วันนี้พระอาจารย์ - TopicsExpress



          

วันนี้พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี บรรยายเรื่อง พระอรหันต์ (จอมปลอม และ พระอรหันต์ตัวจริงที่สัมผัสได้) และเน้นเรื่องความกตัญญู ซึ่งจับสาระสำคัญได้ว่า ญาติโยมอย่าเชื่อพระอรหันต์ แบรนเนมโง่ ให้ดูตำราดูพระดังนี้ พระ บทความโดย ม.ก. มงฺคโล ภิกฺขุ พระ แปลว่า สิ่งประเสริฐสุด พูดง่าย ๆ สิ่งที่ดี ที่เลิศประเสริฐ มีคุณค่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ถูกย่องย่องให้เป็นพระหมดแหละครับ เช่น ดวงเดือน เรียกว่า พระจันทร์, ดวงตะวัน เรียกว่า พระอาทิตย์, ลม เรียกว่า พระพาย, ไฟ เรียกว่า พระเพลิง, น้ำ เรียกว่า พระคงคา, แผ่นดินที่อาศัย เรียกว่า พระธรณี, คำสอนของผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เรียกว่า พระธรรม, คนธรรมดาสามัญบวชมา เรียกว่า พระสงฆ์ ความจริงมันก็แค่หญ้าปากคอกนั่นแหละ แต่หญ้าปากคอกมักจะอาภัพ ตรงที่มันจะเลยปากควาย ความเป็นจริงก็สวดกันทุกวัน แต่ถ้าจะจำแนกพระร่วมสมัยปัจจุบันนี้ก็พอเดา ๆ หรือจำแนกได้ดังนี้ ๑. พระทั่วไป (Common Monks) คือพระภิกษุทั่วไปที่เป็นลูกชาวบ้านบวชมาเพื่อศึกษาเล่าเรียนพากเพียรปฏิบัติ เหมือนกับเถาวัลย์หรือกาฝากเลื้อยไปเรื่อย ๆ จะหาแก่นไปสร้างบ้านสร้างเรือนไม่ได้อย่างดีก็เอาไปทำฟืนเผาทิ้ง ๒. พระบ้า (Mad or Crazy Monks) พระประเภทนี้จะยกยอตัวเองมาก ความเป็นพระก็ไม่เท่าไหร่หรอก ก็พอใช้ได้ แต่ถ้าเพื่อนเผลอล่ะ อันนี้ก็อาตมาทำ อันนี้ก็ผมทำ ถ้าผมไม่อยู่แล้วงานจะไม่เดิน ถ้าอาตมาป่วยแล้วใครจะทำงาน อะไรประเภทนี้ เป็นพวกจัด Organize ซะมากกว่า คอยล้างมือกิน ยุให้คนอื่นต่อยกันจนพรุน แล้วซุบมือเปิบ ก็น่าเห็นใจเค้านะเพราะอาจจะเป็นความหวังสุดท้ายของเขาก็ได้ ๓. พระดัง (Popular Monks) เป็นพระภิกษุพิเศษขึ้น ดังพระที่มีชื่อเสียงอยู่ในปัจจุบัน แบบดังในทางดี เช่น หลวงปู่คูณ พระอาจารย์พยอม หรือแม้กระทั่งพระหนุ่มไฟแรงอย่าง ว. วชิรเมธี เป็นต้น และดังในทางไม่ดี ส่วนมากคนจะรู้จักกันในนามเดิม หรือ นามอวดดี อวดเก่ง เช่น พระดังๆ ในปัจจุบันหลายรูป มีปัญหา มีเรื่องอื้อฉาว ท้าวนั่น ท้าวนี่ หรือท้าวเทวทัต เป็นต้น ๔. พระดี (Good Monks) พระดีนี้อาจจะดังบ้างไม่ดังบ้าง หรือถ้าดังก็ไม่หวือหวา ไปเรียบ ๆ เหมือนงูมีพิษ เหตุผลเพราะท่านเองก็ไม่ประสงค์แบบนั้น ลาภยศ สรรเสริญก็ค่อยเป็นค่อยไป จะไม่โปรโมทหรือจัดตั้งตัวเองนักแต่ท่านก็มีความเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัยค่อนข้างจะสมบูรณ์ ๕. พระเด่น (Eminent Monks or Excellent Monks) พระประเภทนี้จัดเป็นชั้นยอดเยี่ยม เป็นพระประเภทหายากมากเลย (Distinguished Monks) มิใช่เป็นพระดีหรือพระดัง ท่านอยู่เหนือความดังและความดี อยู่นอกเหตุเหนือผล เป็นพระประเภทที่ทำลายตัวกู-ของกูหมดแล้ว ถ้าเปรียบแม่ทัพก็เป็นแม่ทับเอก เป็นจอมทัพ เป็นจอมพล ถ้าเป็นต้นไม้ก็เป็นไม้ที่มีแก่นยืนต้นทานลมไหว ถ้าเป็นฝูงสัตว์ก็เป็นประเภทพญา ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นบุรุษอาชาไนย ถ้าเป็นหมู่สงฆ์ ก็คงเป็นพระธรรมเสนานี ระดับติปิฏกาจารย์ มหาสังฆนายก เป็นหลักชัยของพระศาสนา เป็นที่พึ่งของชาวโลกทั้งมวล ทันสมัยใหม่ตลอดในการเข้าใจหลักธรรมชาติของชีวิต รู้สภาวะความเป็นจริงตลอดกาล ๖. พระพิธี (Ceremony Monks) พระประเภทนี้บวชแล้วไม่ค่อยเอาธุระอะไรหรอก วัน ๆ คอยจ้องแต่ว่าวันนี้มีใครจะนิมนต์ไปสวดไปฉันที่ไหน? ใครจะมาสะเดาะเคราะห์ตัดผม ปีมะเส็งมันต้องคู่กับปีวอก ผลไม้ต้องอย่างนั้น จำนวนเท่านั้นเท่านี้ เป็นพวกประจบสอพลอ มากกว่าที่จะบอกความจริง พระพิธีจิตใจหมกมุ่นแต่ในเรื่องเอกลาภดีแต่บอกโยมทำบุญตัวเองไม่เห็นทำบุญหรอก หรือบางรายก็เจ้าพิธี จะจุดธูปต้องจุดข้างไหนก่อน บาตรน้ำมนต์ต้องใส่อะไรบ้าง? ใบเงิน ใบทอง ใบนาค ผิวมะกรูด หยดน้ำตาเทียนกี่หยด พอชะเง้อไปดูในบาตร มันก็หม้อต้มยำดี ๆ นี่เอง พวกนี้ได้แต่เปลือก และรูปแบบ ๗. พระชี้กรรม (Kamma’s Education Monks) พระประเภทนี้ศึกษาให้เกิดความรู้ ชี้ผิด ชี้ถูกให้แก่ญาติโยม บอกบาปบุญคุณโทษ บอกนรกสวรรค์ นิพพานบอกให้โยมรู้ไว้ พระชี้กรรมนี้ก็สำคัญนะ แต่ต้องชี้ให้มันถูกเรื่องนะอย่าโมเม ๘. พระนำทาง (Practice Maditation Monks) พระประเภทนี้จะปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบให้ญาติโยมเห็นเป็นตัวอย่าง คอยแนะนำสั่งสอน ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง พูดน้อย ต่อยมาก ๙. พระขวางทางพระนิพพาน (Ignorance Monks) พระประเภทนี้ก็แย่เหมือนกัน ทานไม่บริจาค ศีลไม่รักษา ภาวนาไม่อบรม ใครเขาทำดีเที่ยวขัดขวาง วัน ๆ ไม่ทำอะไร คอยบอกใบ้ ให้หวย เหลาปลัดขิกขาย พวกไอคิวเตี้ยไอเดียต่ำก็เป็นลูกค้างมงายกันใหญ่ พอมีปัญหาก็แก้ไม่ได้ ปลัดขิกก็ช่วยไม่ได้ เหน็บไว้ที่มวยผมและสะเอวกลัวจะไม่ได้เข้ารอบนางงาม ผลสุดท้ายก็มิสปิ๋ว..ดีหรือชั่วมันอยู่ที่ตัวเราทำเอง อย่าเชื่อมาก พวกรดน้ำมนต์ ดูหมอ ขอหวย สะเดาะเคราะห์ล้างซวย เราซวยแต่พระรวย เอาเป็นว่าสรุปการบวชให้ฟังง่าย ๆ ดังนี้ บวชเล่น บวชลอง บวชตรองประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญเข้าสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชเลื่อนตำแหน่ง บวชแข่งสีกา บวชหาของเล่น บวชเค้นละคร บวชนอนอย่างหมู บวชถูกิเลส บวชเทศน์ชาดก บวชหมกพระพุทธศาสนา บวชฆ่าธรรมวินัย บวชอาศัยเลี้ยงชีพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะบวชแบบไหนนานขนาดไหนหรือไม่นาน อาจเป็น ๑ สัปดาห์ ๑ เดิอน ๑ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี หรือตลอดชีวิตก็แล้วแต่บุญบารมีที่สั่งสมมาให้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ก็ชื่อว่าได้จรรโลงพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาวต่อ ๆ ไป ถือว่าเป็นการทำหน้าที่ของลูกผู้ชายที่เกิดมาในชาติหนึ่ง เป็นการพัฒนาฝึกฝนตนเองเพื่อให้เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ การถือบวช ไม่เว้นการเบียดเบียน ดำรงอยู่ในธรรมนี้ เป็นสิ่งที่สัตบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น บัญญัติไว้ไม่ผิด ๓ อย่าง ที่เรียกว่า สัปปุริสบัญญัติ ๓ คือ ๑. ทาน คือ การให้ปัน สละของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒. ปัพพัชชา คือ การถือบวช เป็นอุบายให้ไม่เบียดเบียนกัน และอยู่ร่วมกันด้วยความสุข ๓. มาตาปิตุอุปัฏฐาน คือ การบำรุงมารดาบิดา, เป็นการปฏิบัติมารดาบิดาให้เป็นสุข กุลบุตรผู้ทำหน้าที่ชโลมจิตใจมาดารบิดาให้ชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า บุตร หมายถึง ผู้ทำให้พ่อแม่อิ่มอกอิ่มใจในตัวเรา พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า บุตรที่ประเสริฐที่สุดนั้น คือ บุตรที่เชื่อฟัง ประพฤติเป็นไปตามคำสั่งสอนของมารดาบิดา การบวชครั้งนี้จึงถือได้ว่าบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาทางใจนั่นเอง เพราะพ่อและแม่เป็นกัลยามิตรของลูกอยู่ตลอดเวลา คอยปกป้องคุ้มครองตั้งแต่บุตรยังเล็ก ๆ จนกระทั่งเติบโตเป็นคนดีมีคุณค่าชื่นใจกว่าสิ่งใด ๆ ที่ให้แม่ จะเป็นบุตรที่ดี ทำโลกนี้ให้งดงาม ก็อยู่ที่ข้อว่า การบำรุงมารดาบิดา มีพุทธภาษิตตรัสไว้ว่า ตสฺมา สนฺโต สปฺปุริสา กตญฺญู กตเวทิโน; เพราะเหตุนั้นผู้เป็นสัตบุรุษพึงเป็นคนกตัญญูกตเวที; ภรนฺติ มาตาปิตโร ปุพฺเพ กตมนุสฺสรํ ระลึกถึงพระคุณที่มารดาบิดา ได้เคยกระทำแก่ตนในกาลก่อนแล้ว ก็เป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดาตอบ เพราะ มารดาเป็นมิตรในเรือน (มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร) มิตรประจำบ้าน เป็นเทวดาหวังดีประจำบ้านเรือน เป็นกัลยาณมิตรที่ดีงามในเรือน ใครคิดได้อย่างนี้ คงไม่มีใครกล้าตวาดแม่และพ่อ ควรนอบน้อมตลอดเวลาเหตุที่แม่และพ่อเป็นเทวดา นั่นเอง ทั้งหมดพอสรุปเป็นภาษาอังกฤษได้ดังนี้ Principles of Dhamma Practice Gratitude Gratitude is the principle that Buddhists should cultivate in their mind on the Day of Vesak to recollect the birth of the Buddha, who was born for the benefit of the many and out of compassion for the world. Gratitude is appreciation of those who have done something for us. Acts of gratitude show how thankful we are for what we have received. One who initially does something for another is, in Pali, called pubbakari, “the first-doer”. Pubbakaris include, for example, parents and teachers. Children owe their parents gratitude for many things, for example, for bringing them into the world; for looking after them until they are grow up; for providing them with education, training and teaching them to refrain from that which is bad and establishing them in that which is good; for helping them to find suitable spouses and for giving them their inheritance. Grateful children, in turn, behave well, bring a good reputation to the family, look after their parents, help them with their work, and perform meritorious deeds in their memory once their parents have passed away. Students should be grateful towards their teachers because their teachers provide knowledge to them, train and instruct them to be good citizens, teach the arts and sciences without exception, introduce them to other people and look after them. On their part, students, in appreciation of their teacher’s kindness, study hard, honour them, show respect to them and do not forget their counsel. Being grateful is a mark of being a good person. It is a positive contribution to the achievement of happiness in family and society. This is because the parents themselves fulfill their responsibility first; the children, in return, honour their own duty. Teachers first impart knowledge of the arts and sciences and students, on their part, will repay teachers by studying hard and showing respect. Apart from the relationship between parents and children, teachers and students, the good quality of gratitude can be employed between the ruler and the ruled, employers and employees, among friends and among all people, thus encompassing all of humanity. In Buddhism, the Buddha is the pubbakari, “the first-doer”, in that he founded the Buddhist religion and showed the way to the end of suffering to those worthy of instruction. To show our gratitude, we make two kinds of offering: material and spiritual. The followers of the Buddha show their gratitude towards the Master by organizing the Day of Vesak celebrations to promote Buddhism and by practicing the Dhama so that Buddhism will remain for many years to come. M.K. KUAKOOL
Posted on: Thu, 27 Jun 2013 01:22:39 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015