โปรโตคอล( Protocol ) - TopicsExpress



          

โปรโตคอล( Protocol ) คือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายดังนั้นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่ายจะติดต่อสื่อสารกันได้ก็ต้องใช้โปรโตคอลเดียวกัน โปรโตคอล IPX/SPX เป็นการรวมสองโปรโตคอลเข้าด้วยกัน เพื่อให้เป็นโปรโตคอลหลักในการติดต่อสือสารในเครือข่ายที่ใช้ระบบปฏิบัติการเครื่อข่าย IPX ( Internetwork Packet Exchange ) ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่อยู่ในเครื่อข่ายต่างกันเมื่อโปรโตคอล IPX ส่งข้อมูลโปรโตคอลนี้จะไม่มีการตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล SPX ( Sequenced Packet Exchange ) เป็นโปรโตคอลที่ขยายขีดความสามารถของโปรโตคอล IPX เมื่อโปรโตคอล SPX ส่งข้อมูลมันจะเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สองเครือข่ายและคอยตรวจสอบการส่งข้อมูล ( เหมือนรับประกันว่าข้อมูลไม่มีข้อผิดพลาด ) NetBEUIT เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในเครือข่ายเล็ก ๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ NetBIOS เป็นวิธีการให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP ประกอบขึ้นด้วยโปรโตคอลย่อยหลายตัว ซึ่งแต่ละตัวก็ทำงานในแต่ละส่วนแตกต่างกัน TCP ( Transmission Control Protocol ) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองตัวในเครือข่าย TCP/IP โดย TCP ใช้พอร์ตเสมือนในการเชื่อมต่อและคอยตรวจสอบการส่งข้อมูล IP ( Internet Protocol ) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับที่อยู่ของข้อมูลและส่งไปยังปลายทางที่ถูกต้องในเครือข่าย TCP/IP FTP ( File Transfer Protocol ) เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายไฟล์ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างประเภทต่างระบบในเครือข่าย TCP/IP Firmware : เฟิร์มแวร์ หมายถึงซอฟต์แวร์ ที่บรรจุในชิปแทนที่จะบรรจุในจานบันทึกข้อมูลตามปกติ เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในตอนเริ่มต้น เพราะจะต้องทำงานทันที่ที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ MAC Address ( Media Access Control Address ) หมายถึง Address ที่ใช้อ้างอิงในระดับของฮาร์ดแวร์ที่กำหนดจากโรงงานของผู้ผลิต ซึ่งจะไม่ซ้ำกันและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไม่ว่าการ์ด LAN ; Hup / Switch หรือ Router จะต้องมี MAC Address เสมอ ตัวอย่างเช่น 00- 29 –15 –73 –8c เป็นต้น คุณสามารถตรวจดูว่าการ์ด LAN ที่คุณใช้อยู่นั้นมี MAC Address อะไร โดย Run Program winipcfg หรือใช้คำสั่ง “ ipconfig /all ใน DOS ก็เช่นกัน MAC Address บางครั้งเรียกว่า Physical Address หรือ Adapter Address หรือ Medial access control address ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวอุปกรณ์ ที่อยู่ในเครือข่ายค่า MAC Address จะถูกกำหนดจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ตั้งแต่เริมผลิต เช่น อุปกรณ์ NIC ( Network Interface Card ) จะมีค่า MAC Address ประจำที่ไม่ซ้ำกันและไม่สามารถแก้ไขได้ Inter NIC ( Internet Network Information Center ) เป็นผู้ดูแลฐานข้อมูลการแจกจ่าง IP Address HUP หรือ Repeater เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสํญญาณที่ได้รับมาสงต่อให้กับอุปกรณ์อื่นที่ต่อเข้ากับมันจัเป็นอุปกรณ์ที่มีการทำงานอยู่ในชั้นที่ 1 หรือ Physical Layer ของ OSI เพราะมันจะมีหน้าที่ขยายสัญญาณที่ได้รับโดยไม่มีซอฟต์แวร์มาเกี่ยวข้องในการจัดรูบแบบของข้อมูล Host หมายถึงเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ ที่ให้บริการใด ๆ ในเครือข่าย Router เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ LAN หลาย ๆ เครือข่าย เข้าด้วยกันกับ Switch โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูลให้สามารถสื่อสารข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง จากยูนิกซ์เป็นลีนุกซ์ คุณสมบัติของยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มีความโดดเด่นกว่าระบบประฏิบัติการอื่นอยู่ 3 อย่างคือ 1. มัลติทาสกิ้ง ( Multi-tasking ) เป็นคุณสมบัติที่ทำให้มีการใช้งานหรือทำงานหลายงานในเวลาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธภาพ ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลารอให้งานหนึ่งเสร็จก่อนแล้วค่อยทำงานอีกหย่างหนึ่ง 2. มัลติยูสเซอร์ ( Multi-user ) เป็นคุณสมบัติที่ระบบยอมให้มีผู้มาใช้งานระบบหรือขอใช้ข้อมูลต่าง ๆ ของระบบได้พร้อมๆ กันหลายคน 3. อินเตอร์แอ็คทีฟ ( Interactive ) ระบบจะมีการโต้ตอบกับผู้ใช้โดยการรับข้อมูลหรือผ่านทางอุปกรณ์อินพุทเช่น คีย์บอร์ด และเมาส์ โครงสร้างระบบนูนิกซ์ ในระบบยูนิกซ์ได้แบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีความสามรถและหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ฮาร์ดแวร์ เป็นเหมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น 2. ยูนิกซ์ เคอร์เนลเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของระบบ เพราะมันจะมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรทรัพยากรของระบบ การเตรียมระบบการจัดเก็บข้อมูลหรือบริหารหน่วยความจำโดยจะควบคุมอุปกรณ์ที่อยู่ทั้งในและนอกเครื่องทั้งหมด 3. เชลล์ ส่วนนี้เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล มันจะคอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุท เช่น คิย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาใหเครื่องเข้าใจมันยังมีหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุทและเอาต์พุทได้ด้วย 4. โปรแกรมประยุกต์ เป็นส่วนของโปรแกรมที่ยูนิกซ์มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ระบบโครงสร้างของไฟล์ ในระบบยูนิกซ์ก็จะมีส่วนที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นระบบโครงสร้างไฟล์เหมือนกับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ คือประกอบด้วยระบบไฟล์และไดเร็คทรอรี
Posted on: Fri, 02 Aug 2013 22:26:01 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015