.... แต่ข้อเท็จจริงก็คือ - TopicsExpress



          

.... แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ประเทศเราเคย "ถังแตก" มาแล้วเพราะมัวแต่ช่วย "คนรวย" ไม่ใช่เพราะช่วย "คนจน" Krist Abraham นักวิชาการค่ายทีดีอาร์ไอนี่ก็แปลกนะ มักจะเปลี่ยนหน้ากันออกมาคัดค้าน "นโยบายประชานิยม" เสมอโดยเฉพาะในช่วงที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล .. แต่พอเวลาที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล กลับไม่เพียงแต่จะไม่คัดค้าน หากยังส่งเสียงสนับสนุนเสียอีก (เป็นอย่างนี้ตลอดช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา) การที่สำนักวิจัยทีดีอาร์ไอ (น่าจะทั้งสำนัก เพราะมันเล็กนิดเดียว มีกันแค่ไม่กี่คน) จะมีความฝักใฝ่ทางการเมือง ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหาย เพราะนักวิชาการที่ไหน ๆ เขาก็เป็นอย่างนี้กัน แต่สิ่งที่คนอื่นเขาไม่เป็นกันคือ "การไม่เป็นกลางทางวิชาการ" ซึ่งก็คืออะไรผิดอะไรถูก ก็ต้องว่ากันไปตามเนื้อผ้า ถึงจะเหมาะสม ถ้าไม่เช่นนั้น คุณวิจัยอะไรออกมาถือเป็นความสูญเปล่า เพราะถ้ามีข้อสรุปล่วงหน้าอยู่แล้ว จิงป่าว ... กรณีนี้ ดร.วิรไท สันติประภพ (ในฐานะ "ที่ปรึกษา" แต่ไม่ใช่ "ผู้วิจัย" ของทีดีอาร์ไอ และมีดีกรีเป็นด็อกเตอร์เศรษฐศาสตร์จากฮาร์วาร์ด) ได้ออกมาแนะให้รัฐบาล "เลิกนโยบายประชานิยม เช่น โครงการรับจำนำข้าว โครงการรถคันแรก โครงการพักหนี้เกษตรกร" ซะเถอะ เพราะจะ "เป็นภาระงบประมาณ" และโครงการประชานิยมมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 80% ของรายจ่ายรัฐบาล ซึ่งหากเป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ จะ "ส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายเพื่อลงทุน" อย่างต่อเนื่อง ฟังดูก็เหมือนกับจะดีคัฟ ประมาณว่า "บ้านเรา" หรือ "บริษัทเรา" มีรายจ่ายโน่นนี่นั่นเยอะไปหมด และอีกหน่อยก็คงไม่พ้น "ถังแตก" แต่สามัญสำนึกก็คือ ต้องถาม "แม่บ้าน" หรือ "ผู้บริหาร" ก่อนว่า 1) มันจำเป็นไหม 2) มันเกินตัวไหม และ 3) มันคุ้มค่าไหม .. เพราะที่ไหน ๆ เขาก็คิดกันอย่างนี้ ... รายจ่ายที่ 1 โครงการรับจำนำข้าว (หรือประกันราคาข้าว) พอจะถือได้ว่า เป็นรายจ่ายประเภท "ถ่ายโอน" หรือที่เรียกว่า "Transfer" คือการโยกเงินจาก "คนรวย" ไปให้กับ "คนจน" ดังที่เห็นกันอยู่ว่า ผู้ได้รับประโยชน์คือชาวนาไทยประมาณ 20 ล้านคน และเมื่อเทียบกับการอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้กับคนที่ทำอาชีพอื่น ก็ถือว่าน้อยนิด ดังนั้น ถ้าทีดีอาร์ไอคิดว่า ประเทศ "จะถังแตก" เพราะรัฐบาลมัวแต่ไปช่วยชาวนา ก็ได้นะ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ประเทศเราเคย "ถังแตก" มาแล้วเพราะมัวแต่ช่วย "คนรวย" ไม่ใช่เพราะช่วย "คนจน" ... รายจ่ายที่สอง โครงการรถคันแรก พอจะถือได้ว่า เป็นรายจ่ายประเภท "กระตุ้นเศรษฐกิจ" .. อันนี้ถือว่าคลาสสิค เพราะการเติบโตของอุตสาหกรรมรถ (อันดับสองรองจากอุตสาหกรรมบ้านหรือ Housing Industry) เป็น Lead Indicator โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมืองไทยถือเป็น "ดีทรอยท์แห่งเอเชีย" เพราะมี "การจ้างงาน" และ "การลงทุน" จำนวนมหาศาลจากญี่ปุ่นเพื่อการส่งออกทั่วภูมิภาคนี้ ดังนั้น ถ้าทีดีอาร์ไอคิดว่า ประเทศ "จะถังแตก" เพราะรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็ได้นะ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ รัฐบาลไหน ๆ ถ้าคิดจะกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการลงทุนและการบริโภค ก็มักที่จะเลือก "กดที่ปุ่มนี้" ... รายจ่ายที่สาม โครงการพักหนี้เกษตรกร สาระสำคัญก็เหมือนกับรายการที่หนึ่ง จึงไม่ขอกล่าวซ้ำ แต่อยากจะขอขยายความเพิ่มเติมว่า .. ถ้า "โครงการประชานิยม" หรือรายจ่ายรัฐบาลประเภท "ถ่ายโอน" มีสัดส่วนที่สูงถึง 80% จริง ก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะเท่ากับเป็นนโยบายที่สามารถบรรเทา "ความยากจน" และลด "ความเหลื่อมล้ำ" ทางเศรษฐกิจ สมดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตั้งปณิธานไว้ ดังนั้น ถ้าทีดีอาร์ไอคิดว่า ประเทศ "จะถังแตก" เพราะรัฐบาลมัวแต่ไปช่วยบรรเทาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ก็ได้นะ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ดัชนีความเหลื่อมล้ำ (Gini Coefficient) ที่ศีกษาโดย สศช. ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (หาดูได้ไม่ยาก) ไม่เคยหลุดจากระดับเดิมที่ประมาณ 0.5xx แต่อย่างใด (ซึ่งก็คือคนไทย 25% แรกของประเทศ มีรายได้รวมกันถึง 50% ของรายได้ประชาชาติ) ... นอกจากนี้ ที่ปรึกษาทีดีอาร์ไอบอกว่า "ซึ่งหากเป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบต่องบประมาณรายจ่ายเพื่อลงทุนอย่างต่อเนื่อง" บอกตรง ๆ ว่า "รู้สึกงงมาก ต้องขอถามกลับไปว่าไปอยู่ที่ไหนมา" .. ไม่เห็นหรือว่า "โครงการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างระบบรางเลื่อนทั่วประเทศ 2 ล้าน ๆ บาท" ตลอดช่วง 7 ปีข้างหน้า (เฉลี่ยปีละ 3 แสนล้านบาท) กำลังตกเป็นข่าวใหญ่ระดับชาติ ถ้าทีดีอาร์ไอคิดว่า ประเทศ "จะถังแตก" เพราะรัฐบาลคิดปรับปรุงโครงสร้างการคมนาคมระบบรางเลื่อนพื้นฐาน ก็ได้นะ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมในสมัยนั้นมาก (ดังจะเห็นได้จากการเสียดินแดนครั้งแล้วครั้งเล่า) แต่ในหลวงฯ รัชกาลที่ 5 ท่านทรงพระปรีชาชาญมาก เพราะพระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของ "การพัฒนา" และ "การเปิดประเทศ" จึงได้ทรงควักกระเป๋าจ่ายค่าเดินทางไปทั้งยุโรปและรัสเซีย เพื่อให้จักรวรรดินิยมสมัยนี้เกิดความเคารพความเป็นชาติของไทย จากนั้น พระองค์ก็ทรงให้สัมปทานฝรั่งเดนมาร์คสร้างระบบรางเลื่อนแห่งแรกในไทย พูดง่าย ๆ พระองค์ทรงรู้จักใช้จ่ายสตังค์อย่างมีคุณค่าและอย่างเล็งการไกล ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็มิได้ร่ำรวยแต่อย่างใด เพราะถ้าไม่เช่นนั้น ไทยอาจต้องเสียดินแดนมากกว่าที่เสียไปก็เป็นได้ (เกร็ดประวัติศาสตร์ -- เล่ากันว่า ตอนที่พระองค์เสด็จไปรัสเซีย พระองค์เกือบได้ลูกสาวของพระเจ้าซาร์มาเป็นมเหสี อาจจะด้วยความหล่อเหลาและคารมคมคาย .. แต่ด้วยความพระปรีชาชาญอีกนั่นแหละ พระองค์ทรงรู้ว่า "แม้แต่การเมืองระหว่างประเทศ ก็ไม่สมควรที่จะเลือกข้าง" เพราะทรงตระหนักดีกว่า "ศัตรูที่กลับใจยังจะน่าวางใจกว่าขุนศึกหรืออิตถสตรีข้างบัลลังก์ .. เอาเข้ามาทำไม" จึงมิได้มีจิตปฏิพัทธ์กับเจ้าหญิงรัสเซีย) ... ท้ายที่สุด ขอตั้งข้อสังเกตุไว้นิดนึงว่า ในระยะที่บ้านเมืองกำลังอยู่หัวเลี้ยวของการเปลี่ยนแปลง แม้แต่กระเบื้องก็กลับเฟื่องลอยน้ำซึ่งก็คือ มหาปราชญ์ผู้มีความรู้กลับมองเห็นแต่สิ่งละอันพันละน้อย (เช่น Fiscal Eclipse .. ไม่รู้เขาหมายถึงอะไรกัน แต่ไม่น่าจะมีอะไรในกอไผ่มากกว่า) ในขณะที่ ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ผุ้ไม่มีความรู้กลับมองเห็นมหานครอันสดใส (เช่น Public Choice .. หมายถึงประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้่ง "ส่วนใหญ่" รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร จึงยินดีโหวตเพื่อให้ได้รัฐบาลมาดำเนินการแทน .. ประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่เขาเป็นอย่างนี้กัน
Posted on: Tue, 16 Jul 2013 09:26:17 +0000

Trending Topics



Recently Viewed Topics




© 2015