อันนึงที่ผมคิดว่า - TopicsExpress



          

อันนึงที่ผมคิดว่า น่าจะใช้ประโยชน์ในการจับจังหวะตลาดได้ นั้น สิ่งที่ต้องพยายามสังเกต คือ 1. การลดลงของความร้อนแรงของตลาดหุ้น เราอาจจะไม่ได้ดูจากตัวเลขงานสัมมนาเพียงอย่างเดียว แต่เป็น volume เทรดของตลาด ที่ลดลงอย่างมีนัยยะ คือ พูดง่ายๆ คือ มันเงียบเหงา จน คนอยากขาย ยังขี้เกียจขาย เลย (ปกติ คาดว่ามูลค่าการซื้อขายน่าจะอยู่แถวๆ 8000-12000 ล้านบาท แต่ช่วง น้ำท่วม ก็อยู่แถวๆ 20000-25000 ล้านบาท ) ---- แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลข ก็แค่สถิติ เราใช้ไม่ได้กับทั้งหมด เพราะ ตอน set 800 ปลายๆ ในปี 2008 ต้นๆ ก่อนร่วงหนัก เคยเทรดแถวๆ 30000 ล้าน พอลดลงเหลือ 600 จุด value trade ลดเหลือแถวๆ 8000 ล้านบาท ก่อนที่จะลงระเนระนาดไปเหลือแค่ 300 ปลายๆ ---- 2. yield ในตลาด เย้ายวน จนมันไปเตะตา ต่างชาติ หรือนักลงทุนระยะยาวตัวจริงเข้าให้ ในอดีตนั้น ถ้าพูดถึง yield ง่ายๆ เรามาพูดถึงส่วนกลับของ P/E นี่เอง (ในที่นี้ ผมพูดถึง forward PE เท่านั้น) P/E ของประเทศไทยนั้น ผมเองก็เพิ่งรู้ว่า ในอดีต 10 ปีมานั้น ถ้าเราพูดถึง regional แล้ว เรามักจะได้รับความนิยม ยอดแย่ รั้งท้ายกระดานมาตลอด เช่นถ้า ชาวบ้านเขา PE forward กันแถวๆ 15-20 ไทยจะ ไปครองแชมป์แถวๆ 10-12 เท่านั้น ก่อนที่จะปรับตัวลง (อันนี้เป็นเรื่องจริง ซึ่งคนที่ไม่เคยมองเรื่องนี้ อาจจะมองว่า ไทยแลนด์ is the best แต่ในขณะเดียวกัน เวลาปรับขึ้น ก็จะแรงกว่า เพื่อนบ้านพอสมควรทีเดียว กลับมาคุยเรื่อง P/E พอเรารู้ว่า P/E ของไทย เคยป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ 8-12 นั้น แปลว่า ต่างชาติ พร้อมใจกันรับได้หาก yield จากการลงทุนในหุ้นไทยนั้น มันอยู่แถวๆ 8-12% เช่นกัน (แต่ข้อน่าสังเกตสักนิดว่า หุ้นไทย น้อยครั้งที่จะลงไปถึง yield ระดับนั้น) แต่อย่างไรก็ตาม การให้ P/E นั้น มีตัวแปรค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องของ 1. กำไรที่เป็นตัวหาร หากมันลดลงเมื่อไหร่ก็จะทำให้ P/E ดูแพงขึ้นอย่างมีนัยยะทีเดียว 2. ความแข็งแกร่งของธุรกิจและนโยบายจ่ายปันผล ก็มีผลอย่างมาก คิดง่ายๆ นักลงทุนมักให้ P/E แพง ในธุรกิจที่เป็นผู้นำตลาด หรือ มีโมเดลธุรกิจที่มี กระแสเงินสดที่ดี อย่างค้าปลีก หรือ มีโอกาสการเติบโตที่ยังดีอยู่ (ส่งผลให้ PEG โตต่อเนื่อง) 3. อันนี้ ผมเดาๆเอานะครับ เริ่มมีนักวิเคราะห์ออกมาฟันธงกันมากๆว่า ตลาดหุ้นจะลงเละเทะไปเท่านั้นเท่านี้ หรือ คนที่คุณคิดว่า เขาไม่รู้ตัวเลขเศรษฐกิจ หรือ ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนเริ่มพูดภาษายากๆให้คุณเข้าใจได้ เช่น อธิบายโครงสร้างการเกิด subprime ได้อย่างดีเลิศประเสริฐศรี ซึ่งนั่นแปลว่า ตลาดได้ price in เรื่องราวเหล่านั้นไปหมดแล้ว ที่เหลือๆ เป็นตัวเลขดัชนีชี้วัดต่างๆ ซึ่งหาอ่านเพิ่มเติมได้เอง แต่ผมยังไม่ค่อยแน่ใจในการนำมาใช้เท่าไหร่นัก จึงไม่ขอพูดถึงตรงนี้เท่าไหร่นัก ขอย้ำอีกครั้งว่า เรื่องราวเหล่านี้ เป็นเพียงการสรุปจากอดีตเท่านั้น ไม่ได้บอกว่า จะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ในอนาคตข้างหน้า ผมไม่มีความสามารถในการทำนายหรือพยากรณ์ใดๆครับ
Posted on: Tue, 09 Jul 2013 18:07:52 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015