กองทุนบัวหลวง - TopicsExpress



          

กองทุนบัวหลวง มองสหรัฐอเมริกา ----------------------------------- การส่งสัญญาณลดปริมาณเงินซื้อพันธบัตร (Tapering) ของ FED ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินของกลุ่มประเทศ EM จากทิศทางการเคลื่อนย้ายของเงินทุน (เกิด Risk off sentiment) ทั้งตลาดค่าเงิน บอนด์ และตลาดหุ้น ซึ่งเคยเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากในช่วงที่สภาพคล่องล้นระบบ สิ่งที่ต้องจับตามองในอนาคตคือ แผนการเริ่มดูดเงินกลับของ FED และสัญญาณการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และการค้นพบ Shale gas ที่ทำให้สหรัฐลดการนำเข้าน้ำมันได้ ได้ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับประเทศกลุ่ม EM ที่กู้ยืมเงินในสกุลดอลลาร์หรือที่ขาดดุลการค้าระดับสูงได้ เช่น อินโดนีเซีย และ อินเดีย กองทุนบัวหลวง มองยุโรป --------------------------- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะยังคงดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่องเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในกลุ่ม โดย ECB กำลังพิจารณาทั้งมาตรการพื้นฐาน เช่น อัตราดอกเบี้ย และมาตรการพิเศษอื่นๆ ด้วย การดำเนินมาตรการต่างๆ จะส่งผลให้มีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้นในตลาดการเงินและอาจเข้ามาลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอย่างไทยได้ อย่างไรก็ดี เสถียรภาพทางการเมืองของกลุ่มประเทศยูโรโซน อาจส่งผลให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินเนื่องจากนักลงทุนกังวลถึงการสานต่อนโยบายและการปฏิรูปเศรษฐกิจ กองทุนบัวหลวง มองจีน ------------------------- จีนกำลังปรับตัว จากก่อนหน้าที่รัฐบาลเร่งให้เกิดการลงทุนจนเป็น Over investment เกิดปัญหาฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจีนจึงหันมาเน้น Domestic demand และการเติบโตแบบยั่งยืน ทำให้จากนี้ไป คาดว่าจะไม่ค่อยมี Stimulus packages แล้ว รวมถึงไม่มีโครงการเร่งการลงทุนจากภาครัฐซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการเติบโตของเศรษฐกิจตลอดช่วงที่ผ่านมา ซึ่งการชะลอตัวของจีนจ...ะกระทบการส่งออกของไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจากจีนเป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของไทย (สัดส่วน 10-12% ของการส่งออก) และยังเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศในกลุ่ม ASEAN (ไทยส่งออกไป ASEAN 9 ในสัดส่วน 20-25% ของการส่งออก) อีกด้วย นอกจากนี้ การที่จีนเป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์จำนวนมากนั้น เมื่อจีนใช้วัตถุดิบดังกล่าวลดลง ก็จะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ได้ ในอนาคต ความเสี่ยงของจีนยังคงเป็นแนวทางการแก้ปัญหา Shadow Banking ที่ขึ้นอยู่กับทางการจีนว่าจะมีมาตรการที่เข้มข้นมากน้อยเพียงใด และจะควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในวงจำกัดได้หรือไม่ กองทุนบัวหลวง มองญี่ปุ่น --------------------------- ญี่ปุ่น ใช้นโยบายภาครัฐและนโยบายการเงินของธนาคารกลางมากระตุ้นเศรษฐกิจ โดยกล้าที่จะเพิ่มปริมาณเงินในระบบเป็น 2 เท่าภายใน 2 ปี และรัฐบาลยังตั้งงบใช้จ่ายตรงนี้ไว้อีกประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ญี่ปุ่นมี GDP ประมาณ 5 ล้านล้าน) เพื่อให้เงินเหล่านี้ไม่ถูกเก็บไว้ในระบบธนาคาร รวมถึงต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับบริษัทญี่ปุ่นในเวทีโลก และเสริมศักยภาพให้กับญี่ปุ่นในด้านต่างๆ เช่น การปฏิรูปตลาดแรงงาน การหาฐานการผลิตใหม่ เป็นต้น ผลจากนโยบาย Abenomics เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้สภาพคล่องในเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนและผู้บริโภค และทำให้มีเงิน FDI จากญี่ปุ่นกระจายการลงทุนออกนอกประเทศมายังแถบเอเชียสูงขึ้น ไทยจะได้ประโยชน์โดยตรงในแง่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของอาเซียน เนื่องจากในประเทศญี่ปุ่นเองยังมีปัญหาด้านโครงสร้างสาธารณูปโภค โดยเฉพาะด้านพลังงานที่ไม่เพียงพอ (หลังจากเกิดปัญหาพลังงานนิวเคลียร์) ขณะที่ไทยมีวงจร supply chain ที่ครบครันแล้ว ขอขอบคุณ ทีมจัดการกองทุน บลจ.บัวหลวง 14 กค 56
Posted on: Sun, 14 Jul 2013 14:58:24 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015