Beautiful Indonesia.. The Indonesian archipelago consists of - TopicsExpress



          

Beautiful Indonesia.. The Indonesian archipelago consists of three main regions. One of the regions consists of Sumatra, Java, Kalimantan, and the islands that lie between them, which stand on the Sunda shelf, where the ocean depths are never more than 210 m (700 ft). Another region consists of Irian Jaya and the Aru Isles, which stand on the Sahul shelf, projecting northward from the north coast of Australia at similar depths. Between these two shelves is the remaining region, consisting of the Lesser Sunda Islands, the Maluku Islands (Moluccas), and Sulawesi, which are surrounded by seas with depths that reach 4,570 m (15,000 ft). The large islands have central mountain ranges rising from more or less extensive lowlands and coastal plains. Many inactive and scores of active volcanoes dot the islands, accounting for the predominantly rich volcanic soil that is carried down by the rivers to the plains and lowlands; there are over 100 volcanoes. Peaks rise to 3,650 m (12,000 ft) in Java and Sumatra. Java, Bali, and Lombok have extensive lowland plains and gently sloping cultivable mountainsides. Extensive swamp forests and not very fertile hill country are found in Kalimantan. Sumatras eastern coastline is bordered by morasses, floodplains, and alluvial terraces suitable for cultivation farther inland. Mountainous areas predominate in Sulawesi. dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec2.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec3.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec4.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec5.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec10.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec11.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec8.jpg dmc.tv/images/00-iimage/570709-aec9.jpg ทำเลที่ตั้ง ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซียตั้งอยู่ใต้สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวทอดยาวไปตามเส้นศูนย์สูตร รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยวหงาย นอกจากจะเป็นจุดแบ่งทวีปเอเชียแล้ว ยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกอีกด้วย ทิศเหนือของเกาะบอร์เนียวติดกับรัฐซาราวักและรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะอีเรียนจายาติดกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์ ทิศตะวันออก ติดกับประเทศปาปัวนิวกินี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเกาะสุมาตราติดกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนกั้น อินโดนีเซียมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะที่มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ คือมีทั้งภูเขาสูง ภูเขาไฟ เทือกเขาสูง ที่ราบ บางเกาะมีลักษณะภูมิประเทศทั้งหมดนี้รวมอยู่ด้วยกัน เกาะ ที่จัดว่ามีความสำคัญทางธรรมชาติและเศรษฐกิจของอินโดนีเซียมีอยู่หลายเกาะ ได้แก่ เกาะสุมาตรา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย มีเนื้อที่ประมาณ 473,600 ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองท่าเก่าแก่ที่พ่อค้าเดินเรือนิยมขึ้นฝั่งในสมัยก่อน เกาะชวา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ เป็นเกาะที่มาความเจริญมากที่สุด มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด และเป็นที่ตั้งของกรุงจาการ์ตา เกาะบอร์เนียว (เกาะกาลีมันตัน) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เกาะซูลาเวซี อยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะบอร์เนียว เป็นสถานท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ เกาะปาปัวนิวกินี อยู่ติดกับรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าชธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก หมู่เกาะซุนดาน้อย อยู่ทางทิศตะวันออกเขาเกาะชวา ประกอบไปด้วย เกาะเล็กๆ ที่สวยงามและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม เช่น เกาะบาหลี เกาะลอมบอก เกาะซุมบาวา เป็นต้น หมู่เกาะโมลุกกะ อยู่ในบริเวณทะเลบันดา ประกอบด้วยเกาะเล็ก เกาะน้อยมากมาย เป็นหมู่เกาะที่อุดมไปด้วยเครื่องเทศ เกาะใหญ่ 5 เกาะ ในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซียประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 เกาะ คือ เกาะสุมาตรา เกาะกาลีมันตัน เกาะซูลาเวซี เกาะชวา และ เกาะอีเรียนจายา (ปาปัวตะวันตก) ภูเขาไฟเซเมรู ที่สูงที่สุดในอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ ในอินโดนีเซียมีทั้งที่สงบแล้วและยังคงปะทุอยู่ เช่น ภูเขาไฟเซเมรู อยู่ฝั่งตะวันออกของเกาะชวา สูงถึง 3,676 เมตร จัดเป็นภูเขาไฟที่สูงที่สุด ภูเขาไฟเมราปิ อยู่ตอนกลางของเกาะชวา สูง 2,914 เมตร เป็น ภูเขาไฟที่พร้อมปะทุตลอดเวลา ภูเขาไฟบาตูร์ ตั้งอยู่บนเกาะบาหลี มีความสูง 1,777 เมตร เคยระเบิดเมื่อปี ค.ศ. 1917 และ ค.ศ. 1926 ภูเขาไฟอากุง ตั้งอยู่บนเกาะบาหลี มีความสูง 3,142 เมตร เคยระเบิดคร่าชีวิตผู้คนนับหมื่นไปแล้วเมื่อ ค.ศ. 1963 ยอดเขาปุนจักจายา อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีภูเขาไฟมากที่สุดในโลก เทือกเขา อินโดนีเซียมีเทือกเขาสูงมากมายกระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ เช่น เทือกเขาบูกิตบาริซาน อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา มียอดเขาเกรินจีเป็นจุดสูงสุด เทือกเขาซูดีร์มาน ในจังหวัดปาปัว มียอดเขาปุนจักจายา ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตโอเชียเนีย และเทือกเขาเมากี มียอดเขาปุนจักตรีโกราที่มีความสูงรองจากปุนจักจายาตั้งอยู่ เขตโอเชียเนีย (Oceania) หมายถึง กลุ่มประเทศและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ต้องเผชิญภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามึบ่อยครั้ง เนื่องจากเกือบทั้งประเทศตั้งอยู่ในแนว “วงแหวนแห่งไฟ” หรือรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนตัว ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมหาศาล แม่น้ำ เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซียอยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุดตลอดปีและพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำและทะเลสาบมากมาย เช่น แม่น้ำคาปูอัส แม่น้ำสายยาวที่สุดของประเทศ อยู่บนเกาะกาลีมันตันตะวันตก แม่น้ำโซโล แม่น้ำสายยาวที่สุดบนเกาะชวา แม่น้ำมูซิ และแม่น้ำยาตังฮารี บนเกาะสุมาตรา แม่น้ำเมมเบอราโม บนเกาะปาปัวกินี เป็นน้ำที่กว้างที่สุดของอินโดนัเซีย ทะเลสาบมาตาโน ทะเลสาบที่สำคัญๆ เช่น ทะเลสาบมาตาโน อยู่ทางตอนใต้ของเกาะซูลาเวซี ทะเลสาบโปโซ อยู่ตอนกลางของเกาะซูลาเวซี และทะเลสาบโตบา อยู่ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เป็นทะเลสาบน้ำจืดบริเวณปากปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบ เนื่องจากอินโดนีเซียมีมหาสมุทรล้อมรอบหมู่เกาะทั้งสามด้านเกาะใหญ่น้อยมีลักษณะแยกกัน ก่อให้เกิดเส้นผ่านทะเลหรือที่เรียกว่าช่องแคบจำนวนมาก ซึ่งได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญหลายแห่ง เช่น ช่องแคบมะละกา อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ช่วยย่นระยะการเดินเรือจากอินเดียมายังเอเชีย ช่องแคบซุนดา อยู่ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา สามารถเดินทางเลียบเกาะชวาผ่านช่องแคบซุนดาเข้ามาในหมู่เกาะอินดีสตะวันออกได้ และช่องแคบลอมบอก เส้นทางลัดในการเดินเรือจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกสู่มหาสมุทรอินเดียและเอเชียใต้ ช่องแคบมะละกามีเอสินค้าผ่านมากกว่าคลองสุเอซในประเทศปานามา 3 เท่า ทะเล อินโดนีเซียมีทะเลสำคัญหลายแห่ง เช่น ทะเลชวา อยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ทะเลบันดา อยู่ทางทิศตะวันออกของอินโดนีเซีย และทะเลซาวู อยู่ทางทิศใต้ของอินโดนีเซีย โดยทั่วไปมีอากาศร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร แบ่งเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน (พฤษภาคม ถึง ตุลาคม) และฤดูฝน ( พฤศจิกายน ถึง เมษายน) อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 – 30 องศาเซลเซียส อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณร้อยละ 59 ของพื้นที่ประเทศ ถือเป็นประเทศที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากอยู่ในเขตศูนย์สูตร ป่าไม้จองอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงเป็นป่าฝนเขตร้อน เช่น ป่าดิบชื้นและป่าพรุ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งต้นน้ำธรรมชาติและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าน้อยใหญ่และพืชนานาพรรณ ตัวอย่างสัตว์ป่าพบเฉพาะผืนป่าอินโดนีเซีย เสือโคร่งสุมาตรา พบเฉพาะที่เกาะสุมาตรา มีลักษณะเด่นคือ ลายที่ลำตัว มีสีเข้ม มีจำนวนมากและถี่กว่าเสือโคร่งทั่วไป เพศผู้โตเต็มวัยมีน้ำหนักเฉลี่ย 100 - 150 กิโลกรัม ยาวกว่า 2 เมตร ปัจจุบันเหลือเพียง 400 ตัว ถือเป็นสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ของอินโดนีเซีย อุรังอุตังบอร์เนียว มีถิ่นกำเนิดในเกาะบอร์เนียว เป็นลิงไม่มีหารที่มีถิ่นกำเนิดทวีปเอเชียเพียงสกุลเดียว มีอายุยืนถึง 35 ปี เพศผู้โตเต็มวัยหนักได้ถึง 100 กิโลกรัม สูงประมาณ 1.2 – 1.4 เมตร ส่วนเพศเมียจะมีขนาดตัวเล็กกว่า พบเฉพาะเกาะสุมาตรา มีขนาดเล็กกว่าลิงอุรังอุตังบอร์เนียว เมื่อโตเต็มที่เพศผู้อาจสูงได้ถึง 1.4 เมตร น้ำหนักเฉลี่ย 90 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียจะมีขนาดตัวเล็กว่า แม้จะเป็นอุรังอุตังเหมือนกัน แต่เหตุผลที่อุรังอุตังบอร์เนียวตัวใหญ่กว่าอุรังอุตังสุมาตราก็เพราะที่เกาะบอร์เนียวไม่มีเสือ อุรังอุตังสามารถลงมาเดินบนพื้นดินได้ เลยไม่ค่อยได้ปีนต้นไม้ ตัวจึงใหญ่อุ้ยอ้ายกว่า ส่วนอุรังอุตังสุมาตราต้องคอยหนีเสือเลยจำเป็นต้องขึ้นไปอยู่ต้นไม้ ตัวก็เลยเล็กกว่ายังไงล่ะ ทรัพยากรกรรมชาติ ของอินโดนีเซียเป็นพวกไม้เนื้อแข็งและแร่ธรรมชาติ เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีอยู่บริเวณตอนกลางและนอกชายฝั่งของเกาะบอร์เนียว และตอนเหนือของเกาะสุมาตรา นอกจากนั้นยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสินค้าเศรษฐกิจมากมาย เช่น บ็อกไซต์ นิกเกิล ดีบุก ทองแดง เหล็ก แล้วยังมีเครื่องเทศและสัตว์ทะเล ซึ่งเป็นสินค้าที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติ อาเซียน 10 ประเทศ อินโดนีเซียหนึ่งในประชาคมอาเซียน
Posted on: Sun, 09 Nov 2014 12:31:22 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015