหลักการนี้สะท้อนอย่างชัดเจนว่า คนอ้างมีความคิดเป็นพื้นฐานในใจ (assumption) อยู่แล้วว่า คำพููดของกษัตริย์เป็นสิ่งที่มีน้ำหนัก ประชาชนต้องทำตามเสมอไป หรือเห็นว่าคำพูดนี้มีน้ำหนักมากพอจะใช้เป็นความคิดกระแสหลัก บางครั้ง เราต้องยอมรับว่าคำพูดของผู้ที่มีฐานะสูงทางสังคมและผู้ที่ประกอบประโยชน์แก่ประเทศชาติย่อมมีน้ำหนัก เชื่อถือได้มากกว่าสามัญชนคนธรรมดาและคนที่ไม่ทำประโยชน์อะไรเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คำพดเหล่านั้นมีศักดิ์ที่สามารถจูงใจให้เชื่อคล้อยตามได้เสมอไป ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยกิริยาเห็นด้วยก็ดี หรือคัดค้านก็ดี ย่อมเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่สามารถกระทำได้อย่างเปิดเผย และน้ำหนักของทรรศนะเหล่านั้นก็ย่อมแปรผันตามเหตุและผลที่นำมาประกอบคำวิจารณ์ แต่ปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นสมัยของความคิดที่เปิดกว้างเสรีมากขึ้น ถ้ามีใครนำ "พระบรมราโชวาท" มาอ้างถึง แล้วปรากฏผู้ไม่เห็นด้วยและเสนอความต่างอย่างสร้างสรรค์ สังคมไทยก็รุมประณามโดยการอ้างวลี "หมิ่นพระบรมราชานุภาพ" ด้วยคำพูดกักขฬะ ซึ่งปรากฏทุกครั้งไป 2.ทำไมถึงบอกว่า วิธีการ "ไม่แบ่งแยกฐานะคนรวยคนจน" ต้องสื่อได้ทางเครื่องแบบนักเรียน? การอ้างเหตุผลนี้เข้าใจได้ เพราะเสื้อผ้าก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เราเห็นถึงสภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวนักเรียน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็น "ช่องทางเดียว" ในการแสดงความแตกต่างระหว่างฐานะเท่านั้น เรายังสามารถบอกความรวยความจนได้จากอุปกรณ์เครื่องเขียน กระเป๋า อุปกรณ์การเรียนต่างๆ ดังนั้นถ้าจะอ้างเหตุผลนี้ในการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน ก็แสดงว่าเราต้องบังคับ "ทุกสิ่งทุกอย่าง" ที่มีแนวโน้มจะทำให้เห็นความต่างของฐานะ นักเรียนทุกคนต้องใช้ทุกอย่างเหมือนกันหมดงั้นหรือ? เพราะฉะนั้น การอ้างเหตุผลนี้ก็มีข้อบกพร่องตั้งแต่ "หลักการสำคัญ" แต่ต้นแล้ว ไม่สามารถนำมาอ้างได้อย่างสมเหตุสมผล คำถามต่อไปคือ แล้วเราจะ "อ้าง" อะไรที่ทำให้เครื่องแบบนักเรียนยังคงอยู่? น่าคิดๆ #ReasoningDisease
Posted on: Fri, 02 Aug 2013 05:44:27 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015