หมวดหมู่ : - TopicsExpress



          

หมวดหมู่ : เศรษฐกิจ-หุ้น โดย...ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์ CEO บลจ.วรรณ สวัสดีครับ ผ่านไปกว่าครึ่งปีและก้าวเข้าสู่ครึ่งปีหลังกันแล้วนะครับ โดยหากพูดถึงภาพรวมของการลงทุนในช่วงนี้แล้วจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก ทำให้การลงทุนในช่วงเวลานี้โดยเฉพาะครึ่งหลังของปียังผันผวนมากกว่าครึ่งปีแรกจากหลากหลายปัจจัยทั้งต่างประเทศโดยเฉพาะท่าทีการชะลอนโยบายการเงินเชิงปริมาณ (QE) ของธนาคารกลางสหรัฐ และการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในเดือน ก.ย. 2556 รวมทั้งปัจจัยในประเทศทั้งในด้านการเมือง การขยายตัวทางเศรษฐกิจและกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งทำให้นักลงทุนคงต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นสำหรับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ สำหรับสหรัฐ ภาคเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคแรงงาน รวมทั้งญี่ปุ่นก็ได้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เป็นเชิงบวกมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่นายกรัฐมนตรี นายชินโสะ อาเบะ ได้ตัดสินใจกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน 3 นโยบายหลักทั้งนโยบายการเงิน การคลังและการมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Growth Strategy) ซึ่งน่าจะสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญให้แก่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นในอนาคต โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึง 9 ส.ค. 2556 ตลาดหุ้น NIKKEI ได้ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 38.2% และทำให้ตลาดญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งตลาดที่เหมาะสมหากนักลงทุนจะกระจายการลงทุน ในฟากยูโรโซนคาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะในยูโรโซนยังคงยืดเยื้อต่อไป และมีแรงกดดันต่อพัฒนาการเศรษฐกิจในกลุ่มเป็นระยะๆ หากนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเดียวกันยังไม่ได้รับการแก้ไข โดยนักลงทุนยังคงต้องติดตามการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในช่วงเดือน ก.ย.นี้ เนื่องจากเยอรมนีเป็นประเทศหลักสำคัญในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ยูโรโซน สำหรับตลาดหุ้นไทย ปัจจัยการเมืองยังเป็นแรงกดดันหลักของตลาดอย่างต่อเนื่อง แต่เชื่อว่าความตึงเครียดนี้น่าจะเป็นเพียงชั่วคราวและอยู่ในวิสัยที่ภาครัฐสามารถบริหารจัดการได้และไม่ยืดเยื้อจนนำมาสู่ความรุนแรง ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจบ้านเรายังคงดีอยู่จากการบริโภคภายในประเทศ แม้ว่าจะมีทิศทางแผ่วลงจากปีที่ผ่านมาก็ตาม แต่ทั้งนี้ด้านการส่งออกยังคงต้องติดตามพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศแกนหลัก เนื่องจากการส่งออกเป็นสัดส่วนหลักต่อการขยายตัวของ GDP ไทย แต่ด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้าและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ที่มีเสถียรภาพมากขึ้นก็น่าจะผลักดันให้การส่งออกของไทยพลิกกลับมาขยายตัวได้บ้างในช่วงครึ่งปีหลัง และจากความผันผวนของการลงทุนที่มีแนวโน้มมากขึ้นในครึ่งปีหลังนั้น ทำให้การลงทุนที่แนะนำในช่วงเวลานี้คือ นักลงทุนควรจัดสรรพอร์ตการลงทุนให้รองรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยประเมินว่าสัดส่วนที่เหมาะสมนั้น นักลงทุนควรลงทุนในประเทศประมาณ 80% โดยแบ่งเป็นการลงทุนในหุ้น (รวมทั้งกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้น) เงินฝาก และกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market) หรือ Term Fund ซึ่งหากนักลงทุนรับความเสี่ยงได้ดีก็สามารถเน้นน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากมองว่าราคาหุ้นเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยภูมิภาค ขณะที่อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Yield) อยู่ในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคด้วยกัน โดยมองว่าดัชนีในปีนี้น่าจะมีโอกาสอยู่ในกรอบ 1,470-1,640 จุดที่ระดับ P/E Forward 13.5-15.0 เท่า โดยมีค่ากลางที่ 1,526 จุด กลุ่มหุ้นที่น่าสนใจคงจะเป็นหุ้นในกลุ่มขนาดใหญ่ (Big Cap) อย่างเช่นธนาคารพาณิชย์ พลังงาน สื่อสารและโรงพยาบาล ขณะที่ปีหน้ายังคงมุมมองว่าตลาดยังคงเป็นขาขึ้นจากราคาหุ้นต่อกำไร (P/E) ในปี 2557 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 11.8 เท่าจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้และผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ซึ่งนักลงทุนควรทยอยสะสมหุ้นได้หากดัชนีแตะระดับต่ำกว่า 1,400 จุด และทยอยขายเพื่อรับรู้กำไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่ตลาดผันผวน ส่วนอีก 20% ที่เหลือควรกระจายการลงทุนในตราสารต่างประเทศบ้าง โดยเฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่น จากพัฒนาการของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงเสถียรภาพของรัฐบาลญี่ปุ่นของนายชินโสะ อาเบะ ก็น่าจะเอื้อต่อการดำเนินนโยบายของเศรษฐกิจต่างๆ ต่อไป
Posted on: Mon, 12 Aug 2013 06:00:17 +0000

Recently Viewed Topics




© 2015