ภูมิ ๔ หรือ ๓๑ - TopicsExpress



          

ภูมิ ๔ หรือ ๓๑ (ชั้นแห่งจิต, ระดับจิตใจ, ระดับชีวิต — planes of existence; planes of life) ๑. อบายภูมิ ๔ (ภูมิที่ปราศจากความเจริญ — planes of loss and woe; unhappy planes) ๑) นิรยะ (นรก — woeful state; hell) ๒) ติรัจฉานโยนิ (กำเนิดดิรัจฉาน — animal kingdom) ๓) ปิตติวิสัย (แดนเปรต — ghost-sphere) ๔) อสุรกาย (พวกอสูร — host of demons) ๒. กามสุคติภูมิ ๗ (กามาวจรภูมิที่เป็นสุคติ, ภูมิที่เป็นสุคติซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกาม — sensuous blissful planes) ๑) มนุษย์ (ชาวมนุษย์ — human realm) ๒) จาตุมมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ท้าวมหาราช ๔ ปกครอง — realm of the Four Great Kings) ๓) ดาวดึงส์ (แดนแห่งเทพ ๓๓ มีท้าวสักกะเป็นใหญ่ — realm of the Thirty-three Gods) ๔) ยามา (แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ — realm of the Yama gods) ๕) ดุสิต (แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน — realm of satisfied fods) ๖) นิมมานรดี (แดนแห่งเทพผู้ยินดีในการเนรมิต — realm of the gods who rejoice in their own creations) ๗) ปรนิมมิตวสวัตตี (แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่นนิรมิตให้ — realm of gods who lord over the creation of others) ภูมิทั้ง ๑๑ ใน ๒ หมวดนี้ รวมเป็น กามาวจรภูมิ ๑๑ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในกาม — sensuous planes) ๓. รูปาวจรภูมิ ๑๖ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูป, ชั้นรูปพรหม — form-planes) ก. ปฐมฌานภูมิ ๓ (ระดับปฐมฌาน — first-Jhana planes) ๑) พรหมปาริสัชชา (พวกบริษัทบริวารมหาพรหม — realm of great Brahmas ’ attendants) ๒) พรหมปุโรหิตา (พวกปุโรหิตมหาพรหม — realm of great Brahmas’ ministers) ๓) มหาพรหม (พวกท้าวมหาพรหม — realm of great Brahmas) ข. ทุติยฌานภูมิ ๓ (ระดับทุติยฌาน — second-Jhana planes) ๔) ปริตตาภา (พวกมีรัศมีน้อย — realm of Brahmas with limited lustre) ๕) อัปปมาณาภา (พวกมีรัศมีประมาณไม่ได้ — realm of Brahmas with infinite lustre) ๖) อาภัสสรา (พวกมีรัศมีสุกปลั่งซ่านไป — realm of Brahmas with radiant lustre) ค. ตติยฌานภูมิ ๓ (ระดับตติยฌาน — third-Jhana planes) ๗) ปริตตสุภา(พวกมีลำรัศมีงามน้อย — realm of Brahmas with limited aura) ๘) อัปปมาณสุภา (พวกมีลำรัศมีงามประมาณหามิได้ — realm of Brahmas with infinite aura) ๙) สุภกิณหา (พวกมีลำรัศมีงามกระจ่างจ้า — realm of Brahmas with steady aura) ง. จตุตถฌานภูมิ ๓—๗ (ระดับจตุตถฌาน — fourth-Jhana planes) ๑๐) เวหัปผลา (พวกมีผลไพบูลย์ — realm of Brahmas with abundant reward) ๑๑) อสัญญีสัตว์ (พวกสัตว์ไม่มีสัญญา — realm of non-percipient beings) (*) สุทธาวาส ๕ (พวกมีที่อยู่อันบริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ คือ ที่เกิดของพระอนาคามี — pure abodes) คือ ๑๒) อวิหา (เหล่าท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว, ผู้คงอยู่นาน — realm of Brahmas who do not fall from prosperity) ๑๓) อตัปปา (เหล่าท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร — realm of Brahmas who are serene) ๑๔) สุทัสสา (เหล่าท่านผู้งดงามน่าทัศนา — realm of Brahmas who are beautiful) ๑๕) สุทัสสี (เหล่าท่านผู้มองเห็นชัดเจนดี หรือผู้มีทัศนาแจ่มชัด — realm of Brahmas who are clear-sighted) ๑๖) อกนิฏฐา (เหล่าท่านผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยกว่าใคร, ผู้สูงสุด — realm of the highest or supreme Brahmas) ๔. อรูปาวจรภูมิ ๔ (ชั้นที่ท่องเที่ยวอยู่ในอรูป, ชั้นอรูปพรหม — formless planes) ๑) อากาสานัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีอากาศไม่มีที่สุด — realm of infinite space) ๒) วิญญาณัญจายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีวิญญาณไม่มีที่สุด — realm of infinite consciousness) ๓) อากิญจัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะไม่มีอะไร — realm of mothingness) ๔) เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ (ชั้นที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ — realm of neither perception nor non-perception) ปุถุชน พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมไม่เกิดในสุทธาวาสภูมิ; พระอริยะไม่เกิดในอสัญญีภพ และในอบายภูมิ; ในภูมินอกจากนี้ ย่อมมีทั้งพระอริยะ และมิใช่อริยะไปเกิด. ในบาลีแห่งทีฆนิกาย เป็นต้น แสดง คติ (ที่ไปเกิดของสัตว์, แบบการดำเนินชีวิต — destiny; course of existence) ว่ามี ๕ คือ นิรยะ ติรัจฉานโยนิ เปตติวิสัย มนุษย์ และเทพ (พวกเทพ — heavenly world ได้แก่ภูมิ ๒๖ ตั้งแต่จาตุมหาราชิกาขึ้นไปทั้งหมด) จะเห็นว่าภูมิ ๓๑ สงเคราะห์ลงได้ในคติ ๕ ทั้งหมด ขาดแต่อสุรกาย อย่างไรก็ดีในอรรถกถาแห่งอิติวุตตกะ ท่านกล่าวว่า อสูร สงเคราะห์ลงในเปตตวิสัยด้วย จึงเป็นอันสงเคราะห์ลงได้บริบูรณ์ และในคติ ๕ นั้น ๓ คติแรกจัดเป็นทุคติ (woeful courses) ๒ คติหลังเป็นสุคติ (happy courses). อนึ่ง พึงเทียบภูมิ ๔ หรือ ภูมิ ๓๑ ข้อนี้ กับ (๑๖๑) ภูมิ ๔ ที่มาในพระบาลีด้วย กล่าวคือ ภูมิ ๔ หรือ ๓๑ ชุดนี้ จัดเข้าในภูมิ ๓ ข้อต้นใน (๑๖๑) ภูมิ ๔ ดังนี้ อบายภูมิ ๔ และกามสุคติภูมิ ๗ รวมเข้าเป็นกามาวจรภูมิ (๑๑) ส่วนรูปาวจรภูมิ (๑๖) และ อรูปาวจรภูมิ (๔) ตรงกัน รวมภูมิทั้งหมด ๓๑ นี้ เป็นโลกิยภูมิ พ้นจากนี้ไปเป็นโลกุตตรภูมิ ดู (๑๖๑) ภูมิ ๔; (๑๙๒) อบาย ๔; (๑๙๙) อรูป ๔; (๒๕๖) สวรรค์ ๖.
Posted on: Sat, 07 Sep 2013 07:05:15 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015