24072556 เอ็นจีโอ - TopicsExpress



          

24072556 เอ็นจีโอ นิดหนึ่ง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อปี ๒๔๘๘ มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ (United Nation : UN) ขึ้น โดยให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน และเพื่อเป็นการประกันความมั่นคง และสันติภาพของโลกและมวลมนุษยชาติ กฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) จึงมีตัวบท หรือมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนหลายข้อรวมถึงมีการจัดตั้งกลไกต่าง ๆ เพื่อดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน กลไกเหล่านี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการรับรองให้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประเทศสมาชิกในกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว มีพันธกรณีที่ต้องผูกพันตามกฎหมาย และ/หรือ ทางจริยธรรมที่ต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งประเทศไทยที่มีความมุ่งมั่นในการยึดถือ และเคารพหลักการสำคัญต่าง ๆ ของสิทธิมนุษยชน ได้แสดงให้เห็นโดยการเข้าร่วมเป็นภาคีกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเมื่อปี ๒๔๘๙ ซึ่งตลอดระยะเวลา ๖๓ ปี ที่ผ่านมา ไทยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสันติภาพการเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจในกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างสหประชาชาติ และให้ความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาอย่างแข่งขัน อีกทั้งไทยยังได้ปรับปรุงการจัดทำกฎหมาย และแผนงานต่าง ๆ เพื่อคุ้มครอง และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง “สิทธิมนุษยชน” อย่างมาก สำหรับบทบาทของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ มีการประกาศบังคับใช้รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ในมาตรา ๒๕๖ และมาตรา ๒๕๗ กำหนดให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human Rights Commission) เป็นองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับตั้งแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว วาระละ ๖ ปี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานข้าราชการฝ่ายรัฐสภาสามัญทำหน้าที่ปฏิบัติราชการทั้งนี้ภายใต้อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและของประชาชน ประกอบด้วย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ความเป็นสากล และการคำนึงถึง สิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือกฎหมายไทยหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม เป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องมวลมนุษยชาติที่เกิดขึ้นหลังยุคสงครามเย็น ที่มีการแย่งชิงทรัพยากรต่าง ๆ ของโลก มาสนองตอบต่อการพัฒนาของแต่ละประเทศที่มีการแข่งขัน และเชื่อมโยงกันอย่างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ที่มีความแตกต่าง หลากหลาย ทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม และศาสนา จนเกิดมิติของสงครามรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาของมนุษยชาติ โดยมีรูปแบบของการสร้างสงครามในมิติของความเชื่อ และความต่างของชาติพันธุ์ หรือศาสนา นำเข้าสู่ยุคของการเกิดสงครามการก่อการร้าย (Terrorism) ซึ่งสร้างปัญหาให้กับโลกเสรีนิยม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยการสร้างข้อขัดแย้งที่มุ่งสู่การอ้างถึงการถูกกดขี่ การถูกแย่งชิงทรัพยากร จนถึงความศรัทธาในศาสนา ทำให้เกิดการต่อสู้ระหว่างคู่สงคราม หรือคู่ขัดแย้ง จนเป็นสาเหตุให้มีการละเมิดต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในวงกว้าง ซึ่งเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย สถานการณ์ความขัดแย้งของสงคราม ที่มีขบวนการจัดตั้งในรูปแบบองค์กรลับ โดยมุ่งหวังสร้างสงครามประชาชนเพื่อสู่เป้าหมายของการแบ่งแยกรัฐออกจากประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ทำให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และทรัพย์สิน ทั้งภาครัฐ และเอกชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นประชาชนชาวไทยพุทธ-ไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ที่ไม่มีอาวุธ และไม่ใช่คู่ขัดแย้งของการทำสงครามแบ่งแยกรัฐโดยตรง ซึ่งการกระทำความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของกลุ่มขบวนการที่มีการจัดตั้ง และปิดลับเคลื่อนไหวในการก่อการอย่างเป็นระบบ จึงเป็นเหตุให้องค์กรภาคประชาสังคมทั้งใน และต่างประเทศ รวมทั้งองค์กรที่เกิดจากผู้ได้รับผลกระทบ รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐๐ องค์กร เข้ามาเคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางองค์กรซ้ำเติมสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน แสวงผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดให้มีพื้นที่ให้ขบวนการแบ่งแยกรัฐ มีการจัดตั้งเครือข่ายองค์กร หรือมูลนิธิบังหน้าเพื่อรับเงินบริจาค เงินสนับสนุนจากต่างประเทศ หรือเคลื่อนไหวเปิดทางให้กับกลุ่มขบวนการได้ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างความได้เปรียบ และเพิ่มอำนาจต่อรองกับภาครัฐอย่างต่อเนื่อง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ในขณะที่ผู้บริสุทธิ์ต้องล้มตาย บาดเจ็บ และรัฐบาลไทยมีความพยายามแก้ไขปัญหาให้ยุติโดยเร็ว และยั่งยืนในแนวทางสันติวิธี คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยฝ่ายความมั่นคงเองที่ต้องทำงานภายใต้ความกดดันของสภาวะสถานการณ์ที่มีความแตกต่าง ในเรื่องของอัตลักษณ์ และศาสนา จนทำให้สถานการณ์ในพื้นที่เกิดความเข้าใจ และมีแนวโน้มพัฒนาดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจที่ฝ่ายความมั่นคงเองกลับถูกโจมตีจากกลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเด็นที่ทางฝ่ายรัฐเองก็ออกมายอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในอดีต จากกับดักของกลุ่มขบวนการที่วางไว้เพื่อสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับรัฐและประชาชนไทยพุทธ กับมุสลิม เช่น เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะ เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๔, เหตุการณ์ตากใบ เมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๗, มัสยิดอัลฟูลกอน บ้านไอปาร์แย เมื่อ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๒ หรือ เหตุการณ์บ้านปุโละปูโย เมื่อ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๔ ซึ่งทั้งหมดรัฐเองได้ดำเนินการทุกขั้นตอนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มก็ยังเคลื่อนไหวโจมตีฝ่ายความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้องค์กรนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิในการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายพิเศษ ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้เกิดกระแสกดดันรัฐให้ยกเลิกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ ทั้งที่ในพื้นที่เองยังมีการสังหารผู้บริสุทธิ์จากการกระทำของกลุ่มขบวนการอย่างต่อเนื่อง (Serial Crime) และกฎหมายพิเศษนี่เอง ที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดตามจับกุมผู้กระทำผิดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังจำกัดเสรีไม่ให้กลุ่มขบวนการเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี เป็นการปกป้องชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างได้ผลที่สุด และประชาชนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ เลย จากกฎหมายพิเศษนี้ นอกจากขบวนการก่อเหตุรุนแรง และองค์กรสิทธิมนุษยชนบางกลุ่ม ย้อนรอยมองกลับไปดูความหลงลืมของกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวโจมตีหน่วยงานความมั่นคง ที่ไม่สนใจหรือประณามการกระทำอันโหดเหี้ยมทารุณ และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง ของกลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรงแบ่งแยกดินแดน กระทำต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ พระสงฆ์ ครู เด็ก สตรี รวมถึง วัด โรงเรียน สถานพยาบาลที่ถูกทำลาย และสาธารณสมบัติของชาติที่สูญเสีย จากการกระทำของกลุ่มขบวนการ ทั้งที่ประชาชนเหล่านั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่ขัดแย้งของการต้องการแบ่งแยกดินแดนแม้แต่น้อย ดังเช่น เมื่อ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ครูจูหลิง ปงกันมูล ครูโรงเรียนบ้านกูจิงรือปะ ครูสาวจากเชียงรายที่เลือกที่จะมาให้ความรู้กับลูกหลานพี่น้องจังหวัดภาคใต้ แต่กลับถูกซ้อมทรมาน และสังหารอย่างโหดเหี้ยม อีกทั้งถูกบันทึกภาพเผยแพร่นาทีการทำร้ายทรมาน จากน้ำมือของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน สร้างความเสียใจให้กับพี่น้องประชาชนไทยทั้งประเทศก่อนหน้านั้นเมื่อ ๒๑ กันยายน ๒๕๔๘ การทรมาน และสังหาร ๒ นาวิกโยธิน อย่างโหดเหี้ยมผิดมนุษย์ ขณะที่รถเสีย ระหว่างจะเข้าไปช่วยชาวบ้านที่ได้รับบาดเจ็บจากการกราดยิงชาวบ้านของกลุ่มขบวนการและก่อนหน้า ๒ นาวิกโยธินเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ ผู้ก่อเหตุรุนแรงสังหารพระและลูกศิษย์วัด พร้อมจุดไฟเผา ๓ ศพ ที่วัดพรมประสิทธิ์ อ.ปะนาระ จังหวัดปัตตานี มาในช่วงหลังคือการสังหารผู้นำท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ที่เป็นไทยพุทธ และมุสลิม พร้อมกับปล้นเงินค่าตอบแทน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เกือบสามแสนบาท เพื่อสร้างความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ห้วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน ๒๕๕๕ และ ที่สำคัญที่สุดคือการลอบสังหาร นายมุคตาร์ กีละ หัวหน้าพรรคประชาธรรม เมื่อ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ซึ่งคนร้ายเป็นกลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรงพื้นที่กูจิงรือปะ และเป็นหนึ่งในคนร้ายที่รุมทำร้ายครูจูหลิง แต่โชคดีคนร้ายถูกยิงเสียชีวิต พร้อมอาวุธ โดยชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ไม่เช่นนั้นแล้วเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นอาหารจานร้อนที่องค์กรสิทธิมนุษยชน จะเสิร์ฟให้ฝ่ายความมั่นคงทันที เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นสถิติที่ประชาชนชาวไทยพุทธทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ครู พระสงฆ์ เจ้าหน้ารัฐ ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม สถานศึกษา วัด ถูกเผา หรือแม้แต่ ประชาชนชาวไทยมุสลิมเองที่สถิติการถูกสังหารสูงขึ้นมากกว่า ๔,๐๐๐ ราย ทำไมกลุ่มสิทธิมนุษยชนถึงมองข้าม หรือมองไม่เห็นความเป็นมนุษย์ด้วยความเท่าเทียมกัน และถูกละเมิดอย่างโหดเหี้ยมของเขาเหล่านั้น แต่กลับไม่เคยมีองค์กรสิทธิมนุษยชน หรือองค์กรนักศึกษากลุ่มไหนเลยที่ออกมาประณาม เรียกร้องให้กลุ่มขบวนการหยุดการกระทำ หรือเรียกร้องสิทธิของความเป็นมนุษย์ให้พวกเขาเหล่านั้น โดยเฉพาะองค์กรสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเอง การประณาม เรียกร้องให้กลุ่มขบวนการก่อเหตุรุนแรง แบ่งแยกดินแดนในประเทศไทย หยุดกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์กลับกลายเป็น องค์กรสิทธิมนุษยชนของต่างประเทศที่แสดงจุดยืนที่แน่นอนของศักดิ์ศรีความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนที่ถูกกระทำจากฝ่ายกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดนเช่น เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ องค์การนิรโทษกรรมสากล เผยแพร่เอกสาร “ผู้ก่อเหตุรุนแรงละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยการโจมตีพลเรือน” (Insurgents abusing human rights with attacks on civilians) ผิดต่างจากองค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่กลับโจมตีต่อฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายความมั่นคง รวมทั้งไม่กล้าที่จะปริปากประณามหรือเรียกร้องให้ฝ่ายขบวนการหยุดการกระทำ ไม่ว่าเพราะเกรงกลัว หรือด้วยเพราะการนำเสนอรายงานการผิดพลาดของรัฐบาล สู่สายตาของชาวต่างประเทศ สามารถนำมาซึ่งการขอทุนจากต่างประเทศในปีหนึ่งไม่ ต่ำกว่า ๒๐ ล้านบาท เพื่อนำมาเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยอย่างเพียงพอทั่วถึง จึงจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ฝ่ายรัฐ และฝ่ายความมั่นคงพยายามใช้แนวทางสันติวิธีรวมถึงการเปิดทางให้ผู้นำขบวนการได้หันมาเจรจาเพื่อยุติสงครามที่เกิดขึ้นกับประชาชน แต่กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนบางกลุ่ม กลับแกล้งมองข้ามถึงการมีอยู่จริงของขบวนการที่เคลื่อนไหว ปิดลับอยู่ในต่างประเทศ และยังมุ่งติดตาม เคลื่อนไหวตรวจสอบข้อผิดพลาดของรัฐที่ดูเหมือนติดกับดักของกลุ่มขบวนการโดยมีโอกาสเมื่อไร เป็นต้องรีบฉกฉวยสร้างผลงานให้ประชาคมโลกได้รับรู้ เพื่อให้กลุ่มขบวนการได้สำแดงพลังเรียกร้องต่อรองกับรัฐเพื่อแบ่งแยกดินแดนได้อย่างเต็มที่ ทั้งที่ผู้บาดเจ็บ ล้มตาย คือประชาชนชาวไทยผู้บริสุทธิ์ สุดท้ายความสูญเสียคือแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย เสมือนการมองข้ามความเป็นชาติ และสนับสนุนกลุ่มขบวนการด้วยความตั้งใจ ทั้งนี้การปฏิบัติตนเสมือนหนึ่งเป็น “แนวร่วมขบวนการ” หรือ “แนวร่วมมุมกลับ” ขององค์กรสิทธิมนุษยชนเหล่านั้นก็ทำให้รัฐบาล และฝ่ายความมั่นคงเอง ต้องเร่งสร้างความเข้าใจ กับทุกหน่วยทุกองค์กร โดยเฉพาะองค์กรสิทธิมนุษยชนให้ร่วมกันแก้ปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อน จากการกระทำของกลุ่มขบวนการแบ่งแยกดินแดน ร่วมกันด้วยใจจริง
Posted on: Wed, 24 Jul 2013 07:36:57 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015