ความรู้ทางการเงิน - TopicsExpress



          

ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (30/8/56) EVA (Economic Value Added) การวัดผลตอบแทนมักจะกับกำไรเป็นหลัก เช่น EPS, P/E Ratio, ROE โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจขององค์กร การวัดผลในทางบัญชีถือว่าเงินทุนที่ได้มาจากผู้ถือหุ้นไม่มีต้นทุน (ได้สะท้อนในการวัดผลในงบการเงิน) และไม่ได้คำนึงถึงว่าธุรกิจบางประเภทมีความเสี่ยงต่อผู้ถือหุ้นมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งราคาตามบัญชีของสินทรัพย์กับราคาตลาดต่างกันโดยความคาดหวังของผู้ลงทุนถูกโยงใยเข้าสู่ “ราคาตลาด” (market value) และเพื่อให้การวัดผลสะท้อนถึงสภาพที่แท้จริงของธุรกิจ มีความเที่ยงตรงมากขึ้น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ สามารถให้ผลที่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารเพื่อนำไปสู่สร้างมูลค่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาวให้กับธุรกิจ ตัววัดผลที่ดีนันควรมีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ให้กับเจ้าของกิจการ ช่วยพัฒนาการสื่อสารภายในองค์กรและรายงานด้านการจัดการต่อผู้บริหาร EVA จึงถูกพัฒนาขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980’s โดยที่ปรึกษาอเมริกันชื่อ Stern Stewart Consulting Group นำมาใช้เป็นมาตรวัดด้านการเงินของผลตอบแทนและมูลค่าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ โดยพยายามให้การวัดผลขององค์กรที่มีต่อผู้ถือหุ้นเน้นวัตถุประสงค์มากกว่ากำไร รวมทั้งรวมค่าเสียโอกาสของทุนที่ลงไป (invested capital) เข้าไว้ด้วย โดยผ่านค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินทุน (cost of capital) ที่ปรับด้วยความเสี่ยงแล้ว EVA ตั้งอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดของกำไรทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Profit) ที่เรียกกันว่า “กำไรส่วนที่เหลือ” (Residual Income) ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นในช่วงปี 1770’s ในหลักการของ EVA ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรายได้สามารถชดเชยค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (Operating Costs) และต้นทุนเงินทุน (Capital Charges) ได้จนหมดสิ้น -หาก EVA เป็นบวก ---> ผลตอบแทนที่ได้รับมากกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสของทุนที่ลงไป -หาก EVA เป็นลบ ---> ผลตอบแทนที่ได้รับไม่พอเพียงกับต้นทุนค่าเสียโอกาสของทุนที่ลงไป Economic Value Added EVA = Operating Profit less a Charge for Capital Used = NOPAT - Capital Charge NOPAT กำไรจากการดำเนินงานหลังภาษี กำไรนี้ควรเป็นกำไร/ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ ดังนั้นกำไรฝขาดทุนที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ได้มาจาการดำเนินงานปกติจะปกติจะปรับปรุงออก ได้แก่รายการประเภท one-time gain/loss เช่น กำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (ที่ยังไม่เกิดจริง) ขาดทุนจากการด้อยค่า ป็นต้น และ NOPAT นี้เป็นกำไรที่ไม่หักดอกเบี้ยจ่าย เพราะถือว่าดอกเบี้ยจ่ายจะถูกนำมาหักในต้นทุนเงินทุนส่วนหนึ่ง Capital Charge= IC x WACC= ต้นทุนเงินทุนที่เกิดขึ้นในงวดมทั้งหมด IC หรือ Invested Capital = เงินลงทุนในสินทรัพยตางๆขององคกรในการทำธุรกิจ = เงินลงทุนในเงินทุนหมุนเวียน (Investment in Working Capital) + เงินลงทุนในสินทรัพยไมหมุนเวียนInvestment in Non Current Assets) หรือด้านหนึ่งคือเงินทุนที่ลงทุนไปในสินทรัพย์ตางๆขององคกรในการทำธุรกิจ หรือเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้ (CA-CL) + NCA หนี้สินหมุนเวียน (CL) หมายถึงหนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย (Non-interst-barying NIBL) WACC = คาเฉลี่ยตนทุนการลงทนของกิจการ (Weighted Average Cost of Capital) = [(D/D+E) x Kd] + [(E/D+E) x Ke] นอกจากนี้หากใครไปอ่านในต้นฉบบับแนวคิดจาก Text หลายๆเล่ม จะมีรายการปรับปรุงทางบัญชีอีกหลายรื่องคือ -กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายเช่าดำเนินงาน (Operating lease) บางรายการต้องปรับเป็น Capitalize leases -ปรับปรุงการคิดต้นทุนขายจาก วิธีอื่นไปเป็น FIFO (reverse out LIFO) -ปรับปรุงรายจ่ายที่ควรต้องบันทึกเป็นสิทรัพย์เช่น R&D (Capitalize R&D) -บวกกลับรายการตัดจำหน่ายต่างๆออก เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสุญ ดทุนจากการด้อยค่า ค่าเผื่อสินค้าคงเหลือเป็นต้น (Add back capital write offs) -บวกกลับรายการค่าตัดจำหน่ายค่านิยม (Add back good will amortized) บางตำราลงรายละเอียดมาก แต่นั่นเป็นเรื่องทางบัญชีทั้งนั้น ในแง่นักลงทุนยากที่จะรู้รายละเอียดแบบนั้นได้ และแนวคิด EVA นั้นไม่ได้เริ่มเพราะทางบัญชี แต่เริ่มเพื่อวัดมูลค่าธุรกิจเป็นเรื่อง Valuation และแนวทางการบริหารเพื่อสร้างมูลค่า (Value Base Management: VBM) ดังรูปที่แสดงให้ดูรูปแรก ตลาดทุนมีแนวคิดการวัดผลที่ปลี่ยนไป ซึ่งนักลงทุนต้องเข้าใจถึงพัลวัตดังกล่าวเพื่อจะได้ไม่ติดแต่คำว่ากำไรและการเติบโตกำไรแบบเดิมๆ ที่ Global Investors ได้เปลี่ยมุมมองไปไกลออกไป และถ้าสังเกตรายการปรับปรุงต่างๆ แล้วจะห็นว่ามาตรฐานบัญชีก็ปรับเปลี่ยนการวัดให้ได้ผลตามแนวคิด EVA มากขึ้นเช่น เรื่อง Lease ทางบัญชี่พยายามทำให้รายการทัญญาเช่ายาวๆ เป็น Capital or Financial Lease มากที่สุดเรื่องวิธีคิดตุนทุนขายก็ยกเลิก LIFO ออกไปแล้ว การตั้งสินทรัพย์ R&D ก็ชัดเจน ค่านิยมก็ยกเลิกการตัดจำหน่าย จะเหลือก็เพียงรายการด้อยค่าและการตั้งสำรองต่างๆเท่านั้นซึ่งหาตัวเลขไม่ยากเท่าไร เรื่องใหญ่ก็คือการหา WACC นี่แหละ เพราะยังผูกติดกับ Ke ที่โยงกับ CAPM : Ke = rf + Beta*(rm-rf) ในง่นักลงทุน ถ้าจะต้องทำยุ่งยากมากคงไม่คุ้มเท่าไร และเราคงไม่ได้สนในรายละเอียดที่ต้องเป๊ะแบบนักบัญชีที่สลึงเดียวหาตัวเลขทั้งคืน ดังนั้น ส่วนใหญ่แบบ roughly แต่ไม่ผิดสาระสำคัญมาก ผมให้เริ่มที่ กำไรสุทธิเลย แล้วบวกลบกลับด้วยรายการ One-time gain/loss และปรับปรุงด้วย (Add back capital write offs) รายการที่ตัดมูลค่าสินทรัพย์ลงทุนออก เช่น ด้อยค่า ค่าเผื่อต่างๆ จากนั้นเอามาหักด้วย ส่วนผู้ถือหุ้นทั้งหมดคูณด้วย Ke ก็จะได้EVA คร่าวๆ ตัวอย่างการคำนวณ---------------------------TOP---------------IVL -------------------------------------------------2554-------------2554 กำไรสุทธิ------------------------------------15,207.4-------15,429.0 + รายการปรับมูลคค่าสินค้าคงเหลือ----------161.7 +(กำไร)ขาดทุนจากFXที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง---1,106.5------(213.2) +ขาดทุนจากการจำหน่ายPPE-------------------40.3-----------(7.1) กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ---------------------------------(6,752.6) +หนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ-สุทธิ----------------------(32.2) กำไรสุทธิปรับปรุง----------------------------16,515.9--------8,424.0 ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม-------------------------85,033.6-------58,776.9 Ke ให้ beta = ตลาด = 1------------------14,455.7-------9,992.1 EVA--------------------------------------------2,060.2-------(1,568.1) จากงบปี 54 เมื่อหา EVA พบว่าTOP มีค่าเป็นบวก ส่วน IVL มีค่าเป็นลบ หมายความว่า TOP มีความสามรถในการสร้างมูลค่าพิ่มกับผู้ถือหุ้นจากผลการดำเนเนงาน ส่วน IVL แม้จะมีกำไร แต่ในแง่ ความคุ้มค่าทุนกลับมาสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มราคาจะเห็นได้ชัดเจน
Posted on: Fri, 30 Aug 2013 10:01:23 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015