Bangkok Marketing, Promotion in the Future Posted: - TopicsExpress



          

Bangkok Marketing, Promotion in the Future Posted: พฤศจิกายน 12, 2012 in บทความ 0 คำนำ การส่งเสริมการตลาดในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันจะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก และจะใช้ช่องทางการส่งข้อมูลการส่งเสริมการตลาดในช่องทางเดิมๆ เช่น การติดป้ายโฆษณา การแจกใบปลิว คูปอง ฯลฯเป็นต้น แต่ในอนาคตนั้นจะมีเครื่องมือ วิธีการ และช่องทางการส่งข้อมูลการส่งเสริมการตลาดแบบใหม่ ที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งข้อมูลการส่งเสริมการตลาดให้กับผู้บริโภคในง่าย และมีต้นทุนที่ลดลง ในหนังสือเล่มนี้จะได้กล่าวถึงการส่งเสริมการตลาดด้วยการใช้เทคโนโลยีในอนาคต และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจในการส่งเสริมการตลาดของกรุงเทพฯในอนาคต กลุ่มผู้บริโภคในกรุงเทพฯ ที่มีอำนาจ ก่อนอื่นที่จะกล่าวถึงแนวโน้มหรือกระแสการส่งเสริมการตลาดในกรุงเทพฯในอนาคตนั้นผู้ประกอบการควรจะต้องทราบถึงกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจที่อยู่ในกรุงเทพฯในปัจจุบันให้เข้าใจดีเสียก่อน กลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจคืออะไร กลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจ (power consumer) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ไม่มีความต้องการที่จะใช้สินค้า และ/หรือการบริการของเรา แต่สามารถส่งผล หรืออิทธิพลให้เกิดการซื้อได้ (Berges-Sennou, 2006) เช่น คุณพ่อ คุณแม่ต้องการให้ลูกของตนเองมีสุขภาพ อนามัยที่ดีจึงพยายามสรรหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบต่อความต้องการนั้น เป็นต้น จะเห็นได้ว่า “ลูก” นั้นเป็นบุคคลที่มีอำนาจ หรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า และ/หรือการบริการของคุณพ่อ คุณแม่นั่นเอง ในตลาดกรุงเทพฯปัจจุบันพบว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจส่วนใหญ่จะทำการบริโภคสินค้าหรือบริการผ่านการตลาดดิจิทัล (McKinsey Consumer, 2012) เป็นส่วนใหญ่ การตลาดดิจิทัล (digital marketing) คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย ว่าเทคโนโลยีกับการตลาดเกี่ยวอะไรกัน ความหมายของการตลาดดิจิทัล (digital marketing) คือ การทำการตลาด และการจัดจำหน่ายสินค้า หรือบริการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรคมนาคม ทั้งสินค้าหรือบริการที่จัดจำหน่ายผ่านช่องทางนี้ สามารถจัดส่งได้โดยตรงผ่านเครือข่ายดิจิทัลโดยการใช้การ Download หรืออาจใช้ระบบการจัดส่งแบบดั้งเดิม (fulfillment) การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างความนิยม หรือการรับรู้ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อแบรนด์สินค้า หรือบริการ โดยการใช้สื่อแบบดิจิทัล อันประกอบด้วย โทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสื่อดิจิทัล อื่นๆ เช่น ป้ายโฆษณาแบบดิจิทัล เป็นต้น การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในการให้บริการต่อลูกค้าแบบออนไลน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า e-service การสร้างสินค้าใหม่ๆ ที่เด่นกว่าสินค้าเดิมที่มีอยู่ หรือเป็นนวัตกรรม ที่สามารถเข้าใช้ได้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเครือข่ายโทรคมนาคม มีชื่อเรียกว่า Cloud Computing (Winans T., Brown J., 2009) การทำการตลาดดิจิทัล (digital marketing) ด้วยการคิดก่อนลงมือทำ โดยข้อดีของการตลาดดิจิทัล (digital marketing) คือ สามารถวัดผลได้จากจำนวนผู้ที่คลิกเข้ามาชมเว็บไซต์ หรือผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนร่วมกิจกรรม นักการตลาดที่เดินเข้าไปของบประมาณจากหัวหน้างาน จะได้มี ความมั่นใจในระดับหนึ่งว่ามีตัวเลขกลับมารายงานแน่นอน แต่การจะได้ข้อมูลเหล่านี้ นักการตลาดต้องวางแผนไว้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าแผนการขาย แผนการส่งเสริมการตลาด ฯลฯ เพื่อให้ฝ่ายเทคนิคได้เตรียมระบบไว้ตั้งแต่สร้างสื่อดิจิทัล ในสื่อดิจิทัล มีปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญมากที่สุดนั่นก็คือ “ข้อมูล” การนำข้อมูลในสื่อดิจิทัลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาต่อยอดได้จริงเท่านั้น ลูกค้าต้องบอกเอเยนซี่ก่อนว่าอยากได้ข้อมูลอะไรบ้าง เพราะหลายครั้งลูกค้าไม่บอกก่อนว่าอยากได้ข้อมูลนี้ แล้วมาบอกทีหลัง ซึ่งเราไม่สามารถกำหนดระบบย้อนหลังให้ได้ ทั้งที่ระบบดิจิทัลเอื้อต่อการเก็บข้อมูลอย่างมาก ดังนั้นฝ่ายการตลาดของลูกค้าต้องวางแผนให้ชัดเจนก่อน เพราะข้อมูลมากเกินไป โดยที่บางอย่างก็ไม่ได้นำไปใช้ ก็จะทำให้นักท่องเว็บหรือว่าที่ลูกค้าเราเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ใครๆก็รู้ว่าการเล่นอินเทอร์เน็ตยุคนี้มีทางเลือกมาก ผู้เล่นส่วนใหญ่จะใจร้อน ถ้าเว็บไซต์ไหนโหลดนานเกินไป หรือไม่มีข้อมูลที่ต้องการ ก็จะออกจากเว็บไปอย่างรวดเร็ว ถึงจะมีการทำการส่งเสริมการตลาดที่น่าสนใจ ก็จะทำให้การส่งเสริมการตลาดดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ด้วยเหตุนี้ การทำการส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาที่แนบเนียนไปกับเนื้อหาของเว็บไซต์ หรือใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปให้คนที่นั่งอยู่หน้าจอได้มีส่วนร่วมกับโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด อย่างเช่นการทำแบนเนอร์การส่งเสริมการตลาด ซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาไปมาก ทั้งสามารถคลิกได้มากกว่าหนึ่งที่ เพื่อบอกข้อมูลในการส่งเสริมการตลาดหรือสามารถเล่นเกมส์บนแบรนด์เนอร์ เพื่อรับของรางวัลได้ อีกประเด็นหนึ่งคือเว็ปไซด์ต้องเร็วสุด ง่ายสุด เพราะว่าโลกอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์น่าสนใจมากมาย ดังนั้นการโฆษณาหรือการทำการส่งเสริมการตลาดบนหน้าอินเทอร์เน็ต ควรบอกเฉพาะรายละเอียดที่เป็นสิ่งจูงใจผู้บริโภคเท่านั้น ไม่ใช้คำหรือสีสันฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น แม้แต่แบนเนอรก็ควรพาผู้บริโภคไปสู่หน้าเว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์มากที่สุดไปเลย ไม่ต้องให้คลิกแล้วคลิกอีกหลายครั้ง การทำแบนเนอร์ ไม่จำเป็นว่าพอคลิกแล้วต้องเข้าไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์องค์กรหรือร้านค้าเสมอไป การส่งเสริมการตลาดกับสื่อดิจิทัลที่เปรียบเหมือนช่องทางหนึ่งในการทำการส่งเสริมการตลาด ถ้าสามารถสื่อความหมายการส่งเสริมการตลาดได้ดี จะเป็นแรงจูงใจให้ผู้ท่องเว๊ปไซค์เข้าใช้บริการ การส่งเสริมการตลาดที่ผ่านสื่อ ดิจิทัล ควรทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นยอดขาย และสื่อถึงภาพลักษณ์ของตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง ข้อดีของการส่งเสริมการตลาดบนสื่อดิจิทัล คือ มีต้นทุนในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต่ำ แต่ก็มีข้อเสีย อยู่เหมือนกัน เพราะอาจจะไม่สามารถตอบสนองกลุ่มเป้าหมายได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากนัก เนื่องจากการส่งเสริมการตลาดบนสื่อดิจิทัล เป็นการหว่านการสื่อสารกับลูกค้าในแนวกว้าง ซึ่งในบางครั้งกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงก็ไม่ได้ใช้สื่อดิจิทัลบ่อยครั้งนัก และในบางครั้งต้องยอมรับว่าสื่อดิจิทัลก็ยังมีข้อด้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงมวลชนได้มากเท่ากับโทรทัศน์ หรือไม่สามารถสร้างประสบการณ์ได้เหมือนของจริง 100% เหมือนกับการจัดงาน Event ต่างๆดังนั้นการใช้สื่อดิจิตัลให้ได้ผลจึงต้องอาศัย Mixed Campaign ผสมผสานภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ และการส่งเสริมการตลาดควบคู่กันไป กลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจใน Fan Page ในยุคนี้ ผู้บริโภคบางคนอยากพลิกตนเองมาเป็นเจ้าของ Media หรือต้องการเป็นผู้ขายเสียเอง ด้วยการทำการส่งการตลาดผ่าน Fan page Fan page เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับให้ผู้คนมาปฎิสัมพันธ์กัน ไม่ใช่เพื่อเป็นสังคมของการช้อปปิ้ง แล้วทำไมผู้ประกอบการถึงควรเสียเวลาและทรัพยากรบุคคลมาคอยดูแล Fan Page ของ Facebook ด้วย (fan page คือหน้าโปรไฟล์ของบริษัท) ถึงแม้ว่าสมาชิกที่มาเป็นแฟนบริษัทหรือธุรกิจของเราไม่ได้สนใจจะซื้อสินค้าหรือบริการ แต่สิ่งที่พวกเขาก็เชื่อมโยงกับบริษัทในทางใดทางหนึ่ง เพราะอย่างน้อยพวกเขาก็ยอมรับว่าเป็น ‘แฟน’ ของเราแล้วไงล่ะ และการทำ Fan Page ก็มีประโยชน์มากมายหลายอย่าง มากกว่าที่เราคาดคิดเลยทีเดียว Fan Page ของ Faebook สามารถช่วยในการทำ Brand ของเราไปในตัว ซึ่งเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าอาจมีคนอีกมากมายกลายมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต หรืออาจเป็นคนที่อยากร่วมงานกับเรา นักลงทุน ตลอดจนถึงสื่อที่สนใจในธุรกิจของเรา ไม่ต้องกลัวว่าการมี Fan Page จะยุ่งยากหรือจำกัดเพราะคนที่มี Facebook เท่านั้นถึงจะสามารถเข้าชม Fan Page ของเราได้ เพราะ Fan Page เปิดให้ทุกคนเข้ามาอ่านหรือดูโปรไฟล์ธุรกิจได้โดยที่ไม่ต้องเป็นสมาชิก ดังนั้นผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตจำนวนมากจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าหรือบริการที่เราต้องการโปรโมตได้อย่างง่ายดาย Facebook อนุญาตให้ใส่ลิงก์เว็บไซต์บริษัทหรือธุรกิจได้ ดังนั้นผู้ที่เข้ามาชมหน้า Fan Page ใน Facebook ซึ่งสนใจและอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้าบริการของเรามากขึ้นก็สามารถคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทได้เลยทันที นอกจากนี้ก็อย่าลืมใส่ Facebook Widget ซึ่งจะช่วยให้คนที่เข้ามายังเว็บไซต์สามารถคลิกเข้าไปเยี่ยมชมและมากด Like เป็นแฟนในหน้า Fan Page ได้เช่นกัน เมื่อเราทำทั้ง 2 อย่างนี้แล้ว ทั้งงเว็บไซต์และ Fan Page ก็จะสามารถช่วยโปรโมทกันและกันได้ การมีเนื้อหาเกี่ยวกับบริษัทของกระจายอยู่ในหลายๆ เว็บไซต์จะช่วยทำให้การค้นหาผ่าน Search Engine อย่าง Google มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้คนค้นเจอเว็บไซต์ของเราได้มากและเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Social Search บริการใหม่จาก Google ยังช่วยให้ผู้ค้นหาสามารถอ่านความเห็นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเราได้ทันทีจากหน้าแสดงผลการค้นหา การลิงก์ Fan Page เข้ากับเว็บไซต์หลักจึงเป็นวิธีที่เปี่ยมประสิทธิภาพในการช่วยต่อยอดจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้อีกทางหนึ่ง Fan Page ถือเป็นอีกทางเลือกในการทำให้กลุ่มลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมกับเว็บไซต์หลักของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มากขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถโพสต์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และอื่นๆ ลงบนโปรไฟล์ Facebook เพื่อแชร์ให้บรรดาแฟนๆ ของสินค้าและบริการได้ชมอีกด้วย ที่สำคัญเรายังสามารถพูดคุยกับลูกค้า ถามคำถาม ความคิดเห็น ความพึงพอใจ และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้เราสามารถพัฒนาหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ สินค้า หรือบริการจากความคิดเห็นของผู้บริโภคได้อีกด้วย ถ้าสมาชิกคนนั้นเป็นแฟนของ Fan Page เราใน Facebook แล้ว เราก็สามารถส่งข้อความถึงพวกเขาได้โดยตรง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะส่งให้ใครบ้าง เช่น การส่งเสริมทางการตลาด การจัดกิจกรรมชิงรางวัลกับสินค้าหรือบริการ การคุยกันหรือแสดงความเห็นเล็กๆ น้อยๆ สามารถทำให้ความสัมพันธ์กับลูกค้าแกร่งขึ้นและเป็นส่งเสริมทางการตลาดที่ดีเยี่ยม เพราะเป็นการโต้ตอบกันโดยที่ลูกค้าไม่ได้รู้สึกว่าถูกบีบบังคับให้ซื้อสินค้า แต่เป็นการคุยกันแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งจะทำให้ทัศนคติของลูกค้าต่อแบรนด์ดียิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นใน Facebook เลยก็ตาม แต่กว่า 90% ของผู้ใช้ Facebook คาดหวังจะเห็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ตนเองใช้มี Fan Page แม้ผู้ใช้จำนวน 25% จะไม่ชอบป่าวประกาศบอกคนอื่นๆ ว่าตนเองชอบหรือใช้ผลิตภัณฑ์อะไร แต่ผู้ใช้จำนวนที่เหลืออีกมากมายพร้อมจะแนะนำหรือแสดงความชื่นชมสินค้าหรือบริการที่ตนเองประทับใจ รวมถึงบอกต่อไปยังเพื่อนๆ หรือคนรู้จักใน Facebook อีกด้วย ฉะนั้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าชั้นเยี่ยมแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะคนกลุ่มนี้จะช่วยเป็นกระบอกเสียงให้กับสินค้าโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเงินค่าโฆษณาด้วยซ้ำ ในสังคมออนไลน์แบบ Facebook ลูกค้าและผู้บริโภคมักไม่ค่อยตั้งป้อมต่อต้านหรือแสดงอคติต่อการเข้าไปทำการตลาดของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง พวกเขามีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการหรือประสบการณ์ทั้งที่ดีและไม่ดีต่อธุรกิจของเราหรือของคู่แข่ง ซึ่งหากเราให้ความสำคัญหรือใส่ใจในรายละเอียดเหล่านี้และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ เราก็จะได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นๆ โดยปริยาย ถ้าอยากรู้ว่า Fan Page ได้รับการตอบรับมากแค่ไหน Facebook ก็มีบริการ Page Insights ซึ่งเป็นเครื่องมือรายงานและวัดสถิติ เช่น มีคนเข้ามาคอมเมนต์หรือโพสต์ข้อความมากน้อยขนาดไหน รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับแฟนๆ ของ Fan Page ด้วยว่าอายุเท่าไร เพศอะไร ภูมิลำเนาอยู่แถวไหน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถทำการตลาดโดยเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ถ้ายังคิดว่า Fan Page ไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจอยู่ล่ะก็ ลองมองด้านการแข่งขันดูบ้าง อย่าลืมว่าถ้าคู่แข่งของเราทำ Fan Page ซึ่งมีจำนวนแฟนๆ มากมายและมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับกลุ่มลูกค้าจนความสัมพันธ์เหนียวแน่นจนไม่เหลือที่ว่างให้ธุรกิจของเรา แล้วแบบนี้เราจะมัวรออะไรอยู่อีก เริ่มทำ Fan Page ใน Facebook ตั้งแต่วันนี้เพื่อความได้เปรียบในตลาดและก้าวเป็นหนึ่งในสังคมออนไลน์ GTH กับการกด like มากที่สุด จีเอ็มเอ็ม ไท หับ หรือ GTH เกิดจากการร่วมทุนของ 3 บริษัท คือ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ของ วิสูตร พูลวรลักษณ์ และหับ โห้ หิ้น ฟิล์ม (ในเครือแกรมมี่) ของ จิระ มะลิกุล โดยชื่อบริษัทใหม่ มาจากชื่อต้น และอักษรย่อหน้าชื่อของบริษัทร่วมทุนทั้งสาม ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ได้แก่ G (51%) T (30%) และ H (19%) จากที่ GTH ทำการส่งเสริมทางการตลาดทางตลาดดิจิทัล และยอดขายสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้นอีกทั้งยังมีการให้บริการบัตรเดบิตชื่อว่า GTH is me โดยร่วมมือกับ ธนาคารกสิกรไทย ใช้เป็นบัตรแทนเงินสดแล้วยังมีสิทธิประโยชน์ไว้ให้สมาชิกอีกมากมาย และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการการส่งเสริมทางการตลาดผ่านตลาด ดิจิทัลผ่านบัตรเดบิต GTH is me ดังนี้ 1. โปรโมชั่น 99 บาท ทุกเรื่องทุกรอบ ใช้ชำระค่าชมภาพยนตร์ด้วยการใช้บัตรที่ร่วมรายการ ที่โรงภาพยนตร์ในเครือ Major, EGV, Paragon, Esplanade และ Paradise ทุกสาขาทั่วประเทศ เฉพาะที่นั่งปกติ ในโรงภาพยนตร์ระบบปกติเท่านั้น และไม่รวมถึงภาพยนตร์ที่มีความยาวพิเศษผู้ถือบัตรต้องใช้สิทธิในการชมภาพยนตร์ ณ วันที่มีการซื้อบัตรชมภาพยนตร์เท่านั้นไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นได้ รวมถึงไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่น Movie Day 2. โปรโมชั่นซื้อชุดท็อปเล็ส ไฟว์หรือ ฟองดู ฟอร์ ทู ราคา 99 บาทที่ร้านสเวนเซ่นส์ ผู้ถือบัตรต้องพิมพ์ KD ตามด้วยหมายเลขบัตร 16 หลัก ส่งไปยังหมายเลข 4545888 เพื่อขอรับสิทธิและต้องแสดงบัตรเดบิตที่ร่วมรายการและ SMS ตอบรับจากธนาคาร โดยต้องแสดง SMS การใช้สิทธิ์ก่อนสั่งไอศกรีม และต้องใช้สิทธิในวันที่มีการส่ง SMS ขอใช้สิทธิพิเศษเท่านั้น ชุดไอศกรีมที่ร่วมรายการและเงื่อนไขการใช้บริการเป็นไปตามที่ธนาคารและร้านค้ากำหนด 3. โปรโมชั่นรับเงินคืน 99 บาทเมื่อใช้จ่ายออนไลน์ครบ 5,000 บาทขึ้นไป เฉพาะในเดือนที่มียอดใช้จ่ายด้วยบัตรเดบิตที่ร่วมรายการที่ร้านค้าออนไลน์ใดๆ สะสมภายในเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ธนาคารจะคำนวณยอดใช้จ่ายออนไลน์สะสมต่อหมายเลขบัตรเดบิตที่ร่วมรายการต่อเดือน โดยคิดตามเดือนปฏิทิน ยอดใช้จ่ายที่สะสมต้องเป็นยอดที่มีการเรียกเก็บจากร้านค้าภายในเดือนนั้นๆแล้วเท่านั้น เงินคืนจะโอนเข้าในบัญชีเงินฝากที่ผูกไว้กับบัตรฯ ภายใน 30 วัน หลังจากสิ้นเดือน บัตรเดบิตที่จะมีสิทธิได้รับเงินคืนจะต้องยังคงมีสภาพบัตรสถานะปกติตลอดระยะเวลาส่งเสริมการขายนี้จนถึงวันที่ทำการมอบเงินคืน 4.โปรโมชั่น แลก ลุ้น รับ กับรางวัลโดนใจ เมื่อมีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตที่ร่วมรายการ จะได้รับแต้มทอง โดยการใช้จ่ายทุกๆ 25 บาท คิดเป็น 1 แต้มทองระยะเวลาการทำรายการเพื่อสะสมแต้ม ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 55 – 31 ธ.ค. 55 ลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากอยู่กับธนาคารมากกว่า 1 บัญชีหรือถือบัตรเดบิตที่ร่วมรายการ มากกว่า 1 ใบ การนับแต้มสะสมจะนับรวมกันเฉพาะบัตรที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โฆษณาออนไลน์กับการส่งเสริมการตลาด โฆษณาออนไลน์เติบโตจากการขยายตัวในหลายด้าน (Top Space, 2012) ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง (accessibility) เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค ข้อมูลเนื้อหา (content) บนพื้นที่ออนไลน์ที่หลากหลายขึ้น รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการใช้อินเทอร์เน็ต (knowledge) ที่สูงขึ้นของประชากรออนไลน์ด้วย โดยจะเห็นได้จากการเติบโตของสมาร์ทโฟนและการใช้โซเซียลเน็ตเวิร์คและรูปแบบต่างๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้น บริษัทจึงพร้อมเดินหน้าส่งบริการรองรับตลาดเต็มสูบ พร้อมทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ คาดขึ้นเป็นผู้นำตลาดสื่อออนไลน์ จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งประเทศในปี 2554 มีจำนวน 25 ล้านคน (ที่มา : (Top Space) เนื่องจากกลุ่มผู้ให้บริการบรอดแบนด์ขยายเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศมากขึ้น รวมถึงการแข่งขันของผู้ให้บริการเพื่อปรับลดราคาให้ถูกลง ทำให้ประชากรสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ผนวกกับการคาดการณ์การขยายตัวของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนในปีนี้จะเพิ่มเป็น 82% ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ที่มา : Nielsen Digital Consumer Report Q4-2011) ซึ่งเป็นผลมาจากการเปิดให้บริการรองรับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ซึ่งส่งผลให้ตลาดสื่อโฆษณาออนไลน์ หรือ ดิจิตอล มีเดียของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตตามไปด้วย จากการขยายตัวด้านเทคโนโลยีและการให้บริการนี้เอง ทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตโดยรวมมีอัตราสูงขึ้น เนื้อหาของบนพื้นที่ออนไลน์จึงมีความหลากหลายยิ่งขึ้น โดยประเภทของเนื้อหาที่น่าจับตามองคือ วีดีโอ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคและผู้ผลิตสื่อที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย ปัจจัยที่สำคัญอีกประการ คือ ความรู้ความเข้าใจในการใช้อินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นของผู้บริโภคเองที่ผันตัวจาก “ผู้รับสื่อ” เป็น “ผู้ผลิตสื่อ” เองอีกด้วย โดยสื่อชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์นี้เรามักจะรู้จักกันในนาม สื่อส่วนตัว “User-Generated Content” จะมักจะถูกส่งผ่านตามอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้กระแสโซเซียล เน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะเฟซบุ๊กที่กำลังมาแรงได้รับความนิยมสูงขึ้นตามไปด้วย คาดว่าปีนี้เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอลและออนไลน์ของประเทศไทยจะมีอัตราการเติบโตมากกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากจำนวนผู้ใช้บริการออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าแนวโน้มตลาดปีนี้จะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 30% ทั้งนี้การเติบโตของการโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอลและออนไลน์ในอเมริกาอยู่ที่ 23% (ที่มา: eMarketer) เนื่องจากพฤติกรรมการเข้าอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคมีความถี่มากขึ้น และใช้งานนานมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากกระแสของโซเชียลมีเดีย ปัจจุบันการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การเชื่อมต่อผ่านคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) และโน้ตบุ๊กเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสมาร์ทโฟนด้วย จากแนวโน้มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่จำนวนมากขึ้น รวมถึงการเติบโตของเนื้อหาบนพื้นที่ออนไลน์ที่หลากหลายขึ้น ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้เข้ามาแทนที่ความสำคัญของสื่อหลัก และลดบทบาทของสื่อหลักลง อุปกรณ์โมบิลิตี้ อาทิ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ทำให้การเข้าถึงข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งทำให้พฤติกรรมการบริโภคข้อมูลของผู้บริโภคนั้นปรับเปลี่ยนไป ดังนั้น การตลาดยุคดิจิตอล มีเดียจึงเป็นส่วนหนึ่งที่มีบทบาทในการทำตลาดในปัจจุบัน เพราะไม่เพียงแต่การซื้อแบนเนอร์หรือผู้ให้การสนับสนุนสินค้าและบริการบนเว็บไซต์ แต่ยังมีการทำกิจกรรมออนไลน์บนเว็บพอร์ทัล รวมถึงบนเว็บไซต์ของลูกค้าเอง หรือแม้กระทั่งกิจกรรมบนเฟซบุ๊ก (facebook) และรวมไปถึงการทำแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน ที่กำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งเสิร์ช แคมเปญ ที่ลูกค้าให้ความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้กูเกิลค้นหาข้อมูลถึง 99% ที่กล่าวมาทั้งหมดในข้างต้น นักการตลาดจึงมองเป็นการผนวกรวมแคมเปญของสื่อดิจิตอล (integrated digital campaign) ในส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคในกรุงเทพฯ ต่อกระแสการใช้โซเชียลมีเดียนั้นก็มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก (facebook) ซึ่งถูกจัดอันดับเป็นเว็บไซต์ 1 ใน 3 ที่มีคนเข้าใช้งานมากที่สุดในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย หรือ จำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของทวิตเตอร์ (twitter) และอินสตาแกรม (instagram) ในประเทศไทย อย่างไรก็ดีจากการติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เรายังพบว่าคนกลุ่มนี้มีการสื่อสารกับแบรนด์ต่างๆ บนโลกออนไลน์หรือดิจิตอลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรับข้อมูลข่าวสาร หรือส่งต่อออกในรูปแบบปากต่อปาก (WOM) ที่ทรงพลัง ผ่านการคลิกไลค์ (like) หรือแบ่งปัน (share) ดังนั้น ผู้ประกอบการมีความจำเป็นต้องปรับตัวตามเพื่อให้เท่าทันการแข่งขันและยังคงรักษาความเป็นผู้นำในการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางการตลาดที่สร้างสรรค์ มีการปฏิสัมพันธ์ การส่งเสริมการตลาด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบนโซเชียลมีเดีย ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จากกระแสการเติบโตของสื่อดิจิตอล ออนไลน์ ทางท้อปสเปซ ได้รองรับการขยายตัวของตลาด ด้วยการให้บริการวางแผนการใช้สื่อดิจิตอลออนไลน์แบบครบวงจร ทั้ง Search Google รวมไปถึงการบริหารโฆษณาบนโซเชียลมีเดีย โดยครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา การวางแผนการทำการสื่อสาร ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์โฆษณาจากเอเจนซี่ชั้นนำ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด การส่งเสริมการตลาดทางวีดีโอออนไลน์ หนึ่งในทิศทางของ Digital Media ที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดในปีนี้ ก็คือเรื่องการใช้ Video Online โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นว่าคนกรุงเทพฯเริ่มหันมาบริโภคสื่อในรูปแบบวีดีโอออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูหนังหรือละครทีวีย้อนหลัง รวมไปถึง Original Content ที่มีผู้บริโภคสร้างขึ้นบน YouTube กันมากมาย ที่เด่นชัดไปกว่านั้นคือ คนไทยเปิดใจรับสื่อประเภทนี้มากขึ้น เห็นได้จากมิวสิควีดีโอเพลง “กรุณาฟังให้จบ” ของ แช่ม แช่มรัมย์ ที่ยอดคนดูกว่า 26 ล้านครั้ง (สถิติเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555) ในปีนี้เราเลยจะเริ่มเห็นแคมเปญที่นำเสนอด้วยเนื้อหาวีดีโอกันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น แคมเปญชมหนังโฆษณา โหวตเรื่องที่ใช่ ของ Nescafe 3 in 1 ที่ให้ผู้ชมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ว่าชอบหนังโฆษณาเรื่องไหนมากที่สุดในสี่เรื่อง โดยมีบัตรชมภาพยนตร์ให้เป็นของรางวัลสำหรับผู้ที่ตอบเหตุผลได้โดนใจคณะกรรมการ การส่งเสริมการตลาดในกรุงเทพฯ โดย Mobile Tag โฆษณาตามสื่อต่างๆ ที่มีการทำโค๊ดสีดำสีขาวแบบที่เป็นช่องสี่เหลี่ยมมาอยู่ในโฆษณานั้นด้วย ซึ่งโค๊ดเหล่านั้นเราเรียกว่า ทูดีบาร์โค๊ด (2D Bar Code) หรืออีกชื่อที่คุ้นหูกันก็คือ คิวอาร์โค๊ด (QR Code ) นั่นเอง ซึ่งพวกนี้โดยรวม ๆ เราจะเรียกมันว่า Mobile Tag หรือป้ายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หลายๆคนอาจจะเคยได้ลองนำเอาโทรศัพท์มือถือไปสแกนโค๊ดนี้เล่น ๆ ดูบ้าง ซึ่งเมื่อได้ลองสแกนข้อมูลดูแล้ว เราจะได้รับข้อมูลในเชิงลึกมากขึ้นกว่าที่ได้รับข้อมูลจากป้ายโฆษณานั้น ๆ เช่น ได้โปรโมชั่น หรือได้รายละเอียดข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้นเป็นต้น ซึ่งการใช้งาน QR Code เหล่านี้ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้เชื่อมโลกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันโดยใช้โทรศัพท์มือถือเป็นตัวกลางทั้งสิ้น การวิวัฒนาการของป้ายสำหรับโทรศัพท์มือถือเหล่านี้ มีมาตั้งแต่บาร์โค๊ดธรรมดาที่เราเห็นกันตามป้ายราคาผลิตภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ต จนมาถึงยุคนี้ที่เห็น QR Code กันมากยิ่งขึ้น ในอนาคตยังจะมีบาร์โค๊ด Microsoft Tag ที่จะกล่าวถึงในตอนต่อไป การใช้งาน Mobile Tag และนำมาใช้ในเชิงทางการตลาด 1. เพื่อการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ Mobile Tag สามารถใช้เพื่อดึงความสนใจของผู้บริโภคซึ่งนักการตลาดสามารถใช้ Mobile Tag เพื่อสร้างการรับรู้ของแบรนด์ สร้างความเข้าใจในแบรนด์ หรือแม้กระทั่งให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์กับแบรนด์แม้ว่าจะอยู่นอกสถานที่ได้ เช่นการสแกนโค๊ดเพื่อรับของรางวัลทันที เช่นการแจกตัวอย่างสินค้า หรือการแจกบัตรเข้าคอนเสิร์ตเมื่อเอาโทรศัพท์มือถือไปสแกน QR Code จากโฆษณาในหนังสือพิมพ์เป็นต้น อีกรูปแบบหนึ่งคือการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์การเล่นเกม เช่นเอา QR Code ไปติดไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมเล่นเป็นวอล์คแรลลี่ การหาคำตอบต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ใน QR Code ซึ่งจะเห็นได้ต้องใช้โทรศัพท์มือถือสแกนดูเท่านั้น 2. เพื่อให้มีข้อมูลมากขึ้นเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ Mobile Tag สามารถให้ข้อมูลสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มากขึ้นเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจซื้อได้ เช่นมีสินค้าอยู่ชิ้นหนึ่ง แล้วมีป้าย QR Code แปะอยู่ เมื่อสแกนโค๊ดแล้วจะให้ข้อมูลการ Review สินค้านั้น ๆ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาสูงมักจะหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจค่อนข้างมาก หากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใช้จุดนี้มาเล่น ณ จุดขาย หรือที่ตัวสินค้าเลย ย่อมมีโอกาสที่จะโน้มน้าวใจให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น หรือใช้เพื่อให้ตัวอย่างสินค้า เช่นหนังสือที่ถูกห่อพลาสติคไว้ไม่ให้แกะอ่าน หากมี Mobile Tag ให้สแกน เพื่ออ่านตัวอย่างก็จะทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจซื้อได้เช่นกัน 3. เพื่อก่อให้เกิด Action หรือเกิดการซื้อ เช่น ร้านกาแฟในกรุงเทพฯ บางแห่งมีไอเดียที่แปลกใหม่ เนื่องจากเห็นว่าเวลาลูกค้ามาที่ร้านจะต้องต่อแถวยาว ๆ เพื่อสั่งกาแฟ ก็เลยออกไอเดียให้ผู้ซื้อคนอื่น ๆ ที่ไม่อยากต่อแถว สามารถเอาโทรศัพท์มือถือสแกน Mobile Tag เพื่อสั่งกาแฟที่ต้องการได้เลย โดยไม่ต้องต่อแถว การอำนวยความสะดวกเล็กๆ หน่อยๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดการซื้อขายได้เช่นกัน 4. หลังจากการซื้อสินค้า Mobile Tag สามารถช่วยสร้างความพึงพอใจในการซื้อสินค้าได้เช่นกัน โดยการให้บริการเพิ่มเติมหลังการขาย ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือการให้ข้อมูลวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์เช่นวิธีการประกอบเฟอร์นิเจอร์แบบประกอบเองที่ซื้อไป โดยสามารถนำเสนอวิธีใช้เป็นวีดีโอให้ดูง่ายดายยิ่งขึ้น หรือสูตรการปรุงอาหารหากสินค้าที่ซื้อไปเป็นสินค้าที่สามารถไปปรุงเพิ่มเติมได้เป็นต้น หรือแม้กระทั่งให้ผู้ที่ซื้อสินค้าไปแล้ว สามารถสแกน Mobile Tag ที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เพื่อทำการเขียน Reviewสินค้าได้เลยในทันที โอกาสในการส่งเสริมการตลาดโดยการใช้ Mobile Tag ยังคงมีอยู่เพียงแค่นักการตลาดต้องคิดว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของท่านสามารถนำ Mobile Tag ไปร่วมใช้ตรงจุดไหนได้บ้าง และดูว่าสิ่งไหนในสี่หัวข้อตัวอย่างข้างต้น จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจได้มากที่สุด Microsoft Tag คือ บาร์โค้ดชนิดหนึ่ง หลัก ๆ จะไว้ทำงานควบคู่กับโทรศัพท์มือถือ เพื่อสแกนและนำข้อมูลขึ้นมาแสดง ไม่ว่าจะเป็น URL ข้อความ นามบัตร เพียงวาง Tag ตามร้านค้า หรือที่ต่าง ๆ สำหรับประชาสัมพันธ์ คนทั่วไปก็สามารถเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้ง่าย Microsoft Tag เป็นเทคโนโลยีและบริการสำหรับเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศผ่านทางการชี้บ่ง (identify) คล้าย Bar Code แต่แทนรหัสด้วยสีและการจัดรูปแบบรหัสสีเป็น Combination ซึ่งทำงานร่วมกับโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต เน้นรองรับวิถีชีวิต (life style) ในอนาคต โดยสิ่งชี้บ่ง (ID) จะเก็บอยู่ที่ตัวป้าย (tag) และข้อมูลสารสนเทศจะเก็บอยู่ที่ Microsoft Data Center ข้อมูลสารสนเทศที่สามารถเก็บได้ประกอบด้วย 1. URL สำหรับเชื่อมโยงไปยังสิ่งที่จัดเก็บบนอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์, วิดีโอ, เพลง เป็นต้น 2. Free Text ข้อความภาษาใด ๆ จำนวน 200 ตัวอักษร 3. vCard หรือ นามบัตรซึ่งใช้แลกเปลี่ยนกันบนอินเตอร์เน็ต 4. Dialer เบอร์โทรศัพท์สำหรับโทรออก ซึ่งข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนี้ ผู้สร้าง Tag สามารถแก้ไขได้ ทำให้ Tag สามารถใช้ซ้ำกับข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ หรือในงานอื่น ๆ ได้อีกตลอดระยะเวลาของการใช้งาน การเก็บ ID ของ Microsoft Tag จะใช้รหัสสี CMYK จำนวน 4 สี ทำให้ 1 ตำแหน่งสามารถเก็บข้อมูลได้ 4 บิต เมื่อนำรหัสสีมาจัดเรียงตามรูปแบบต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ก็จะได้ชุดของรหัสสีขึ้นมาเป็นชุด ๆ นอกจากการจัดเรียงรหัสสีในรูปแบบแนวขนานแล้ว Microsoft ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถออกแบบ Tag เองได้อีกด้วย ตามภาพทางขวามือจะเป็น Tag ที่ออกแบบให้เป็นรูปบอลลูน ซึ่งมีความสวยงามและน่าใช้เพิ่มขึ้น การอ่านข้อมูลจาก Microsoft Tag จะใช้โปรแกรม Microsoft Tag Reader ซึ่งทำงานบนโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องถ่ายภาพและสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูกมากในปัจจุบัน ทำให้มีความคุ้มค่าต่อการนำมาใช้งาน ระบบโทรศัพท์มือถือที่รองรับการใช้งาน Microsoft Tag Reader ได้แก่ Windows Mobile, J2ME, Symbian S60, Blackberry และ iPhone เรียกได้ว่าแทบจะครอบคลุมโทรศัพท์มือถือทุกค่ายในกรุงเทพฯ ในการทำงาน ผู้ใช้ระบบจะใช้กล้องถ่ายภาพของโทรศัพท์มือถือที่ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Tag Reader ไว้แล้ว บันทึกภาพ (capture) ป้าย Microsoft Tag ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ สิ่งของ สิ่งพิมพ์ สถานที่ ฯลฯ แล้วโปรแกรม Microsoft Tag Reader จะจัดการติดต่อ Microsoft Data Center เพื่อส่งข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้กลับมาให้ที่โทรศัพท์มือถือ ในกรณีข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้เป็น URL ระบบจะเชื่อมไปยังเว็บไซต์ ณ ตำแหน่งที่กำหนดโดยอัตโนมัติ ในลักษณะนี้จะสามารถสร้าง Application ให้มือถือเชื่อมต่อเข้ามาทำงานบนเว็บไซต์ได้ทันที ในปัจจุบัน Microsoft Tag อยู่ในระยะต้นแบบ Beta ซึ่งหลังประกาศใช้จริง ถ้าใครยังใช้ต้นแบบอยู่ จะยังใช้ฟรีได้ 2 ปี สำหรับการใช้จริง จะมีค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากเน้นไปถึงการใช้ในระดับรายบุคคล และเน้นจำนวนผู้ใช้ทั่วโลก ไม่ได้เน้นสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายจึงน่าจะต้องถูกจำกัดไม่ให้สูงมาก อย่างไรก็ดี อาจมีการพิจารณาในรายที่ใช้ในลักษณะกิจการ (คือผู้ที่ใช้ Tag เป็นจำนวนมาก) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งแยกออกไป หลังจากประกาศใช้จริง Microsoft Tag มีโอกาสจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสมัยใหม่ในกรุงเทพฯ ที่มีโปรแกรมอ่านติดตั้งไว้ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งงานประเภทที่ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นบุคคลทั่วไป (เช่น การใช้ในเอกสารการตลาด) ก็ต้องพึ่งกระแสความนิยม ในการที่ผู้ใช้จะติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag แต่สำหรับการใช้ในกิจการหรือระหว่างกิจการต่อกิจการ สามารถกำหนดให้บุคลากรของบริษัทติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag เพื่อใช้งาน Application ต่าง ๆ ที่ได้จัดทำเพื่อเพิ่มความสะดวกในการทำงานของบริษัท หรืออบรมให้บุคลากรของลูกค้าติดตั้งโปรแกรมอ่าน Tag เพื่อใช้งาน Application ต่าง ๆ ที่ทางบริษัทได้จัดทำเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้าได้ โดยไม่ต้องพึ่งกระแสความนิยมเป็นหลัก ในส่วนนี้จึงได้กลายเป็นโอกาสของการพัฒนา Application ธุรกิจในกรุงเทพฯ ที่จะใช้ประโยชน์จาก Microsoft Tag กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ตัวอย่างของ Application ได้นำมาแสดงสำหรับการใช้ Tag กับผลิตภัณฑ์ กระบวนการ โครงการ (กลุ่ม Application ธุรกิจอุตสาหกรรม) รวมทั้งงานการตลาดและการขาย (กลุ่ม Application ธุรกิจโดยรวม) มีดังนี้ สำหรับผลิตภัณฑ์ 1. ใช้สำรองป้ายรหัสปกติที่มีอยู่ (ตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 ระบุว่า หากป้ายเสียหาย สูญหาย เสื่อมสภาพ หรือเลอะเลือนอ่านไม่ออก ก็จะต้องยังคงมีวิธีระบุ ID ของสิ่งที่ใช้ป้ายชี้บ่งได้) รหัสไม่จำเป็นต้องเป็นรหัสประจำชิ้นผลิตภัณฑ์ แต่เป็นรหัสประจำกลุ่มหรือชุดที่ทำงานร่วมกันของผลิตภัณฑ์ก็ได้ 2. เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ เชื่อมไปยังโปรแกรมและฐานข้อมูลเว็บไซต์ แล้วผู้ผลิตสามารถอ่านหรือ Update ข้อมูลคุณภาพ การตรวจสภาพ การบำรุงรักษา ประวัติการติดตั้ง ประวัติการทำงาน แนบภาพหรือวิดีโอการทำงานกับผลิตภัณฑ์ สภาพผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน ทั้งจากไซต์งานและจากสำนักงานใหญ่ รวมทั้งยังสามารถใช้เฝ้าตรวจในการติดตามความทนทานของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย โดยข้อมูลสามารถเข้าถึงได้จากหลายฝ่ายที่ทำงานร่วมกันโดยทันที ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สามารถเชื่อมต่อไปดูรายละเอียดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทไหน เชื่อมเข้าดูข้อมูลรายละเอียดทางเทคนิค (specifications) วิธีใช้ วิธีบำรุงรักษา ตัวอย่างปัญหาและวิธีการแก้ไข ที่บริษัทผู้ผลิตเขียนแนะนำไว้ได้ และหาเบอร์ฮอตไลน์สอบถามวิธีแก้ปัญหา หรือสั่งซ่อมสั่งอะไหล่ได้ (ถ้าติดบนเครื่องจักรอุปกรณ์ก็มีประโยชน์ กรณีนาน ๆ ไปหนังสือคู่มือเครื่องหาย) สำหรับกระบวนการ 1. ใช้ติดบนป้ายชี้บ่งกระบวนการ เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้ว สามารถทำการบันทึกรายละเอียดงาน รายละเอียดปัญหาของการทำงานในครั้งนั้น ๆ และแนบภาพถ่ายหรือวิดีโอสภาพแวดล้อมของกระบวนการ หรือการทำงานในขณะนั้น ส่งไปยังเว็บไซต์ศูนย์กลางในกรณีต้องการใช้ข้อมูลทันทีทันใด 2. กรณีที่ผู้ควบคุมงานต้องทำงานอยู่ที่กระบวนการ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลในคอมพิวเตอร์เพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับกระบวนการ แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์ ณ จุดนั้น ก็สามารถเชื่อมดูจากมือถือผ่านทาง Tag ที่ติดบนป้ายชี้บ่งกระบวนการได้ 3. ผู้ควบคุมงานจะสามารถดูรายละเอียดงาน เห็นภาพการทำงานหรือสภาพปัญหาได้ทุกกระบวนการ ทุกโรงงานสาขา ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สะดวกในการวิเคราะห์ปัญหาและประสิทธิผลของมาตรการแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันอยู่คนละที่ ซึ่งหากสามารถทราบรายละเอียดการปรับเปลี่ยนค่ากำหนด (parameter) ของกระบวนการและผลการปรับเปลี่ยนค่านั้น ๆ ในเวลาใกล้เคียงกัน แล้วจะทำให้สรุปผลได้ ในลักษณะนี้สามารถนำสำเนา Tag มาติดบนแผนที่กระบวนการ แล้วไล่ดูรายละเอียดทั้งหมด ได้จากทุกแห่งหน 4. สำหรับผู้ตรวจประเมินกระบวนการ ซึ่งเดินตรวจทุกกระบวนการ สามารถบันทึกผลการตรวจประเมินพร้อมภาพหรือวิดีโอ ผ่านทางมือถือที่แต่ละกระบวนการ แล้วสามารถรวบรวมสิ่งที่พบมาทำสรุปได้โดยภาพหรือวิดีโอของกระบวนการต่าง ๆ ไม่ปะปนกัน สำหรับโครงการ 1. ใช้ติดบนป้ายหน้าไซต์เมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ (คล้ายป้ายในภาพ “ขายบ้าน”) แล้ว สามารถบันทึกรายละเอียดงาน รายละเอียดปัญหาของการทำงานในครั้งนั้น ๆ และแนบภาพถ่ายหรือวิดีโอการ สำรวจไซต์งาน หรือการทำงานในขณะนั้น ส่งไปยังเว็บไซต์ศูนย์กลาง สามารถเชื่อม GPS บังคับแสดงจุดปฏิบัติงาน ทำให้ควบคุมได้ ว่ามีการไปทำงาน ณ จุดที่รายงานว่าไปปฏิบัติงานจริง ๆ (กรณีที่ใช้ Feature นี้ โทรศัพท์มือถือต้องมี GPS ในตัว) 2. ผู้ควบคุมงานที่บริษัทจะสามารถเห็นการทำงานและความคืบหน้าได้ทุกโครงการทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ 3. สามารถจัดให้ลูกค้าระดับผู้บริหารที่สำนักงานใหญ่ เห็นความคืบหน้าของโครงการได้เช่นกัน โดยสามารถคัดกรองให้ดูเฉพาะบางส่วนได้ สำหรับงานการตลาดและการขาย 1. ใช้พิมพ์บนโปสเตอร์ ป้ายออกงานแสดงสินค้า โฆษณาในนิตยสารสิ่งพิมพ์ หรือพิมพ์บนนามบัตร ซึ่งเมื่อ บันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วจะสามารถเข้าเว็บไซต์บริษัทเพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ได้ทันที หรือ บันทึกภาพ Tag เก็บไว้ดูภายหลังก็ได้ 2. ใช้พิมพ์บนเอกสารบริษัท ซึ่งเมื่อบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือ แล้วจะสามารถพิมพ์บนแคตาลอก ผู้ดูสามารถเข้าเช็คสต็อกรายการที่ต้องการ และส่งใบแจ้งให้เสนอราคาทางเว็บบอร์ด ซึ่งหากผู้สนใจต้องการซื้ออย่างจริงจัง ก็สามารถเปิดให้ลงทะเบียน เพื่อส่งใบสั่งซื้อออนไลน์ และพิมพ์บนใบเสนอราคา ผู้ซื้อสามารถเปิดใบสั่งซื้อออนไลน์ โดยใช้ Password ที่กำหนดให้ เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทลูกค้าที่ตกลงเปิดใบสั่งซื้อออนไลน์ (ซึ่งอาจตกลงยืนยันทางเอกสารอีกทีก็แล้วแต่จะกำหนด) ขั้นตอนการนำ Tag มาใช้งาน ในสภาพความเป็นจริงของการใช้งาน ผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศจะพบ Tag ตามผลิตภัณฑ์ สิ่งของ สิ่งพิมพ์ สถานที่ ฯลฯ ซึ่งผู้ใช้ก็จะต้องบันทึกภาพ Tag ด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วโทรศัพท์มือถือก็จะเชื่อมไปสู่ข้อมูลสารสนเทศโดยทันทีตามที่กล่าวมาแล้ว ในหัวข้อขั้นตอนการนำ Tag มาใช้งานนี้จึงจะขออธิบายถึงการอ่าน Tag ก่อน ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ Tag ในฐานะผู้ประชาสัมพันธ์ข้อมูลสารสนเทศ หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ เจ้าของกระบวนการ ซึ่งเป็นผู้สร้าง Tag ไปติดไว้ตามที่ต่าง ๆ จะมีขั้นตอนอธิบายถึงการสร้าง Tag ในอันดับต่อไป ในการอ่าน Microsoft Tag ผู้ใช้จะต้องเริ่มต้นด้วยการ Download โปรแกรม Microsoft Tag Reader และติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือ โดยเปิด Web Browser ไปที่ gettag.mobi ระบบจะเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมสำหรับติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือนั้น ๆ ให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถอ่าน Microsoft Tag ได้โดยการเปิดโปรแกรม Microsoft Tag Reader แล้วบันทึกภาพ Tag ด้วยโปรแกรมนี้ ค่าที่ Microsoft Tag Reader อ่านได้จาก Tag จะถูกส่งไปที่ Microsoft Data Center เพื่อค้นหาข้อมูลสารสนเทศที่เก็บไว้แบบใดแบบหนึ่งใน 4 แบบตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แล้วส่งกลับมาแสดงบนจอภาพมือถือ การสร้าง Tag กรณีที่ผู้ใช้ต้องการสร้าง Microsoft Tag เอง ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยบริการที่ Microsoft มีมาให้ เริ่มจากผู้ใช้ต้องมี Windows Live ID ซึ่งสามารถขอได้ฟรีจาก https://signup.live จากนั้นก็เปิด Web Browser ไปที่ tag.microsoft และ Login ด้วย Windows Live ID ในขั้นตอนนี้ผู้ใช้ก็จะเข้าสู่หน้าต่างสำหรับจัดการ Microsoft Tag ซึ่งผู้ใช้สามารถ สร้าง แก้ไข และลบ Tag ได้ นอกจากความสามารถพื้นฐานดังกล่าวแล้ว Microsoft ยังมีบริการจัดทำสถิติของการเรียกใช้งาน Tag นั้น ๆ ให้ด้วย โดยแสดงเป็น Report ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ การเลือกสร้าง Tag ใหม่ จะมาที่หน้าต่างดังแสดงในภาพ สำหรับข้อมูลที่ต้องกรอกประกอบด้วย Tag Title: ตั้งชื่อ Tag โดยให้เกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศที่จะเข้าถึงหรืองานที่จะทำ Tag Type: เลือกชนิดของ Tag ว่าเป็นประเภทใด ระหว่าง URL, Free Text, vCard และ Dialer Tag Notes: กรอกคำอธิบายที่จะถูกเก็บไว้ที่โทรศัพท์มือถือหลังจากการเรียกใช้งานครั้งแรก Start Date (GMT): ระบุวันที่ซึ่งกำหนดให้ Tag เริ่มทำงาน End Date (GMT): ระบุวันที่ซึ่งกำหนดให้ Tag หมดอายุ ทำให้ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลจาก Tag นั้น ๆ อีกต่อไป URL: กรณีที่ Tag Type เป็นแบบ URL ก็ให้กรอก URL (เช่น ลิงก์ของเว็บไซต์ ลิงก์ของไฟล์วิดีโอ ลิงก์ของไฟล์เพลง ฯลฯ) อนาคต Microsoft Tag กับการตลาดในกรุงเทพฯ ระบบการทำงานของ Microsoft Tag เป็นไปตามแนวโน้มโลกในการเข้าถึงข้อมูลทุกหนแห่ง ซึ่งมีTagอิเล็กทรอนิกส์ (RFID, Microsoft Tag ฯลฯ) เป็นองค์ประกอบสำคัญ การใช้โทรศัพท์มือถือแทนเครื่องอ่านเฉพาะกิจราคาแพง จะทำให้ Microsoft Tag สามารถใช้แทน Tag อิเล็กทรอนิกส์อื่นในบางงานได้โดยมีต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนั้น การใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกับอินเตอร์เน็ตก็เป็นการรองรับวิถีชีวิตในกรุงเทพฯ ปัจจุบันจะสังเกตได้ว่าผู้ใช้โทรศัพท์จะนิยมใช้โทรศัพท์มือถือ โดยบางครั้งจะใช้แทนโทรศัพท์พื้นฐานทั้ง ๆ ที่มีโทรศัพท์พื้นฐานอยู่ใกล้ ๆ ทั้งนี้เป็นเพราะความสามารถในการเคลื่อนย้ายที่ได้ (mobility) ซึ่งความต้องการเคลื่อนย้ายที่ได้ของมนุษย์เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ในขณะที่ปัจจุบันมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความสามารถเคลื่อนย้ายที่ได้ของคนในกรุงเทพฯมากขึ้น หากระบบการทำงานสามารถเคลื่อนย้ายที่ตามผู้ปฏิบัติงานได้ ระบบนั้นก็จะเหมาะกับวิถีชีวิตในอนาคต ระบบงานที่ใช้ Microsoft Tag เพิ่มความสามารถเคลื่อนย้ายที่ในการทำงานจึงมีโอกาสจะได้รับความนิยมสูง การประยุกต์ใช้ Microsoft Tag ในงานธุรกิจอุตสาหกรรมในกรุงเทพฯ จึงควรเลือกประเภทงานที่จะได้รับประโยชน์จากต้นทุนต่ำและความสามารถที่จะเคลื่อนย้ายที่ได้สูงของผู้ใช้ข้อมูลสารสนเทศ เป็นเงือนไขอันดับต้น สถิติการใช้ Microsoft Tag ใน USA Microsoft Tag ปล่อย Info graphic ตัวใหม่เกี่ยวกับสถิติการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้คนในปี 2011 ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่นักการตลาดด้านมือถือของแต่ละบริษัทที่ต้องรู้ไว้เพื่อใช้ในการปรับแผนกลยุทธ์ให้ทันต่อกับความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีข้อมูลที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็น มีประชากรประมาณกว่าหนึ่งพันล้านคนหันมาใช้มือถือแบบสมาร์ทโฟนจากคนที่มีมือถือสี่พันล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2014 จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเข้าอินเตอร์เน็ตมากกว่าคนที่เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC และในอนาคตก็คือคนส่วนใหญ่ยังใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเล่นเกมส์อยู่ถึง 61% การส่งเสริมการตลาดในอนาคต 1. การทำธุรกิจและการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ B2B จะทำโดยผ่าน Social Media 2. การแข่งขันการส่งเสริมการตลาดจะออกมาในแนวของ Social Business มากยิ่งขึ้น มีการแข่งขันที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น การดำเนินกิจกรรมต่างๆ จะมุ่งเน้นผ่านไปยังอุปกรณ์ตัวกลางซึ่งก็คือ Mobile 3. มือถือจะกลายเป็นอุปกรณ์หลักในการเชื่อมต่อคนผ่าน Social Network 4. ในอนาคตผู้บริโภคจะต้องมี Social Identity เป็นของตัวเอง การสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์คือการสร้างตัวเองให้เป็นที่นิยมในหมู่แวดวงสังคม นั้นโดยใช้อินเตอร์เน็ตมีช่องทางที่หลากหลายยกตัวอย่างเช่น การโพสข้อความ การโพสคลิปวิดีโอของตนเองที่มีเนื้อหาน่าสนใจ ให้ความบันเทิง หรือ บางครั้งอาจสะท้อนความรุนแรงด้วยการด่าด้วยวาจาหยาบคายหรือการแสดงพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม อนาจารหรือการทำร้ายตบตี ในช่วงปีที่ผ่านมาคนดังที่เกิดจากการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์มีมากมาย การสร้างตัวตนเริ่มมีมากขึ้นใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านทางสังคมออนไลน์อย่างไม่ เหมาะสม จากนั้นเมื่อมีเกิดการแบ่งปันส่งต่อไปอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว บุคคลเหล่านั้นก็เริ่มเป็นที่รู้จักและโด่งดังถึงขีดสุด นอกจากกรณีการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์แล้ว สื่อสังคมออนไลน์ยังเป็นส่วนหนึ่งในการตีแผ่ความจริงของสังคมในหลายหลาย เรื่องราวนำความไม่ยุติธรรมและความเสื่อมทางสังคมมาแบ่งปันให้กันได้เห็น อย่างตลอดเวลา การสร้างตัวตนบนสังคมออนไลน์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่การเลือกใช้ช่องทางวิธีการใน การสร้างตัวตนนั้นควรจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เนื่องจากการเปิดกว้างของสื่อและการแพร่กระจายที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การกระทำทุกสิ่งบนโลกออนไลน์เสมือนมีการจับตาดูอยู่อย่างตลอดเวลา เพราะฉะนั้นก่อนโพสหรือกระทำการใดๆ ควรคิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้ดีว่ามีผลกระทบต่อบุคคลและสังคมหรือไม่ ซ้ำร้ายหากกระทำด้วยความคึกคะนองอาจจะผิด พรบ.คอมพิวเตอร์หรือกฎหมายหมิ่นประมาทและ อื่นๆ ได้ ในอนาคตอันใกล้นี้การสร้าง Social Identity อาจจะใช้การตรวจ DNA การแสดงอะไรบางอย่างที่แสดงตัวตนที่แท้จริง โดยจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับ 1 อาจจะใช้การสแกนบาร์โค๊ดที่ติดอยู่ที่แขนของผู้ใช้ โดยจะมีการใส่พาสเวิดเพื่อป้องกันอีกชั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด การแสดง Social Identity ในสังคมออนไลน์ในอนาคต จะมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง จากนวัตกรรมที่คิดค้นจากบริษัทไอทีชั้นนำของโลกอันใกล้นี้ 5. อนาคต ทุกๆ คนบนโลกเครือข่าย…หรือสังคมออนไลน์ จะกลายเป็นนักการตลาดโดยไม่รู้ตัว 6. Blog จะไม่ตาย เพราะ Social Network จะ Feed ข้อมูลไปเรื่อย แต่ Blog น่าจะกลายเป็นที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลแบบถาวรมากกว่า และ Social Network จะไปผูกกับ Search Engine มากขึ้น 7. ลูกค้าจะเชื่อเพื่อนในสังคมออนไลน์ มากกว่า เจ้าของสินค้า ที่โฆษณาแต่คุณสมบัติของตัวเอง 8. Social Commerce จะมาเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนธุรกิจ E-Commerce ภาคผนวก โมเดลการส่งเสริมการตลาด 1. แนวคิดการส่งเสริมการตลาดในปัจจุบัน เป็นแนวคิดที่ใช้ที่ใช้อยู่การตลาดปัจจุบัน ที่ใช้ IMC ในการทำการส่งเสริมการตลาด 2. แนวคิดการส่งเสริมการตลาดในอนาคต แนวคิดในอนาคตที่ใช้ Digital Channel เพื่อทำการส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นผู้บริโภค ให้มีการตอบสนองต่อค่านิยมกระแสนิยมของสินค้าและบริการ ด้วยกลยุทธ์ปากต่อปากในสังคมออนไลน์ เพื่อสร้างและเพิ่มคุณค่าของแบรนด์ ทำให้เกิดความภักดีในตราสินค้าอย่างยั่งยืน (Brand Royalty) และจะส่งผลในยอดซื้อสินค้าและบริการให้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน บรรณานุกรม Berges-Sennou, F. and Chambolle, C. (2006). Incentives to prey in vertical relationships and the retailers’ buying power, mimeo. McKinsey iConsumer. (2012). Digital marketing The need for a different approach in reaching consumers ComScore Report. (2011). RESEARCH INSIGHTS INTO MEASURING FACEBOOK FAN ACTIVITY. Peter S.H. Leeflang. (2012). Popularity of Brand Posts on Brand FanPages: An Investigation of the Effects of Social Media MarketingJournal of Interactive Marketing. Journal of Interactive Marketing Volume 26, Issue 2, May 2012, Pages 83–91 Coppa, F. (2006). A Brief History of Media Fandom. In K. Hellekson, & K. Busse, Fan fiction and fan communities in the age of the Internet (pp. 41-59). Jefferson, North Carolina: McFarland & Company. Wang, Y., & Fesenmaier, D. R. (2004). Modeling Participation in an Online Travel Community. Journal of Travel Research , 261. Parise, S., Guinan, P. J., & Weinberg, B. D. (2008, December 15). The Secrets of Marketing in a Web 2.0 World. Wall Street Journal , p. R1. Hitwise, E. (2010, December 29). Facebook was the top search term in 2010 for second straight year. Retrieved January 05, 2011, from: hitwise/us/press- center/pressreleases/facebook-was-the-top-search-term- in-2010-for-sec/ Microsoft Tag Implementation Guide. (August 2010). Practical requirements and recommendations to ensure successful Tag production. Begelman, G., Keller, P., and Smadja, F. (2006). Automated tag clustering: Improving search and exploration in the tag space. In Collaborative Web Tagging Workshop at WWW2006, Edinburgh, Scotland.
Posted on: Thu, 04 Jul 2013 15:27:42 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015