มีคนชอบพูดกันบ่อยๆ - TopicsExpress



          

มีคนชอบพูดกันบ่อยๆ "เวลาแก้ปัญหา ต้องแก้ที่ต้นเหตุ มิใช่ปลายเหตุ" เห็นจะสร้างเขื่อนแม่วงศ์ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและเพื่อสาธรณูประโภคด้านต่างๆ ซึ่งก็มีการต่อต้านจากมวลชนทั้งประเทศ เช่นจากกลุ่มอนุรักษ์ เพราะว่ามันไม่คุ้มที่จะสร้าง หรือบางกลุ่มที่ได้ผลประโยชน์ก็จะสนับสนุน เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน แล้วก็จะมีนักคิด ออกมาพูดโต้แย้งต่างๆมากมายเป็นเกมส์การเมือง แต่รัฐบาลก็สวนกลับท่าเดียวว่าจะสร้างๆ อย่างสถานะการณ์ปัจจุบัน โดยสาระแล้วก็มีแต่ 1. งบประมาณ 13,000 บาทกับการคอรัปชั่น 2. ความคุ้มค่าที่จะสร้างเขื่อนขึ้นมา ผลกระทบต่างๆ ผมว่ามันง่ายครับที่เราจะประเมินว่าสิ่งที่ได้มาว่ามันคุ้มกับที่เสียไปหรือเปล่า และเราจะรับรู้ได้ว่าใครจริงใจ และใครไม่จริงใจจากการประเมินในสิ่งเหล่านี้ และผมมองว่า สิ่งที่พวกเรากำลังทำอยู่ มันเป็นเหมือนว่าเรากำลังพูดถึงปัญหาที่ปลายเหตุ แล้วพยายามแก้ปัญหา ณ จุดนั้น แต่ผลสรุปไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ปัญหาของมันก็ยังคงมีอยู่เช่นเดิม "ทุกสิ่งเกิดขึ้นอย่างมีเหตุและมีผล" ทำไมต้องสร้างเขื่อน? ทำไมเราต้องกักเก็บน้ำ? คำตอบคือเรามีความต้องการใช้น้ำอย่างมีเหตุมีผล เช่นเผื่อแล้ง เพื่อขยายเกษตรกรรม (เพื่อใช้น้ำทิ้งขว้าง) เขื่อนมีประโยชน์ที่จะตอบสนองเหตุผลทำนองนี้ เพราะฉะนั้นเขื่อนสร้างขึ้นมาก็เพื่อตอบสนองการใช้น้ำของคน (ไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้) แต่โครงสร้างในประเทศไทย เช่นพื้นที่ ภูมิประเทศ ทำให้การสร้างเขื่อนมีข้อจำกัดอยู่มาก และมีจำนวนจำกัด ซึ่งหมายถึง อุปทานการผลิตน้ำ(กักเก็บน้ำ)เพื่อให้คนนำไปใช้นั้น มีอยู่อย่างจำกัด แต่อุปสงค์ความต้องการน้ำมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานสถานการณ์ทรัพยากรน้ำ สรุปได้ว่า คนไทยมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นทุกปี ส่วนใหญ่ใช้ในการเกษตร และความขาดแคลนน้ำก็มีเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุที่ขาดแคลนเกิดจากการส่งน้ำที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดย ปี 2549 มีการกักเก็บน้ำสูงมากเกือบเท่าปี 2554 ที่เกิดน้ำท่วมขึ้นมา โดยเขื่อนใหญ่ๆ เช่น เกณฑ์วัดเดือนตุลาคม -เขื่อนภูมิพล ปี 2549 กักเก็บน้ำ 13,294 ลบ.ม และ 2554 = 13,390(99%) ลบ.ม -เขื่อนสิริกิติ์ ปี 2549 กักเก็บน้ำ 9464 ลบ.ม และ 2554 = 9495(100%) ลบ.ม thaienvimonitor.net/Concept/priority2.htm จากบันทึก น้ำท่วม 2554 ที่ผมอ่าน thaiwater.net/current/flood54.html สรุปสาเหตุได้ว่า โครงสร้างการจัดการน้ำไม่ยืดหยุ่นพอ การบริหารจัดการการระบายน้ำจึงไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ ปัจจัยเช่นความต้องการน้ำเพื่อการเกษตร ความต้องการน้ำในครัวเรือนเผื่อหน้าแล้งที่จะถึง การชลอปล่อยน้ำเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้า เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้มีการคาดการณ์การกักเก็บน้ำเป็นไปอย่างผิดพลาด และไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ประกอบกับปัจจัยทางธรรมชาติ "ผลกระทบจากสิ่งที่เราไม่ได้ตั้งใจ" เมื่อประเทศต้องการ GDP. GDP ที่เพิ่มขึ้น หมายถึงเราต้องการผลิตที่มากขึ้น เพื่อให้คนมีรายได้มากขึ้น เราอยากเห็นความเป็นอยู่ของผู้คนดีขึ้น มีเงินใช้ การสร้างเขื่อนจึงมีขึ้นอย่างมีเหตุผล แต่ด้วยโครงสร้างประเทศ และเขื่อนที่มีอยู่ จึงจำเป็นต้องรับน้ำ เราพยายามที่จะเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุดเพื่อที่จะเอาไว้ใช้ในหน้าแล้งเพิ่มขึ้นอย่างเต็มอัตรา และในปี 2554 ฝนตกมากผิดปกติ เกินความคาดหมายถึง 35% ทำให้น้ำทะลักเขื่อนและท่วมประเทศ "ในขณะที่มีคำสอนจากคนในอดีต เรากลับละเลย" "ในขณะที่มีสัญญาณเตือนภัยต่างๆ แต่เรากลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่.." "ธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่ช่วย และคอยเตือนเรา ให้เราระรึกถึงมันเสมอ" ทางเลือกและแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในอนาคตของประเทศไทย พิจารณาจากเงื่อนไขที่ว่า ปริมาณน้ำในเขื่อนมีมากกว่าที่ใช้ แต่การส่งน้ำไปถึงหน่วยต่างๆ เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้บางพื้นที่ยังเกิดภัยแล้ง ในขณะที่มีน้ำอยู่ แล้วมาพิจารณาประกอบกับ ตามหลัก Demand&Supply ในสถานกาณ์ที่มีความต้องการใช้น้ำเกินดุล คือ 1. สร้างเขื่อนเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ และต้องมารับผิดชอบส่วนค่าใช้จ่าย หรือส่วนต่างของค่าทางสังคมที่สูญเสียไป "dead weight loss" (สังคมมองว่าสร้างเขื่อนไม่ได้อีกแล้ว เป็นไปไม่ได้) ปล.ซึ่งวิธีนี้เราใช้กันมาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน 2. ลดการใช้น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการรณรงค์ให้ประหยัดน้ำ (เป็นไปได้ยาก เพราะคนเราชอบละเลย เพิกเฉย),, ทางออกที่ลงตัวคือคำตอบ (อาจจะมีดีกว่าอันนี้ผมคิดเอา) 1. ลดการกักเก็บน้ำลง เพื่อขยายความยืดหยุ่นในการบริหารน้ำ ลดความเสี่ยงกับอุทกภัย พัฒนาและสร้างระบบจัดการ การกระจายในภาคเกษตรการผลิต และภาคครัวเรือน เพื่อให้การส่งน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดภัยแล้งได้หลายพื้นที่ 2. ลดการใช้น้ำ ภาคครัวเรือนโดยรณรงค์ให้ครัวเรือนใช้น้ำอย่างประหยัด สร้างจิตสำนึก ให้คนรู้ว่าน้ำท่วมมีเราเป็นสาเหตุ ภาคการผลิตการเษตรเชิงธุรกิจ จัดตั้งให้มีฝ่ายบริหารน้ำเพื่อการเกษตร ระบบดูแลและการควบคุมภาคเกษตรให้มีการใช้น้ำอย่างจำกัดและมีประสิทธิภาพ หรือลดการเกษตรที่ให้ผลผลิตเกินความจำเป็นและที่ใช้น้ำมากๆ อย่างเช่นปลูกข้าว (ปลูกแล้วขาดทุน..แถมต้องมาเก็บไว้ในคลัง)... ทั้งนี้การลดการใช้น้ำก็สามารถลดปัญหาเกษตรกรเจอภัยแล้งได้ด้วย ผมเชื่อว่าจุดลงตัวที่สุดของเรื่องนี้ สักวันใดวันนึงต้องมาถึงแน่ๆ แต่ระหว่างนั้นต้องมีคนล้มเจ็บล้มตายแน่ๆ มันเป็นเรื่อง "ดูเหมือนธรรมดา" "Everything happen for reason during a period of time, Until it seem familiar but unusual." ถ้าในปี 2554 สมมุติว่า ความต้องการใช้น้ำของประเทศเรา = 65% ของปริมาณน้ำในเขื่อนมาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้บริหารน้ำก็สามารถบริหารได้อย่างสบาย(สบายกว่ารับน้ำ 100%) แสดงว่า ส่วนต่าง 35% สามารถบริหารจัดการน้ำได้โดยเฉพาะ กรณีมหาอุทกภัยที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ 35% เราก็จะสามารถ เอาอยู่อย่างท่านนายก ปู กล่าวไว้ก็เป็นได้.. มีข้อมูลอยู่ในมือแท้ๆ แต่ก็นะรัฐบาล ...จะสร้างเขื่อนให้ได้ "Chaos theory and Butterfly effect" "บางทีสิ่งที่เราเรียกว่าพัฒนาหรือให้มันดีขึ้น อาจเป็นความตั้งใจของเราที่อยากจะให้มันเกิดขึ้น แต่บางทีมันอาจจะมีมากเกินไป จนเกินความต้องการ" จนสิ่งที่เกินความจำเป็นเหล่านั้น มาเป็นเหตุอย่างไม่ได้ตั้งใจ และเป็นผลกระทบที่เราไม่สามารถคาดคิดหรือระบุได้อย่างชัดเจน ในอนาคต อย่างกรณีน้ำท่วม "การพิจารณาตัวแปรมากมายในระบบอันยุ่งเหยิงและพยายามเข้าจัดการกับตัวแปรบางตัวด้วยหวังผลว่ามันจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตนต้องการนั้น ไม่อาจเกิดผลจริง เพราะระบบมีสมดุลของมัน เมื่อตัวแปรหนึ่งถูกรบกวน ก็จะมีตัวแปรมากมายได้รับผลกระทบและเกิดการสะท้อนกลับเข้าสู่สมดุลตามเดิม การกระทำโดยมุ่งเป้าไปที่ตัวแปรบางตัวนี้ แม้ทำให้เกิดผลลัพธ์ทันใจแต่จะได้รับผลสะท้อนและปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกไม่รู้จบดุจการตัดหญ้าไม่ถอนโคน ปัญหาย่อมงอกใหม่ไม่จบสิ้น" oknation.net/blog/buddhabath/2010/01/29/entry-2
Posted on: Thu, 26 Sep 2013 18:34:42 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015