อาเซียน หรือ - TopicsExpress



          

อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : TheAssociation of South East Asian Nations) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาวเวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไนจะเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ การที่พลเมืองของแต่ละประเทศรู้สึกถึงการเป็นภูมิภาคเดียวกันเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจ ๑ ในเป้าหมายความร่วมมือคือประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยเฉพาะพื้นฐานความรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มุ่งเน้น “การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน” ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายความสำเร็จของความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน จากมุมมองความแตกต่างจะเกิดเป็นความคุ้นชิน ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนไปสู่การยอมรับซึ่งกันและกัน ในความคล้ายคลึง ความโดดเด่นเฉพาะตัวของแต่ละชาติ และความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม จะหลอมรวมเป็น “อัตลักษณ์ร่วม” ที่พลเมืองอาเซียนกว่า ๖๐๐ ล้านคนใน ๑๐ ชาติสมาชิกอาเซียนจะได้ร่วมรู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของและเกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวท่ามกลางความหลากหลายที่เรียกว่า “One Vision, One Identity, One Community”ซึ่งเป็นคำขวัญของประชาคมอาเซียน หมายถึง“หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ และหนึ่งประชาคม”โดยมุ่งเน้นไปที่ ๓ ประชาคมคือ๑.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN PoliticalSecurity Community : APSC) ๒.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) ๓.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEANSocio-Cultural Community : ASCC) โดยเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. ๒๐๐๙-๒๐๑๕) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘ ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ๑. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC)มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี ๒.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ๓. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือในมิติด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมเสาหลักด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนเริ่มจากการทำให้คนไทยเห็นคุณค่าของการมีวัฒนธรรมร่วม ที่มีความเหมือนหรือความคล้ายกัน มาหลอมรวมให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ประจำอาเซียน ที่เรียกว่า “มรดกร่วมอาเซียน” หรือ “มรดกร่วมอุษาคเนย์” อาทิ ภาษา การแต่งกาย ศิลปะการแสดง นาฏศิลป์-ดนตรี ประเพณี และเคารพในความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยได้ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจัดเสวนา “บ้านเราอุษาคเนย์”ภายใต้การผลิตสื่อศิลปวัฒนธรรมอาเซียน โครงการ “รู้เขา รู้เรา รู้จักอาเซียน”เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มประเทศอาเซียนในมิติวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้แก่ มิติเรื่องอาหาร เครื่องแต่งกาย ศิลปะการแสดง และวิถีชีวิตความเชื่อนำเสนอในรูปแบบเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดแสดงทางศิลปวัฒนธรรม จัดการสนทนากลุ่ม (Focus group)โดยมีวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินพื้นถิ่นเป็นผู้ร่วมสนทนา กำหนดจัดขึ้น ๔ ครั้ง ในระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน ๒๕๕๖ดังนี้ ๑) จังหวัดหนองคาย วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ ๒) จังหวัดสระแก้ว วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ๓) จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๖ ๔) จังหวัดสงขลา วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖ ใครอยู่วนพื้นที่น่าจะเข้าร่วมกิจกรรมนะครับมีอะไรที่น่าสนใจมากมาย
Posted on: Mon, 15 Jul 2013 03:30:16 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015