เก็บตกพม่า (ตอนจบ).... - TopicsExpress



          

เก็บตกพม่า (ตอนจบ).... เช้านี้ผมมีไปประชุมสัมมนา เรื่อง ต่อยอดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ตลาด AEC กับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์...น่าจะได้ข้อมูลดี ๆ มีแชร์ต่อ เพื่อให้ทริปพม่าของผมครบถ้วนสมบูรณ์ วันนี้ขอปิดท้ายด้วยเรื่อง ค้า ๆ ขาย ๆ ในพม่า หลังจากที่พาไปดูภาพรวม ๆ มาแล้ว เริ่มที่พฤติกรรมผู้บริโภคกันก่อนนะครับ.... ผมเห็นคนวัยทำงานของพม่ามากมาย กว่าคนสูงอายุ และเด็ก นั่นหมายถึง ผู้คนอยู่ในวัยที่มีรายได้ และเป็นกลุ่มคนที่มีอำนาจตัดสินใจซื้อมากทีเดียว... ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ก็จะเจอกับผู้คนวัยนี้ อายุระหว่าง 18-50 ปี น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด เขากินใช้อะไรกันมาก ธุรกิจที่ผมเห็นมากที่สุดในการเดินทางไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ถนนไหน คือ ร้านน้ำชาครับ...เขาดื่มชานม เป็นที่นิยม ร้านรวงก็ไม่ได้หรูหราอะไร เป็นร้านง่าย ๆ อยู่ริมฟุตบาต สังเกตุมีเตาต้มน้ำแบบโบราณอยู่หน้าร้าน เก้าอี้โต๊ะตัวเล็ก ๆ เตี้ย ๆ ที่นั่งแล้วเหมือนนั่งย่อง ๆ อ่ะครับ... ในร้านก็มีชาร้อนชาเย็น บางร้านมีขนมปังทาเนย บางร้านหนักหน่อยก็มีข้าวผัดแถมด้วย... ธุรกิจเสื้อผ้าผมเดินดูไม่มาก เห็นเสื้อผ้าจากจีนเป็นส่วนใหญ่ เขาชอบผ้าลูกไม้แบบที่คนต่างจังหวัดชอบใส่อยู่บ้านกัน เห็นร้านเสื้อผ้าจากไทยของกลุ่มสหพัฒน์ เช่น วาโก้ แอร์โรว์ ขนาดเสื้อดูจะเล็กกว่าไทย เพราะคนที่นี่ตัวไม่อ้วน ไม่ใหญ่เท่าคนไทย เสื้อผู้หญิงเห็นไซส์ สัก 36-38 บ้านเราไม่ค่อยเห็นแล้วครับ... ธุรกิจคาร์แคร์ ประดับยนต์ ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ ร้านซ่อมรถยนต์ ซ่อมจักรยานยนต์ ร้านซ่อมติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ พวกนี้ไม่ค่อยเห็นตามริมถนนที่ผมผ่าน ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหน แต่คิดว่าทั้งหมดที่ผมกล่าวน่าจะเป็นโอกาสของ รายย่อยของไทย เพราะเรามีความรู้ ความชำนาญ มากกว่า พม่ามีแรงงาน และต้องการความรู้จากเรา จริง ๆ พม่ายังเป็นโอกาสสำหรับรายย่อยของไทยนะครับ ประเด็นจากที่เขียนเรื่องพม่าไปแล้วสองตอน คือ เริ่มต้นอย่างไรในพม่า ? ถ้าผมจะลงทุน ผมจะเริ่มจาก เดินทางเข้าไปดู ไปสักเกตุ สำรวจด้วยตัวเองสักครั้ง แล้วจดบันทึกสิ่งที่อยากทำ หรือ เห็นว่าน่าจะมีโอกาสทำได้ ไว้ให้หมดเสียก่อน แล้วผมจะเดินไปพูดคุยขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบ กฎหมายของพม่าจาก สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ ที่คนไทยเรียกว่า "ฑูตพาณิชย์" เพื่อทบทวนสิ่งที่ตัวเองสนใจว่า ยังใช่ยังมีโอกาสหรือไม่ แล้วเริ่มตัดสิ่งที่ไม่ใช่ทิ้งไป รวมทั้งขอคำแนะนำจากฑูตพาณิชย์ ให้ช่วยแนะนำนักธุรกิจในพม่า ให้รู้จักเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางในการทำธุรกิจ ขั้นตอนต่อมาผมจะไปพบขอข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมการลงทุนพม่า หรือ ที่เรียกว่า MIC (Myanmar Investment Commercial) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้การส่งเสริมการลงทุน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับภาษีและสิทธิประโยชน์สำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ค่าเช่าที่ดินสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ การขนส่ง และ supply chian ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำกับมาประมวลจัดทำเป็นแผนธุรกิจ ดูจุดคุ้มทุน ดูช่องทางการขายการจำหน่าย จุดอ่อนจุดแข็ง ให้ชัด แล้วค่อยตัดสินใจลงทุนในพม่า ชั่วโมงนี้เป็นจุดเริ่มที่เหมาะสมสำหรับรายเล็ก รายย่อยครับ... เลยจากนี้ไปอีก 3-5 ปี การแข่งขันจะสูงมาก เพราะ ญี่ปุ่นทุ่มแล้วที่เขตอุตสาหกรรมตะลาวา ริมแม่น้ำย่างกุ้ง เวียดนามลงในอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรกลางเมือง ตามด้วยร้านรวงเล็ก ๆ ทั้งอาหาร เสื้อผ้า จากเกาหลี... ถ้ารัฐบาลไทยคิดว่าจะเป็นศูนย์กลางอาเซียนจริง ผมคิดว่านอกจาก จะต้องมีนโยบายสนับสนุนให้นักธุรกิจรายย่อยจากไทยไปลงทุนในพม่า คงต้องจัดตั้งกองทุนดอกเบี้ยต่ำให้กับนักธุรกิจไทย ที่มีแผนธุรกิจดี ๆ เข้าไปบุกในตลาดพม่าเช่นเดียวกับ รัฐบาลเกาหลีส่งเสริมให้นักธุรกิจของเขาบุกบ้านเรา.... ว่าแต่..ท่านนายกไทย หาเวลาไปเยือนพม่าอีกครั้งดีไหมครับ...จะได้ชัดและสร้างโอกาสให้นักธุรกิจรายเล็ก ๆ จากไทย.....
Posted on: Fri, 13 Sep 2013 02:29:53 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015