7 - TopicsExpress



          

7 อักษรย่อภาษาอังกฤษที่ใช้บ่อยในที่ทำงาน (7 Common Workplace Abbreviations) • ASAP (เอ-แซพ หรือ เอ-เอส-เอ-พี) • RSVP • ATTN (Attention) • CEO • No. (Number) • N/A • PR “ASAP” (อ่านว่า เอ-แซพ หรือ เอ-เอส-เอ-พี) ซึ่งย่อมาจาก “As Soon As Possible” หรือมีความหมายว่า “เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้” ยกตัวอย่างเช่น อาจมีคนพูดกับคุณว่า “I need that report ASAP!” ความหมายของเขาก็คือ “ฉันต้องการรายงานนั้นเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” นั่นเอง จะอ่านว่า “เอ-แซพ” หรือ “เอ-เอส-เอ-พี” ก็มีความหมายเหมือนกัน คือ “เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้” “RSVP” ตัวย่อนี้มาจากวลีภาษาฝรั่งเศสที่ว่า “Repondez Sil Vous Plait” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “Please Respond” นั่นเอง จริงๆไม่ต้องจำภาษาฝรั่งเศสก็ได้ “RSVP = Please Respond” หรือ “กรุณาตอบกลับ” ปรกติแล้วเราจะไม่ใช้ RSVP ในภาษาพูด ส่วนใหญ่เราจะเจอในภาษาเขียนเท่านั้น อาจจะเขียนลงท้ายในอีเมล หรือในบัตรเชิญไปงานสังคม (Social Event) ต่างๆ และมักจะบอกด้วยว่าให้คุณตอบกลับทางไหน (RSVP by phone, e-mail, mail, etc.) ก็คือให้ RSVP ตอบกลับว่าคุณจะไปร่วมงานนั้นๆหรือไม่ ในภาษาพูดอาจจะได้ยินบ้าง เช่นในประโยคว่า “Are you going to……’s wedding? Have you RSVP?” ซึ่งแปลว่า “คุณจะไปงานแต่งงานของ...... หรือเปล่า คุณตอบกลับไปหรือยัง” นั่นเอง ตัวย่อต่อไป เราจะไม่ใช้ในภาษาพูดเลย แต่คุณจะเห็นได้บ่อยๆบนเอกสารที่ส่งแฟกซ์มาในที่ทำงาน ATTN ย่อมาจาก “Attention”ยกตัวอย่างเช่น บนหัวกระดาษแฟกซ์คุณอาจจะเห็นมีเขียนมาว่า “ATTN: Joe Smith” ความหมายก็คือ แฟกซ์แผ่นนี้ส่งถึงคุณ โจ สมิทธ์ เพราะฉะนั้นคุณควรจะส่งแฟกซ์นี้ต่อให้คนๆนั้น และ ATTN ต้องเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอนะคะ ตัวย่อต่อไปเป็นตัวที่สำคัญมากเลย นั่นก็คือ “CEO” ซึ่งย่อมาจาก Chief Executive Officer คนที่เป็น CEO ก็คือนายใหญ่ของบริษัท เป็นท่านประธานของบริษัท เวลาอ่านต้องอ่านว่า ซี-อี-โอ ตัวต่อไปที่คุณมักเห็นเวลาทำงานคือตัวย่อนี้ “No.” คำนี้ไม่ใช่คำว่า “No” ที่ตรงข้ามกับ “Yes” แต่เป็นคำย่อมาจากคำว่า “Number” หรือ “หมายเลข” นั่นเอง เพราะฉะนั้นคุณอาจจะเห็นเขียนเอาไว้ว่า “No.1” ซึ่งหมายความว่า “หมายเลข 1” และมีความหมายเดียวกันกับ “#1” “N/A” เวลาพูด เราจะออกเสียงว่า “เอ็น-เอ” นะคะ และความหมายของมันก็คือ “Not Applicable” ในชีวิตประจำวัน เราจะไม่ตัวย่อนี้ในภาษาพูด จะใช้ในภาษาเขียนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณตอบแบบสอบถาม แล้วมีให้กรอกชื่อสามีหรือภรรยา ถ้าคุณยังไม่ได้แต่งงาน คุณก็จะต้องเขียนในช่องนั้นว่า “N/A” คือ “ไม่มี” นั่นเอง ตัวย่อตัวสุดท้ายของเราคือ “PR” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Public Relations” หรือ “แผนกประชาสัมพันธ์” แผนกประชาสัมพันธ์มีหน้าที่สื่อสารข่าวของบริษัทออกไปให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ บางครั้งคุณอาจจะได้ยินคนเรียกเต็มๆว่า “Public Relations Department” แต่บ่อยครั้งที่เราจะเรียกย่อลงมาว่าเป็น “แผนกพีอาร์” (PR Department) หรือว่าใช้เรียกคนที่ทำงานใน “วงการพีอาร์” ก็ได้เหมือนกัน เวลาเขียนก็จะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และออกเสียงว่า “พี-อาร์”
Posted on: Fri, 21 Jun 2013 08:42:12 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015