โฮมเพจ เว็บเพจ - TopicsExpress



          

โฮมเพจ เว็บเพจ และเว็บไซต์ การใช้งานเว็บบราวเซอร์แต่ละครั้งเพื่อให้ข้อมูลที่เก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ห่างไกลออกไปในอินเทอร์เน็ต โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะดึงข้อมูลมาแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่แต่ละเว็บไซด์จัดทำและเก็บไว้เพื่อให้ผู้สนใจเปิดเข้าชมและแสดงผลหน้าแรกเรียกว่าหน้าโฮมเพจ ซึ่งผู้ใช้จะได้พบก่อนเมื่อเปิดเข้าไปในเว็บไซด์หนึ่งๆ ด้วยการพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซด์ลงในบราวเซอร์ ส่วนเว็บเพจ คือเอกสารที่ปรากฏต่อสายตาผู้ชมซึ่งเขียนด้วยภาษาสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจที่เรียกว่า ภาษาเอชทีเอ็มแอล หรือภาษาอื่น ๆ ที่โปรแกรมเว็บบราวเซอร์สามารถอ่านและแสดงผลทางจอคอมพิวเตอร์ได้ เว็บเพจแต่ละหน้าจะทำหน้าที่เป็นเนื้อหาสารที่ถูกวางบนสื่อเพื่อนำเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (วิภา เพิ่มทรัพย์ และวศิน เพิ่มทรัพย์, 2546) การเปิดเข้าสู่เว็บไซต์ต่าง ๆ ต้องพิมพ์ระบุชื่อลงในช่องURL หรือ Address ของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ให้ถูกต้องจึงจะสามารถเปิดอ่านหน้าเว็บเพจที่ต้องการได้ การระบุที่อยู่ของเว็บเพจในหน้าเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น http : // puffer.sru.ac.th/bsd/index.html http : // คือชื่อโปรโตคอลหรือวิธีการติดต่อทั่วไปในการคืนเว็บเพจ puffer คือชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ระบุใน DNS sru คือชื่อเครื่อข่ายย่อยในที่นี้คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ac คือประเภทการศึกษา (academic) th คือประเทศไทย bsd คือไดเร็คทอรี่สำหรับเก็บไฟล์ต่าง ๆ index.html คือ ชื่อไฟล์และนามสกุลของเว็บเพจที่ต้องการ ชื่อคอมพิวเตอร์บนอินเทอร์เน็ตและชื่อโดเมนช่วยให้ผู้ใช้สามารถจดจำได้ง่ายและสะดวกในการพิมพ์ที่อยู่ลงใน URL ของเว็บบราวเซอร์ ชื่อเหล่านี้จะถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่ DNS (Domain Name Service) ตามที่ได้จดทะเบียนชื่อไว้ ส่วนประกอบในหน้าเว็บเพจ ในแต่ละเว็บไซด์จะประกอบด้วยหน้าเว็บเพจจำนวนมาก หน้าเว็บเพจแต่ละหน้าจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้ แถบเครื่องมือ (Navigational Menus) แถบเครื่องมือ (Navigational Menus) ปกติการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ผู้ใช้จะคุ้นเคยกับการใช้งานเครื่องมือที่เรียกว่าเมนู (Menu) แนวคิดของเมนู หมายถึง แถบที่ประกอบด้วยคำหรือข้อความที่จะใช้สำหรับเลือกให้ส่วนของโปรแกรมทำงานเพื่อใช้เมาส์กดคลิกหรือกดคีย์บอร์ดเว็บไซต์ก็เช่นเดียวกันที่ต้องการเมนู ทั้งนี้เพราะการเปิดเว็บเพจ จากไซต์หนึ่งไปสู่ไซต์หนึ่ง ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บเพจสะดวกผู้ออกแบบเว็บไซต์จึงต้องขอออกแบบให้มีส่วนของเมนูที่จะช่วยให้การค้นหาสิ่งต่าง ๆ ได้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีลักษณะรูปแบบที่ช่วยดึงดูดความสนใจแก่ผู้เปิดเว็บเพจด้วย สิ่งที่มองเห็นได้ (visual Cues) สิ่งที่มองเห็นได้ (visual Cues) หน้าเว็บเพจหนึ่ง ๆ จะมีส่วนที่รับรู้ทางสายตา ภาพรวมที่ปรากฎในหน้าเว็บเพจจะแสดงส่วนต่าง ๆ คือ แถบเครื่องมือ หรือรายการทำหน้าที่เหมือนสารบัญ การเชื่อมโยงเพื่อเปิดหน้าเว็บเพจที่ต้องการหรือเปิดหน้าเว็บเพจจากเว็บไซต์อื่น ๆ ก็ได้ ช่องสำหรับใส่ที่อยู่ของจดหมายอิเล็คโทรนิกส์ เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สมัครรับข่าวสารที่เว็บไซต์นั้นให้บริการ ภาพประกอบที่ใช้สำหรับเชื่อมโยง หรือทำให้ดูเหมือนปุ่มสำหรับกด ภาพเครื่องหมายสัญลักษณ์ หรือโลโก้ของเว็บไซต์นั้นๆ เพื่อเชื่อมโยงไปถึงเครื่องหมายสัญลักษณ์ของหน่วยงาน เนื้อหาข่าวสารในอินเทอร์เน็ต เนื้อหาข่าวสารในอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจัดเป็นสื่อแบบใหม่ ซึ่ง Rogers ได้ศึกษาคุณลักษณะของสื่อแบบใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และได้ชี้ให้เห็นว่าคุณลักษณะสำคัญๆของสื่อแบบใหม่ที่จะมีผลต่อเนื่องไปถึงการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ 1. ลักษณะ Interactivity ของสื่อ แต่เดิมนั้นคุณสมบัติที่จะตอบโต้การสารระหว่าง 2 ฝ่ายนั้นจะมีอยู่แต่เฉพาะในการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบเผชิญหน้าเท่านั้น ( Face-to-Face Communication ) หากเริ่มมีการใช้สื่อกลางแบบใดเข้ามาเกี่ยวข้อง ลักษณะ “ตอบโต้อย่างฉับผลันทันที” จะสูญหายไป แต่ในสื่อสมัยใหม่ใหม่ เช่น การใช้ E-mail Computer-Conference จะสามารถสร้างเงื่อนไขให้เกิดการตอบโต้ได้อย่างฉับพลันทันทีอาจจะทำให้มิติด้านกาละและเทศะของการสื่อสารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก 2. ลักษณะ Individualiz /Demassified แต่เดิมนั้นรูปแบบการสื่อสารแบบสื่อมวลชนจะสร้างกลุ่มผู้รับสารแบบเป็น “มวลชน” (Massified) ขึ้นมาทุกคนจะดูรายการทุกอย่างเหมือน ๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ยิ่งนับวันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารจะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ตามกาละและเทศะที่ต้องการได้มากขึ้น ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่นเครื่องอัดวิดีโอเทปการดูรายการเคเบิลทีวีแบบเสียเงินที่เลือกรายการดูได้เอง (Pay per view) แม้แต่ระบบการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบที่ผู้เรียนด้วยตนเองในเวลาใดก็ได้ ณ สถานที่ไหนก็ได้ เป็นต้น 3. ลักษณะ Asynchronous natre of new communication คุณลักษณะประการหนึ่งของสื่อแบบใหม่ คือ สามารถจะแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ ได้ (asynchronize) โดยไม่มาเป็นกลุ่มก้อนเดียวตัวอย่างเช่น ลักษณะการให้ข่าวสารจะไม่มาเป็นข่าวที่ต่อเนื่องกันยาว ๆ ทีเดียว แต่จะมาแบบแยกเป็นส่วน ๆ เช่น ข่าวสั้นทุกชั่วโมง โดยที่ผู้รับสารจะต้องมาประกอบเอาเอง ลักษณะ hardware ของคอมพิวเตอร์ก็เช่นเดียวกัน สามารถจะแยกซื้อเป็นส่วน ๆ แล้วค่อยมาประกอบมาเพิ่มเติมภายหลังได้ นอกจากนั้นยังหมายความถึง ศักยภาพของสื่อ ที่สามารถจะเก็บรักษาข่าวสารข้อมูลเอาไว้ด้วย และวิธีการเก็บข่าวสารก็ยังสามารถแยกไว้ในที่ต่าง ๆ ได้ด้วย อรัญญา ม้าลายทอง (2539) ศึกษาเรื่อง การเปิดรับข่าวสาร และการใช้การสื่อสารผ่านระบุอินเทอร์เน็ตของพนักงานในกลุ่มบริษัทล้อกซเล่ย์จำกัด(มหาชน) ได้สรุปประเภทของข้อมูลที่เกิดรับในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แบ่งประเภทของข้อมูลออกเป็นหัวข้อดังนี้ 1. ข่าวสารทางธุรกิจ 2. บันเทิง 3. ข่าวสารท่องเที่ยว 4. กีฬา 5. ข่าวสารคอมพิวเตอร์ 6. การศึกษา 7. อื่น ๆ ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอของสื่อมวลชนไทยเป็นข้อมูลเดียวกับที่ข้อมูลข่าวสารที่นำเสนออยู่บนช่องทางปกติ ตัวอย่างเช่น การเสนอข้อมูลข่าวสารทางเว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์กองทพบกช่อง 5ประกอบด้วย ข้อมูลด้านข่าวได้แก่ ข่าวสารในราชสำนัก ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ ข่าววงการทหาร และข่าวกีฬา ข้อมูลความรู้ ได้แก่ เทคโนโลยี ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย ข้อมูลบริการอื่นๆ ได้แก่ การเสนอข่าวของหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ลักษณะของสื่ออินเทอร์เน็ต แตกต่างจากสื่อดั้งเดิมนั้นรูปแบบการนำเสนอของเว็บไซด์ต่าง ๆ จึงปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อด้วย การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตสามารถใส่ข้อมูลข่าวสารในหน้าเว็บเพจทั้งข้อความรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร จากการศึกษาของ ศุจิกา ดวงมณี (2539) เรื่องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน เวิลด์ไวด์เว็บ ของสื่อมวลชนไทย พบว่านำเสนอได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน โดยพิจารณา 2 ส่วน คือ 1. รูปแบบของการนำเสนอข้อมูล ในส่วนการเลย์เอาท์ของหน้าเว็บไซต์ ในส่วนนี้เป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าแรก หรือโอมเพจ เน้นความชัดเจนในการเสนอแนวคิด เนื้อหาสาระและการบริการต่าง ๆ เพื่อเป็นการดึงดูดความสนใจให้ผู้ใช้งานติดตามในรายละเอียด ซึ่งส่วนนี้ประกอบด้วย ชื่อและสัญลักษณ์ประจำสื่อนั้น หัวข้อหรือรูปภาพที่เชื่อมโยงไปยังรายละเอียดข่าวสารตัวเลขระบุจำนวนผู้เข้ามาในโฮมเพจ การนำเสนอเรื่องเด่นของแต่ละวัน การแจ้ง ข่าวสารพิเศษ การลงทะเบียน การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ภายนอก ลักษณะการจัดวางหน้าเว็บไซต์ นำเสนอออกมาเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะการใช้กรอบ (frame) นิยมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนซ้ายและขวา โดยด้านซ้าย ของหน้าจอจะเป็นหัวข้อเรื่องหลักๆ ส่วนจอด้านขวาจะนำเสนอ รายละเอียดของแต่ละหัวข้อหลักทางซ้าย และพื้นที่สำหรับการนำเสนอหัวข้อเรื่องหลักจะแคบกว่าพื้นที่แสดงรายละเอียดทางด้านขวาการใช้กรอบในการแบ่งหน้าจอนี้เป็นเสมือนกับการนำเสนอ 2 หน้า จอในเวลาเดียวกัน วิธีการนำเสนอแบบใช้กรอบนี้พบการใช้ในหน้าเว็บเพจของสื่อมวลชนไทยทุกประเภทยกเว้นวิทยุกระจายเสียง ลักษณะไม่ใช้กรอบ การนำเสนอแบบนี้ใช้กับสื่อมวลประเภทที่เน้นลักษณะการเสนอเป็น 3 แบบคือ - กลุ่มนำเสนอรูปแบบเดียวกับสื่อนิตยสารฉบับตีพิมพ์กลุ่มนี้นำหน้าปกนิตยสารฉบับที่ทำการเผยแพร่นั้นมาลงโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ - กลุ่มที่นำเฉพาะภาพที่เป็นจุดเด่นบนหน้าปก กลุ่มนี้จะนำเฉพาะรูปที่เป็นจุดเด่นขึ้นนำเสนอ และมีการออกแบบส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติม โดยคงลักษณะของความเป็นหน้านิตยสารไว้ - กลุ่มที่นำเสนอรูปแบบที่มีความแตกต่างไปจากการนำเสนอในสื่อฉบับปกติ กลุ่มนี้สร้างความแตกต่างในด้านรูปแบบให้เกิดขึ้น เช่น การสร้างภาพเพิ่มเติมจัดวางตำแหน่งของภาพใหม่ สร้างภาพเพิ่มเติมจากของเดิม รวมทั้งมีการรวมภาพเข้าด้วยกัน และสร้างข้อความเชื่อมโยงในลักษณะของการแทรกอยู่ในภาพซึ่งทำให้เกิดความแปลกใหม่ 2. รูปแบบการใช้เทคโนโลยีระบบสื่อผสมในการนำเสนอข้อมูล ความสามารถของอินเทอร์เน็ตนอกจากสามารถนำเสนอด้วยข้อความและภาพแล้ว ยังสามารถนำเสนอด้วยเสียงและภาพเคลื่อนไหวทำให้เกิดการนำเสนอในแบบสื่อผสมเกิดขึ้นดังนี้ เทคโนโลยีด้านเสียง เสียงก็นำมาใช้ประกอบในหน้าเว็บเพจในลักษณะเป็นเสียงประกอบคลออยู่เบื้องหลังเว็บไซต์ เทคโนโลยีด้านภาพวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหวเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีถูกนำมาในหน้าเว็บเพจเช่นเดียวกับแบบเสียงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลวิดีโอ เช่น .avi,.mov,.mpeg เป็นต้น การสื่อสารสองทางระหว่างเว็บไซต์กับผู้เข้าชมการสื่อสารแบบสองทางที่นิยมนำมาใช้เพื่อการสื่อสารทางเว็บเพจต่าง ๆ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ามาในเว็บเซต์สามารถถามคำถามเสนอความคิดเห็นให้คำแนะนำโดยสื่อสารทางจดหมายอิเล็คโทรนิกส์ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการติดต่อสามารถส่งจดหมาอิเล็คโทรนิกส์ได้ การสื่อสารสองทางจึงใช้เพื่อสอบถาม เสนอความคิดเห็นหรือให้คำแนะนำต่างๆ รวมทั้งใช้ในการรับสมัครสมาชิก จากแนวคิดและทฤษฎีนี้ จะเห็นได้ว่า อินเทอร์เน็ตมีความแตกต่างไปจากสื่อปกติ มีคุณสมบัติเสนอได้ทั้งภาพและเสียงสามารถเพิ่มคุณสมบัติการติดต่อสื่อสารสองทางได้ เนื้อหาที่อยู่ปรากฏในเว็บไซด์ต่างซึ่งเป็น ข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏอยู่ ถูกนำเสนอออกมาด้วยรูปแบบต่าง คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบสภาพการใช้งานอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีมีลักษณะอย่างไร หน้าโฮมเพจ หน้าโฮมเพจเป็นอินเทอร์เฟซสำคัญที่จะทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจว่า จะเข้ามาดูหน้านี้หน้าเดียวหรือหน้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้น ถ้าไม่มีอะไรที่แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้มีประโยชน์อะไร ผู้ใช้ก็จะผ่านเว็บไซต์นี้ไป ถ้าข้อมูลในโฮมเพจแสดงให้ทราบได้ในระยะเวลาสั้นว่าเป็นโฮมเพจเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นของใครสร้างหรือปรับปรุงขึ้นเมื่อไร มีที่มาจากที่ไหน และติดต่อกับผู้พัฒนาเว็บไซต์นั้นได้อย่างไร ก็จะทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่จะตัดสินใจในการเข้าชมเว็บเพจหน้าอื่นของเว็บไซต์นั้น โฮมเพจเป็นเสมือนศูนย์รวมของข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นั้น ควรมีการเชื่อมโยงระหว่างหน้าเว็บเพจอื่นกับโฮมเพจ โดยมีส่วนการเชื่อมโยงที่ชัดเจนในหน้าเว็เพจแต่ละหน้าเพื่อกลับไปยังโฮมเพจ นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อสังเกตเมื่อมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น และมีส่วนติดต่อกลับไปยังผู้พัฒนาเว็บไซต์ เพื่อสอบถามหรือแสดงความคิดเห็น แถบทิศทางเดินหลัก เว็บไซต์ส่วนใหญ่นิยมสร้างแถบทิศทางเดินหลักโดยจัดวางไว้ด้านบนหรือด้านซ้ายของหน้าเว็บเพจ แทนการวางปุ่มคลิกไปทีละหน้าเหมือนการเปิดหนังสือ ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกต่อการใช้งาน การแสดงแถบทิศทางเดินหลักให้ปรากฏในทุกหน้าที่เชื่อมโยงไปจะทำให้มีการถ่ายโอนข้อมูลของแถบทิศทางเดินเพียงครั้งเดียว แต่ใช้ทรัพยากรบนแถบทิศทางเดินในทุกหน้าร่วมกันแสดงแถบทิศทางเดินหลักในหน้าเว็บเพจ เส้นทางเดิน เส้นทางเดินหน้าช่วยในการเข้าไปยังข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์การออกแบบเส้นทางเดินในหน้าเว็บเพจ ได้มีการสร้างและพัฒนาเส้นทางเดินหลากหลายรูปแบบโดยใช้ภาษาจาวาและภาษาจาวาสคริปต์ เพื่อให้เส้นทางเดินมีความน่าใช้และง่ายต่อการใช้งานทำให้ผู้ใช้สะดวกไม่เกิดความสับสน รูปแบบเส้นทางเดินอาจมีดังต่อไปนี้ เส้นทางชั้นเมนู (Menu-tree navigation) เป็นการเข้าสู่เนื้อหาที่จัดเป็นลำดับชั้นของเมนูที่แตกกิ่งแยกย่อยออกไป และย้อนกลับออกทางเดิมที่เข้าไป เส้นทางปรากฏเมื่อเลือก (Pop-up navigation) เมื่อคลิกรายการที่ต้องการจะมีกรอบรายการปรากฏให้คลิกเลือกรายการที่ต้องการต่อไป เส้นทางแถบแท็บ (Tab-stop navigation) เนื้อหาจัดเป็นระดับหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ผู้ใช้จะไปยังหัวข้อดังกล่าวโดยวิธีการกดแป้นแท็บเหมือนแท็บของแฟ้มเอกสาร เส้นทางดัชนี (Index navigation) จัดทำเป็นตารางสารบัญ ให้เลือกคลิกรายการที่ต้องการ โดยไม่ต้องเข้าไปเป็นชั้นเพื่อไปยังข้อมูล เส้นทางเมนูแบบปล่อย (Pull-down menu) ใช้ภาษาจาวาสคริปต์ในการสร้างเพื่อให้ไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เส้นทางสัญรูป (Iconic navigation) ใช้สัญรูปแทนข้อความ ซึ่งควรมีข้อความประกอบอยู่ด้วย เพื่อความชัดเจนขึ้น เส้นทางพลิกหน้า (Page Turning navigation) เหมาะสำหรับเนื้อหาที่จัดทำในลักษณะบทเรียน เส้นทางประสมประสาน (Combining navigation) เป็นการใช้เส้นทางลักษณะดังกล่าวข้างต้น ประสมประสานให้มีความเหมาะสม การใช้องค์ประกอบมัลติมีเดียเกี่ยวข้องกับการใช้ข้อความ สี กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์ และเสียง ให้มีความเหมาะสม ประสมประสานในการนำเสนอข้อมูลจากเว็บเพจนั้น ๆ ให้น่าสนใจและเกิดการรับรู้ข้อมูลได้ดีขึ้น การวางรูปแบบขององค์ประกอบมัลติมีเดียในเว็บเพจจะต้องมีความคงเส้นคงวา และมีตรรกะ การใช้ข้อความ ไม่ควรบรรจุข้อความเต็มหน้าจอ เพราะทำให้ยากต่อการอ่าน ทำให้รู้สึกน่าเบื่ออาจลดการเรียนรู้ลงได้ ควรใช้การเขียนเป็นแบบโครงร่างรายการแทน อาจใช้วิธีวางรูปประกอบไว้ด้านข้างของข้อความ หรือแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย สิ่งสำคัญของการออกแบบหน้าจอให้มีประสิทธิผล คือ การทำให้หน้าจอนั้นดูธรรมดา และใช้ลักษณะตัวอักษร หัวข้อหลักและหัวข้อย่อยในเว็บเพจแต่ละหน้าอย่างคงเส้นคงวา แสดงการจัดข้อความให้อ่านง่าย การใช้ข้อความ เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบการพิมพ์ที่เหมาะสมกล่าวคือ เลือกลักษณะของตัวอักษร และจัดแถววางแนวของอักษรในแต่ละหน้าของเว็บเพจ โดยมีข้อควรพิจารณาดังนี้ คือ ขนาดของตัวอักษรมีความคงเส้นคงวา ไม่ควรใช้ ตัวอักษรเกินกว่า 2 รูปแบบในภาวะปกติ ไม่เจตนาเน้นคำจนเกินควร จัดข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย และกำหนดช่องว่าง หรือช่องไฟให้เหมาะสม ใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงเพื่อกำหนดทิศทาง การใช้ในลักษณะนี้เป็นการใช้ที่คุ้นเคยกัน ข้อความที่เป็นไฮเปอร์ลิงค์ จะมีเส้นขีดใต้ข้อความสีน้ำเงินด้วยเหตุนี้ในหน้าเว็บเพจ จึงควรมีข้อความเป็นไฮเปอร์ลิงค์ควบคู่กับการใช้ภาพกราฟิกเป็นส่วนกำหนดทิศทางข้อดีของการใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงคือ เข้าถึงข้อมูลเร็ว ดังนั้นถ้าเว็บเพจนั้นใช้ภาพกราฟิกขนาดใหญ่ การใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยงก็จะมีความ เหมาะสม ส่วนข้อเสียคือการใช้ข้อความเป็น ส่วนเชื่อมโยงจะทำให้ดูน่าเบื่อ และถ้ามีมากไปก็จะทำให้ยากต่อการใช้ ในกรณีนี้ควรใช้แถบสีช่วยให้ดูน่ามอง ใช้เป็นเมนูแบบแสดงรายการให้เลือก โดยใช้ภาษาจาวาสคริปต์สร้างเมนูแบบแสดงรายการให้เลือกนี้ จะใช้พื้นที่ในหน้าจอน้อยกว่าการใช้กราฟิก การใช้พื้นหลัง และสี แนวทางปฏิบัติในการใช้พื้นหลัง และสีตัวอักษรมีดังนี้ ถ้าเลือกใช้พื้นหลังสีเข้ม ให้เลือกสีตัวหนังสือสีอ่อน หรือเลือกพื้นหลังสีอ่อนให้เลือกสีตัวหนังสือสีเข้ม ให้ระมัดระวังเมื่อใช้พื้นหลังที่มีลาย ข้อความหรือกราฟิกบนพื้นลวดลายมักจะทำให้อ่านได้ลำบาก ถ้าต้องใช้พื้นหลังที่มีลาย ให้ใช้สีพื้นเรียบเป็นพื้นรองรับส่วนที่เป็นข้อความและกราฟิกนั้นอีกครั้ง การใช้กราฟิก กราฟิกมีทั้งที่เป็นภาพลายเส้น ภาพ 3 มิติ และภาพถ่าย การใช้กราฟิกในเว็บมีเหตุผลหลักอยู่ 3 ประการ คือ เพื่อทำให้เว็บเพจนั้นน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของผู้ใช้เมื่อมาเยี่ยมหน้าแรกของเว็บไซต์ และทำให้หัวข้อเด่นน่าสนใจติดตาม นอกจากนี้ ในการใช้กราฟิกในแต่ละหน้าของเว็บเพจ จะต้องมีความคงเส้นคงวา รูปแบบของการใช้กราฟิกในเว็บเพจ มีดังนี้ ใช้เป็นปุ่มกำหนดทิศทาง(Navigation button) เพื่อช่วยให้ผู้มาเยี่ยมชมใช้เข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากออกแบบได้ดี ปุ่มเหล่านี้จะมองหาและอ่านได้ง่ายกว่าการใช้ข้อความเป็นส่วนเชื่อมโยง ภาพกราฟิกช่วยเพิ่มความเด่น เพิ่มสีสันและลักษณะเฉพาะของเว็บไซต์ จึ งมักพบว่าเว็บไซต์ส่วนใหญ่ใช้กราฟิกเป็นปุ่มกำหนดทิศทาง ข้อดีของการใช้กราฟิกเป็นส่วนกำหนดทิศทาง คือ ทำให้น่าดู คนเรามักจะสะดุดตากับสีสันหรือส่วนที่เปลี่ยนไปที่สำคัญช่วยให้ผู้เข้ามาเว็บไซต์นั้นใช้ได้สะดวก ข้อเสีย คือ หากใช้ขนาดไม่เหมาะสม อาจทำให้ใช้เวลาในการถ่ายโอนนานและดูเกะกะสายตาควรใช้ปุ่มที่มีขนาดของแฟ้มภาพประมาณ 1-5 K และมีความกว้างระหว่าง 60 – 165 จุดความสูง 25 – 60 จุด และไม่ควรใช้เอฟเฟ็กต์ในการแสดงปุ่มมากจนผู้ใช้ไม่เข้าใจว่าเป็นปุ่มไฮเปอร์ลิงค์ และถ้ากำหนดให้มีข้อความปรากฏก่อนภาพ (Alternative text) จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกเชื่อมโยงได้โดยไม่ต้องรอให้ภาพถ่ายโอนมาเสร็จ ใช้เป็นภาพแผนที่ เพื่อช่วยให้ผู้มาเยี่ยมชมเข้าไปยังส่วนต่าง ๆ ของ เว็บไซต์ หากออกแบบได้ดี ภาพแผนที่จะช่วยดึงดูดสายตาในเว็บเพจหน้านั้น ภาพแผนที่เป็นภาพหนึ่งภาพที่เมื่อคลิกส่วนต่าง ๆ ของภาพจะเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าต่างกัน มี ข้อดีคือ ทำให้ผู้ออกแบบสร้างสรรค์ค์กราฟิกให้สวยงามได้มากกว่าการออกแบบปุ่มและในบางครั้งการถ่ายโอนภาพเพียงภาพเดียวจะเร็วกว่าการถ่ายโอนปุ่มหลายปุ่ม ส่วนข้อเสียที่พบคือ การออกแบบสร้างภาพให้สวยงามที่มีความซับซ้อน จะทำให้ใช้เวลาในการถ่ายโอนนาน ใช้เป็นโลโก เพื่อแสดงภาพสัญลักษณ์ขององค์กร โลโกช่วยให้เกิดการจดจำชื่อและเพิ่มความน่ามองให้กับเอกสารหรือเว็บเพจนั้น ใช้เป็นจุดบูลเล็ต (Bullet point) เพื่อดึงสายตาผู้มาเยี่ยมชมให้มองเห็นส่วนหลักของเอกสาร และยังใช้เพื่อคั่นย่อหน้าในเว็บเพจที่มีหลายย่อหน้า ใช้เป็นหัวเรื่อง (Masthead) เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมรู้ว่าอยู่ส่วนไหนของเว็บเพจ โดยอาจเพิ่มภาพคลิปอาร์ต (Clip art) ให้ดูน่ามองขึ้น ใช้เป็นเส้นแบ่งหรือเส้นคั่น (Divider line หรือ horizontal rule)โดยทั่วไปใช้เพื่อกั้นส่วนท้ายของหน้า ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ คำถามและคำตอบ ใช้เป็นภาพพื้นหลัง (Background image) เพื่อให้เว็บเพจดูสวยงามและง่ายสำหรับผู้ใช้ในการเข้าไปในส่วนต่าง ๆ พื้นหลังที่เป็นที่นิยม คือ แถบด้านข้างที่มีส่วนเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ ใช้เป็นหัวข้อ (Heading) ด้วยข้อความที่เป็นกราฟิก เพื่อลดปัญหาการไม่มีรูปแบบอักขระในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ใช้เป็นภาพถ่าย (Photo) มักใช้เพื่อให้เว็บเพจนั้นน่าสนใจด้วยภาพถ่ายของคน ข้อควรพิจารณาในการใช้กราฟิก มีดังนี้ ในภาวะปกติไม่ควรต้องใช้เวลาในการรอให้ภาพปรากฏนานกว่า 10 วินาที ใช้กราฟิกเพื่อเป็นส่วนนำทางผู้อ่าน ไปยังข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ใช้กราฟิกเพื่อทำให้หัวข้อหลักน่าสนใจ และสื่อความหมาย ใช้กราฟิกเพื่อทำให้เว็บเพจหน้านั้น เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของเว็บเพจนั้น และหมาะกับความรู้สึกที่เป็นความต้องการของผู้ใช้ เว็บจะมองดูเหมือนเว็บที่สร้างด้วยมืออาชีพ เมื่อใช้ชุดของกราฟิกที่ประกอบด้วยส่วนที่เป็นเส้นทางเดิน โลโก และหัวเรื่องเท่านั้น เพื่อให้ใช้เวลาในการแสดงผลเร็วใช้กราฟิกอื่นประกอบ ก็ต่อเมื่อเวลาที่ใช้ในการแสดงผลชุดของกราฟิกดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ขนาดของเว็บเพจควรอยู่ระหว่าง 40-60 K ซึ่งเป็นกฎโดยทั่วไป แต่ถ้าจำเป็นต้องมีภาพเว็บเพจ เว็บเพจขนาด 75 K ก็ยังมีความเหมาะสมต่อระยะเวลาในการถ่ายโอนกล่าวโดยสรุป การใช้กราฟิกจะต้องพิจารณาถึงความเร็วในการปรากฏภาพเป้าประสงค์ การเน้นกราฟิก พื้นที่ในการวางหัวข้อ และ “ความรู้สึก” ทั้งนี้กราฟิกในเว็บไซต์ควรมีสี อักขระรูปแบบเดียวกันและใช้การแสดงผลพิเศษแบบเดียวกัน ทั้งนี้ปุ่มทิศทาง หัวเรื่อง บูลเล็ต และเส้นแบ่ง จะดูดีขึ้น เมื่ออกแบบให้ใช้สีใดสีหนึ่งที่มีอยู่ในโลโกของเว็บไซต์นั้น การใช้ภาพเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวมีอิทธิพลต่อการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในสภาพโดยรอบ การที่ต้องอ่านอะไรในสภาพที่มีสิ่งเคลื่อนไหวไปมาโดยรอบ จะทำให้รู้สึกรำคาญ จึงไม่ควรมีภาพเคลื่อนไหวถาวรในหน้าเว็บเพจ เพราะจทำให้ผู้ใช้ไม่มีสมาธิในการอ่านข้อความนอกจากนี้ ก่อนจะใช้ภาพเคลื่อนไหวควรตรวจสอบโฮมเพจที่สร้างก่อนว่าง่ายต่อการอ่านง่ายต่อการไปยังส่วนต่าง ๆ มีความคงเส้นคงวาในการออกแบบ และใช้เวลาไม่นานในการปรากฏหรือไม่ เพราะภาพเคลื่อนไหวหรือเทคนิคพิเศษที่ใช้จะเพิ่มเวลาในการปรากฏและภาพเคลื่อนไหวบางชนิดจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับแสดงผลก่อน จึงจะแสดงผลได้เช่น โปรแกรม Shockwave Player และโปรแกรม Flash Player การนำภาพเคลื่อนไหวมาใช้ ต้องพิจารณาข้อดีและความเหมาะสมในการนำมาใช้และมีจุดประสงค์ในการนำเสนอ ดังนี้ 1) แสดงความต่อเนื่องของภาพที่เปลี่ยนแปลงไป 2) บ่งบอกขนาดและมิติในการเปลี่ยน 3) แสดงการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา 4) แสดงสิ่งหลากหลายอย่าง 5) ทำให้ภาพกราฟิกน่าสนใจมากขึ้น 6) ช่วยในการมองโครงสร้าง 3 มิติ 7) ใช้ดึงดูดความสนใจในช่วงเริ่มต้น แล้วให้หยุดนิ่งเพื่อไม่ให้น่ารำคาญ 8) เพื่อให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล การใช้วีดีทัศน์ การใช้วีดิทัศน์บนเว็บ อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับความกว้างของช่องสัญญาณ จึงควรมีให้น้อยที่สุด ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้ ควรใช้การแสดงผลวีดิทัศน์ที่สั้นและใช้พื้นที่น้อยใช้เพื่อเป็นส่วนเสริมข้อความและภาพ มากกว่าการใช้ส่วนหลักของเนื้อหาในเว็บไซต์การใช้วีดิทัศน์มีข้อดีและมีความเหมาะสมในกรณีต่อไปนี้ 1) มีการนำเสนอในลักษณะของรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ 2) ให้ผู้ใช้ประทับใจในบุคลิกภาพของผู้พูด และรับประสบการณ์เพิ่มขึ้น 3) แสดงสิ่งที่เคลื่อนไหว เช่น ส่วนของการเต้นบัลเลย์ หรือการสาธิต การใช้เสียง เสียงไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบฉาก ช่วยในการนำเสนอเว็บน่าสนใจ ข้อมูลที่เป็น RealAudio ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ข้อมูลเสียงในเว็ลจากเดิมที่ต้องรอให้แฟ้มเสียงมีการถ่ายโอนมาก่อนแล้วจึงเปิดฟังได้ มาเป็นการเรียกฟังได้ในทันทีทันใด ทำให้เว็บเพจนั้นมีชีวิตชีวาการใช้เสียงกันเช่นเดียวกับการใช้ข้อความและภาพ ที่จะต้องมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเวลาและโอกาส นั่นหมายความว่า บางทีการไม่ใช้เสียงอาจมีความเหมาะสมกว่าการใช้เสียง ประโยชน์หลักของการใช้ข้อมูลที่เป็นเสียงมีดังนี้ ช่องของการสื่อด้วยเสียง แยกออกจากการแสดงผลในลักษณะอื่น จึงไม่กระทบต่อข้อมูลบนหน้าจอ เสียงพูดใช้เพื่อเสริมการช่วยเหลือ หรือให้คำแนะนำ เสียงพูดใช้แทนวีดิทัศน์ เพื่อช่วยให้จินตนาการถึงบุคลิกลักษณะของผู้พูด ทั้งนี้การใช้เสียงบนเว็บอาจเป็นเสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงประกอบต่าง ๆ เสียงดนตรีเป็นรูปแบบของเสียงที่ใช้กันมาก ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ การแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้ และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้ ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้ ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่างๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูดการใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบการณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นักจิตวิทยาท่านหนึ่งชื่อ เจโรม บรุนเนอร์ (Jerome Bruner) ได้ออกแบบโครงสร้างของกิจกรรมการสอนไว้รูปแบบหนึ่ง โดยประกอบด้วยมโนทัศน์ด้านการกระทำโดยตรง (Enactive) การเรียนรู้ด้วยภาพ (Iconic) และการเรียนรู้ด้วยนามธรรม(Abstract) เมื่อเปรียบเทียบกับกรวยประสบการณ์ของเดลกับลักษณะสำคัญ 3 ประการของการเรียนรู้ของบรุนเนอร์แล้วจะเห็นว่ามีลักษณะใกล้เคียงและเป็นคู่ขนานกัน องค์ประกอบของกราฟิก • ตัวอักษร(typographic) • สัญลักษณ์(symbol) • ภาพประกอบ(illustrator) • ภาพถ่าย(photography) ความแตกต่าง การออกแบบ เป็นการใช้กระบวนการคิดแบบ จินตนาการ อิสระ และสร้างสรรค์ การวางแผน เป็นการใช้ความคิดเป็นขั้นตอน ที่จะนำไปสู่รูปแบบของจินตนาการ กระบวนการออกแบบ 1. พิจารณาเนื้อหา 2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย 3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน 4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3 องค์ประกอบของทัศนศิลป์ เส้น สี จุด พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง สี เส้น สี สี พื้นผิว พื้นผิว จุด จุด สี เส้น สี color สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่างๆตามคุณลักษณะของแสงสะท้อน มิติ การใช้สีในการออกแบบ • มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น • มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน • มิติ..สีมืด/สีสว่าง มิติ การใช้สีในการออกแบบ • การใช้สีกลมกลืน/สีตัดกัน • สีกลมกลืน นุ่มนวลอ่อนหวาน เป็นกันเอง พวกเดียวกัน • สีตัดกัน ตื่นเต้น ขัดแย้ง ลึกลับ จริงจัง แข็งแรง อันตราย มิติ การใช้สีในการออกแบบ • มิติการใช้สีมืด/สีสว่าง • สีมืด มั่นคง ลึกลับ เข้มแข็ง จริงจัง ลดปริมาณพื้นที่ • สีสว่าง เปิดเผย กว้างขวาง เป็นกันเอง เพิ่มปริมาณพื้นที่ เส้น Line เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกันหน้าที่สำคัญของเส้นคือการแสดงทิศทาง ลักษณะของเส้นจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง กลุ่มเส้นตรง เส้นตรงตั้งฉาก ให้ความรู้สึกมั่นคง สง่า มีอำนาจเส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน กลุ่มเส้นไม่ตรง เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน เส้นคด ให้ความรู้สึกสับสน งุนงง กังวล เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น พื้นผิว texture พื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ พื้นผิวมี 2 มิติ ได้แก่ 1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ 2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาว การใช้พื้นผิวกับการออกแบบ 1. พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง เป็นทางการ 2. พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกน่ากลัว ลึกลับ ขบขัน 3. พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบาย ๆ เฉื่อยชา 4. พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว ฉาบฉวย จุด Dot เป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็กที่สุดทำหน้าที่สำคัญคือการแสดงตำแหน่งการวางจุดตั้งแต่2 จุดขึ้นไปเรียงไปทิศทางเดียวกันจะทำให้ดูเป็นเส้นแต่ถ้าวางจุดไว้ตำแหน่งใกล้กันเป็นกลุ่มก้อนจะแลดูเป็นรูปร่างรูปทรง รูปร่าง Form รูปร่างเป็นลักษณะของพื้นที่ภายในที่ถูกล้อมรอบด้วยเส้นเส้นเดียวที่ลากปลายทั้งสองด้านมาบรรจบกันหรือปลายด้านใดด้านหนึ่งลากไปบรรจบช่วงใดช่วงหนึ่งของเส้นเดียวกันก็ทำให้เกิดรูปร่างได้ ส่วนพื้นที่ด้านนอกของรูปร่างเรียกว่า “พื้น” (ground)รูปร่างมี 2 มิติคือความกว้างกับความยาว รูปทรง Shape รูปทรง มีลักษณะเหมือนกับรูปร่าง แต่รูปทรงมี 3 มิติ ได้แก่ ความกว้าง ความยาว และความหนาหรือความลึก การจัดภาพ COMPOSITION ความหมาย การจัดภาพ หมายถึง การนำองค์ประกอบต่างๆ มาเรียบเรียงหรือ จัดวางให้ได้ภาพตามที่ต้องการ การจัดภาพจึงเป็นการออกแบบ เพื่อการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้เป็นรูปธรรม หลักการออกแบบ การออกแบบให้บรรลุวัตถุประสงค์ควรคำนึงถึงหลักใหญ่ๆ 2 ประการคือ 1. หน้าที่ (function) ของชิ้นงาน 2. ความสวยงาม(beauty) ของชิ้นงาน หลักการจัดภาพ 1. ความสมดุล (balance) 2. การเน้น (emphasis) 3. ความเป็นเอกภาพ (unity) หลักการการออกแบบเว็บที่ดีเป็นอย่างไร หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวหรือแน่นอนเพราะเว็บไซต์แต่ละเว็บย่อมมีแนวทางในการออกแบบที่แตกต่างกัน เว็บไซต์แต่ละเว็บไม่สามารถนำมาปรับใช้หรือประยุกต์ใช้ด้วยกันได้ แต่การออกแบบเว็บที่ดีต้องอย่าลืมคำนึงถึงเป้าหมายของเว็บด้วย ว่าเว็บไซต์ที่กำลังจะลงมือสร้างขึ้นมานี้มีเป้าหมายอะไรบ้าง โดยกำหนดเป็นขอบเขตให้เห็นชัดเจนก่อน การออกแบบเว็บด้วยรูปแบบที่มีสีสันพร้อมกับเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นกราฟฟิกหรือรูปภาพ เสียง วีดิโอ และส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งในการออกแบบถ้าหากเรามีหลักการสร้างหรือการเขียนเว็บที่ดีก็จะมีส่วนทำให้เว็บของเรานั้นมีจุดเด่น หรือน่าสนใจ ได้รับความรุ้สึกที่ดีจากผู้ใช้บริการ แนวคิดในการออกแบบเว็บไซต์ เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและไม่หยุดนิ่ง สิ่งที่รู้สิ่งเห็นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกาลเวลาที่เดินหน้าตลอด การออกแบบเว็บก็เช่นกัน ถ้าออกแบบเว็บแล้วมันดูล้าสมัยไม่ทันกับเหตุการณ์ยุคปัจจุบันแล้วใครๆ ก็ไม่อยากเข้าไปเยี่ยมชมหรือใช้บริการเลย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ออกแบบเว็บจะต้องศึกษาและมีการพัฒนาตัวเอง ติดตามเคลื่อนไหวของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ หรือถ้าเรียนรู้ศึกษาให้ก้าวล้ำหน้าคู่แข่งนั้นหมายถึงท่านเป็นผู้นำ การที่จะขึ้นเป็นอันดับหนึ่งนั้นไม่อยากเกินความสามารถแต่การที่จะครองอันดับหนึ่งนั้นมันอยากเหลือเกิน ส่วนการติดตามความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีหรือการค้นหาสิ่งที่ทันสมัยกว่าจะต้องเลือกสรรในสิ่งที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์การเริ่มต้นใหม่อาจจะมองหาจุดเริ่มต้นลำบากหน่อย แต่ก็ไม่เกินความสามารถ มีหลายเว็บไซต์ที่สามารถนำมาเป็นตัวอย่างในการออกแบบได้อย่างดีเยี่ยม แต่ต้องมีหลักการที่ว่านี้ คือการตั้งโจทย์ให้ตนเองได้คิดมีกระบวนการ มีขั้นตอน และก็การวางแผนการดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิดแนวความคิดใหม่ คิดในสิ่งที่สร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการออกแบบแล้วการเริ่มต้นก็จะบังเกิดขึ้นที่ตัวคุณได้ พยายามนำเอากรอบความคิดที่กว้างทำให้แคบลงแล้วก็จะได้คำตอบเอง ขั้นตอนการออกแบบเว็บ 1. เข้าใจวัตถุประสงค์ก่อนการออกแบบเว็บ 2. ออกแบบให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย 3. ออกแบบหน้าโฮมเพจอย่างมีสไตล์ 4. จัดรูปแบบโครงสร้างเว็บอย่างเหมาะสม 5. จัดหมวดหมู่และหัวข้อให้เข้าใจง่าย 6. เน้นการเข้าถึงเว็บด้วยความรวดเร็ว 7. การแสดงผลหน้าเว็บเบราเซอร์ 8. การใช้สัญลักษณ์รูปภาพกราฟฟิกสำหรับเว็บไซต์ 9. การเลือกสีอย่างถูกหลักตามทฤษฎี 10. การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับให้หน้าอ่าน
Posted on: Mon, 01 Jul 2013 14:01:45 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015